วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

50: ความหลงในสงสาร เรื่องย่อพระเจ้าตาก


Artist: สุทัสสา อ่อนค้อม




ไฟล์แนบข้อความ
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 000.mp3 (2.24 MB, 23615 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 001.mp3 (6.09 MB, 23935 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 002.mp3 (5.36 MB, 19677 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 003.mp3 (6.14 MB, 17830 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 004.mp3 (5.92 MB, 18882 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 005.mp3 (6.09 MB, 19678 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 006.mp3 (5.53 MB, 22899 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 007.mp3 (6.03 MB, 30057 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 008.mp3 (6.09 MB, 23969 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 009.mp3 (6.01 MB, 17882 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 010.mp3 (6.23 MB, 18568 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 011.mp3 (5.91 MB, 17438 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 012.mp3 (5.67 MB, 16869 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 013.mp3 (6.03 MB, 26495 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 014.mp3 (6.18 MB, 18280 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 015.mp3 (6.56 MB, 16780 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 016.mp3 (6.76 MB, 17133 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 017.mp3 (6.81 MB, 17140 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 018.mp3 (6.64 MB, 17272 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 019.mp3 (7.24 MB, 16599 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 020.mp3 (7.49 MB, 17217 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 021.mp3 (6.73 MB, 16472 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 022.mp3 (6.46 MB, 16924 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 023.mp3 (6.65 MB, 16621 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 024.mp3 (6.06 MB, 16893 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 025.mp3 (6.05 MB, 16488 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 026.mp3 (6.29 MB, 16496 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 027.mp3 (6.41 MB, 17012 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 028.mp3 (6.29 MB, 17023 views)


อันตัวพ่อ...................นี้ชื่อ.............พระยาตาก 
ทนทุกข์ยาก...............กู้ชาติ...........พระศาสนา 
ถวายแผ่นดิน.............ให้เป็น...........พุทธบูชา 
แก่ศาสดา...................สมณะ...........พระพุทธโคดม 


ให้ยืนยง.....................คงถ้วน..........ห้าพันปี 
สมณะพราหมณ์ชี.........ปฏิบัติ..........ให้พอสม 
เจริญสมถะ..................วิปัสสนา........พ่อชื่นชม 
ถวายบังคม.................รอยบาท........พระศาสดา 


คิดถึงพ่อ....................พ่ออยู่.............คู่กับเจ้า 
ชาติของเรา.................คงอยู่.............คู่ศาสนา 
พระศาสนา..................ยืนยงคู่..........องค์กษัตรา 
พระศาสดา..................ฝากไว้...........ให้คู่กัน 
เพิ่มเติม :  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=19838


ความหลงในสงสาร โดย สุทัสสา อ่อนค้อม

พบกับธรรมนิยายอิงประวัติชีวิตของพระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ จิตธมฺโม) เหตุในเล่มเป็นช่วงที่พระเดชพระคุณสมัยที่ยังเป็นพระครูภาวนาวิสุทธิ์ได้พบ กับหลวงพ่อในป่าและพระภิกษุสมเด็จสมเด็จพระเจ้าตากสิน เนื้อหาตอนต้นจะเป็นบทสนทนาซึ่งเผยความจริงเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าตากสิน แห่งกรุงธนบุรีที่ไม่มีในประวัติศาสตร์ ต่อจากนั้นเป็นเรื่องที่พระครูเจริญเดินทางไปอินเดียเพื่อนมัสการสังเวชนีย สถานมากมาย พร้อมเรื่องเล่าในพระพุทธศาสนาที่คุณไม่ควรพลาด

1. พระอรหันต์สามองค์
2. พระเถรเจ้า
3. นามไหฮอง
4. พระยอดธง
5. ลิเกโรงใหญ่
6. สองพี่น้อง
7. พระสังฆราชศรี
8. ภาระอันยิ่งใหญ่
9. วิสุทธิเทพ
10. สารพันปัญหา
...ฯลฯ...



เรื่องย่อพระเจ้าตาก จากหลวงพ่อจรัญ

ข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ที่ว่า พระเจ้าตากนั้นเป็นผู้กู้เอกราชให้กับไทยนั้นพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกาจกล้าหา­ญ และเสียสละอย่างมากอย่างที่ชนธรรมดามิได้ล่วงรู้อีกมากมาย แต่เรื่องที่จะเล่าเกี่ยวกับพระเจ้าตากนั้นไม่ได้มีในประวัติศาสตร์ที่เราเคยเรียนกัน

พระเจ้าตากมิใช่เป็นลูกของคนจีนสามั­ญชนตามประวัติศาสตร์ แต่เป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับสนมลับชาวจีนชื่อ ไหฮอง แต่เนื่องจากสมัยอยุธยานั้นมีการแก่งแย่งชิงดีกันมาก มีการฆ่ากันเพื่อชิงราชสมบัติ พระมารดาของพระเจ้าตากเกรงจะเป็นอันตราย จึงได้ปิดเป็นความลับ และบอกว่าบิดาของพระเจ้าตากชื่อ ไหฮอง (ชื่อของนางเอง) และมารดาชื่อนางนกเอี้ยง (ชื่อที่แต่งขึ้นไม่มีตัวตนจริง)

ประวัติศาสตร์นั้นได้ถูกบันทึกไปตามเหตุการณ์ที่ถูกทำให้เป็นว่าเป็นไปโดยที่หามีใครรู้ข้อเท็จจริงไม่ (โดยส่วนตัวของข้าพเจ้าในสมัยที่เรียนประวัติศาสตร์นั้นก็มีความรู้สึกไม่ค่อยเชื่อว่าคนที่จะขึ้นมาเป็นระดับพระมหากษัตริย์นั้นจะเกิดมาจากคนสามั­ญชนเพียงเท่านั้น เพราะผู้ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์นั้นย่อมต้องมีบุ­ญบารมีสูง ย่อมน่าจะสืบสายเลือดมาจากเชื้อพระวงศ์) 

พระเจ้าตากไม่ได้สติวิปลาสและถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ดังที่ได้บันทึกในประวัติศาสตร์ ความจริงเป็นพระประสงค์ของพระองค์เองที่จะสละความเป็นกษัตริย์เพื่อหันไปออกผนวชเป็นพระภิกษุจึงได้ขอร้องให้พระสหายร่วมสาบานปราบดาภิเษกแทน (พระสหายนี้คือรัชกาลที่หนึ่งนั่นเอง)

ความจริงพระสหายนั้นมีความซื่อสัตย์ภักดีต่อพระเจ้าตากเป็นมั่น มิได้มีความคิดที่จะก่อกบฏหรือหวังขึ้นตั้งตัวเป็นกษัตริย์ และก็ไม่ยอมทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าตากแต่ด้วยเหตุผลของพระเจ้าตากว่า พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ยากจนเข็ญ­ใจ เงินในท้องพระคลังไม่มีเลย ไม่มีแม้แต่เบญ­จราชกกุธภัณฑ์ (เครื่องหมายแสดงความเป็นพระราชา มี ๕ ได้แก่ พระขรรค์ ธารพระกร อุณหิส ฉลองพระบาท และแส้วาลวิชนี) เนื่องจากผลของสงคราม ข้าวยากหมากแพง พระองค์ต้องช่วยเหลือราษฎรของพระองค์ จนต้องเป็นหนี้กับจีนถึงหกหมื่นตำลึง ถ้าหากพระองค์จะค่อยๆ ผ่อนใช้ก็พอได้แต่เมื่อรู้ว่าจีนคิดมิซื่อหวังยึดเอาไทยเป็นของตน ดังนั้นจึงมิอาจยอมได้ทรงคิดว่าการผลัดแผ่นดินเป็นการล้างหนี้ที่ดีที่สุด 

พระองค์ทรงใช้กุศโลบายเพื่อรักษาเอกราชของชาติ โดยแสร้งทำตนว่าสติวิปลาสแล้วให้พระสหายขึ้นปราบดาภิเษก ถึงตอนนั้นจีนก็ไม่สามารถยึดเอาไทยไปได้เพราะผู้ที่ทำสั­­ญญากับจีนนั้นเป็นพระเจ้าตากเพียงผู้เดียวที่รับผิดชอบ 

ผู้ที่ถูกสังหารด้วยท่อนจันทน์ไม่ใช่พระเจ้าตากแต่เป็นสหายอีกคน(หลวงอาสาศึก) ที่หน้าตาท่าทางคล้ายกับพระเจ้าตากเป็นอันมาก ยอมเสียสละชีวิตตนแทนส่วนพระเจ้าตากนั้นพระสหายได้แอบพาหนีไปที่อื่นอย่างปลอดภัย นี่แสดงให้เห็นถึงความเสียสละของพระเจ้าตากกับความรักความสามัคคีและความซื่อสัตย์ที่พระสหายมีต่อพระเจ้าตากนั้นเป็นที่สูงสุด และนี้จึงเป็นผลบุ­ให้พระสหายซึ่งต่อมาได้สืบพระราชวงค์ใหม่ได้มีแต่ความเจริ­ญยั่งยืนสืบยาวนานตลอดรัชกาล

พระเจ้าตากสิ้นพระชนม์(ละสังขาร)อย่างไร

เมื่อครั้งที่พระเจ้าตากได้ไปตั้งค่ายในป่าได้พบกับพระรูปหนึ่งได้ให้กรรมฐานแก่พระเจ้าตากจึงทรงมิอยากครองราชต่อไป ทรงดำเนินแผนการว่า ทางอยุธยาเกิดเรื่องจึงสั่งให้พระยาสวรรค์ยกกองทัพไปปราบ เสร็จแล้วให้กลับมายังกรุงธนบุรีและล้อมพระราชฐานไว้แล้วจับพระองค์บวชเสีย แต่ปรากฏว่าพระยาสวรรค์เกิดลืมตัวอยากเป็นใหญ่ ตั้งตนเป็นกษัตริย์ขึ้นมาจริงๆ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่หนึ่ง) จึงได้ยกทัพลงมาปราบ ส่วนพระเจ้าตากได้ไปเจริ­วิปัสนากรรมฐานในถ้ำแห่งหนึ่งที่เพชรบุรี ในวันที่พระองค์บรรลุธรรมสูงสุดคือวันที่ท่านละสังขาร ขณะที่กำลังดูดดื่มอยู่ในวิมุติสุข พระองค์ถูกชายสองคนใช้ไม้คมแฝกฟาดที่ศรีษะอย่างนับไม่ถ้วน ชายสองคนนั้นเป็นพวกกลุ่มคนที่ต้องการเอาความดีความชอบ เมื่อรู้ว่าผู้ที่ถูกสำเร็จโทษ ไม่ใช่พระเจ้าตากตัวจริงจึงสืบหาเพื่อตามสังหารแต่กรรมตามทันมีการกบฏซ้อนกบฎกันวุ่นวายพวกนั้นก็ฆ่ากันตายเอง ส่วนพระเจ้าตากได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์กลายเป็นวิสุทธิเทพในที่สุด

หนังสืออ้างอิง : ความหลงในสงสาร,(สุทัสสาอ่อนค้อม),๒๕๔๙

เรื่องราวนี้เป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์ของพระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์(จรัญ­ จิตธัมโม/หรือพระครูเจริญ­ จิตธัมโม) ซึ่งได้เจริญ­กรรมฐานจนได้อนิสงส์สามอย่าง คือระลึกชาติได้เจ็ดชาติเห็นกฏแห่งกรรมและเกิดปั­­ญญาแก้ปั­ญหาได้ ท่านได้พบกับพระเจ้าตากซึ่งเป็นพระวิสุทธิเทพแล้วเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน พระเจ้าตากได้เล่าเรื่องราวต่างๆให้ฟังด้วยต้องการให้นำไปเผยแพร่ข้อเท็จจริง เพราะท่านเห็นว่าคนไทยเราต่างมีความขัดแย้งกันมากมาย ที่สำคัญ­คือท่านไม่ต้องการให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสียเพราะจากความเข้าใจผิดและความมิจฉาทิฐิ ท่านที่ได้อ่านจะเชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่ปั­­ญญาและสัมมาทิฐิของแต่ละบุคคล แต่โดยส่วนตัวของข้าพเจ้ามิได้มีอำนาจอิทธิฤทธิ์ใดๆ ที่จะเห็นได้ว่าเรื่องที่เล่านั้นจริงหรือไม่เพียงแต่อ่านแล้วรู้สึกเกิดแรงบันดาลใจที่จะเล่าต่อต่อให้แก่กัน 

โดยหวังว่าอานิสงค์นี้จะช่วยก่อให้เกิดผลแก่ประเทศชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ให้ประชาชนได้เกิดความสามัคคี อย่าได้มีความขัดแย้งแตกแยกกันจงเกิดปั­­ญญาและสัมมาทิฐิ รู้ข้อเท็จจริงด้วยปั­­ญญาของตนเอง มิใช่จากการฟังเสียงลือเสียงเล่าอ้างแล้วมิได้ไตร่ ตรองจนทำให้เกิดความทะเลาะเบาะแว้ง

เมื่อท่านได้อ่านแล้วมีจิตนึกถึงความเจริ­ญของ "ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์" ก็ขอให้ช่วยกันอธิษฐานยิ่งมากเท่าไหร่ ย่อมเป็นพลังให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากขึ้นเท่านั้น และด้วยบุญ­แห่งการอธิษฐานที่ไม่ใช่เพื่อตัวเองนี้แลจะกลับมาส่งถึงตัวท่านเองมากมายหลายร้อยเท่า


http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=1396