วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

51: พระคุณแม่

เรื่อง พระคุณแม่...โดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ท่านโปรดจำไว้วันเกิดของลูกคือวันตายของแม่ เพราะวันที่ลูกเกิดนั้น แม่อาจต้องเสียชีวิต การออกศึกสงครามเป็นการเสี่ยงชีวิตสำหรับคนเป็นพ่อฉันใด การคลอดลูกก็เป็นการเสี่ยงตายสำหรับคนเป็นแม่ฉันนั้น ในสมัยโบราณที่วิทยาการต่างๆ ยังไม่เจริญก้าวหน้าเหมือนสมัยนี้ อัตราการตายเพราะคลอดลูกมีสูงมาก คนโบราณเขาจึงกล่าวว่า วันเกิดของลูกคือวันตายของแม่ เมื่อคลอดลูกแล้ว "แม่" ก็ยังต้องประคบประหงมเลี้ยงดู ให้ดื่มเลือด ในอกเป็นอาหาร ยามที่ลูกเจ็บป่วยก็อมยาพ่น ฝนยาทา รักษากันไปตามมีตามเกิด แม่เฝ้ากล่อมเกลี้ยงเลี้ยงลูกจนเติบใหญ่ กระทั่งลูกแต่งงานมีเหย้ามีเรือนไปแล้ว แม่ก็ยังเฝ้าห่วงใยรักใคร่ไม่จืดจาง

ตั้งแต่อาตมาคอหัก หายใจทางสะดือ ได้พองหนอยุบหนอคิดถึงแม่ทุกลมหายใจ อาตมาเห็นความทุกข์อย่างแสนสาหัสของคนเป็นแม่ ก็ตอนที่เป็นหมอตำแยทำคลอดให้ผู้หญิงคนหนึ่ง แม้ว่าเรื่องราวจะผ่านพ้นมาห้าสิบกว่าปีแล้ว ก็ยังจำภาพเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ติดตาติดใจมากระทั่งทุกวันนี้

สมัยนั้นอาตมาอายุสิบหก แต่ยังไม่ประสีประสาอะไร ยังเปลือยกายกระโดดน้ำตูมๆ กับเพื่อนอย่างสนุกสนาน แต่เด็กสมัยนี้อายุสิบหกเป็นหนุ่มกันแล้ว ตอนนั้นอาศัยอยู่กับยาย ลำบากลำบนมาก ต้องหาเงินเรียนเอง ตื่นตั้งแต่ตีสาม หาบของไปขายที่ตลาดบางขาม ห่างจากบ้านไป 14 กิโลเมตร ถึงตลาดตี 4 กว่า ก็นั่งขายของซึ่งเป็นพวกผักสวนครัวที่ช่วยกันปลูกกับยาย พอตีห้าก็ขายหมด บางวันขายไม่ค่อยดีก็ไปหมดเอา 7 โมง จากนั้นก็หาบกระจาดเปล่ากลับบ้าน หิวข้าวก็ต้องอดทน เพราะยายสั่งไม่ให้ซื้อเขากิน ให้กลับมากินบ้านเรา ยายว่าซื้อเขากินมันแพง จานละตั้งสามสตางค์ สู้กลับมากินข้าวที่บ้านไม่ได้ อาตมาก็จำเป็นต้องเชื่อยาย บางทีกว่าจะถึงบ้านหิวแทบลมจับ

อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่อาตมาหาบกระจาดเปล่ากลับบ้าน ก็พบกับผู้หญิงคนหนึ่งกลางทาง เขากำลังท้องแก่ จะเดินทางไปคลอดลูกที่บ้านแม่ของเขา ที่ต้องเดินทางไปคลอดบ้านแม่ เพราะเขาอยู่กับพ่อผัวแม่ผัว ซึ่งรังเกียจว่าเขาจนและไม่ยอมช่วยเหลือเกื้อกูลแต่ประการใด เดินทางไปได้ครึ่งทางก็เกิดปวดท้องนอนร้องครวญครางอยู่ใต้ต้นไทร พอเห็นอาตมาเดินผ่านมาเขาก็ดีใจร้องบอกกับอาตมาให้ช่วยเขาด้วย เขาปวดท้องใจจะขาดอยู่แล้ว ช่วยเอาลูกออกให้ที อาตมาถึงจะอายุสิบหกแต่ก็ยังไม่รู้ว่าเขาออกลูกกันอย่างไร ผู้ใหญ่เขาเคยพูดให้ฟังว่าเขาออกลูกทางปาก บางคนก็บอกออกทางสะดือ บางคนก็ว่าออกทางก้น อาตมาก็เชื่อนึกว่าเป็นอย่างนี้จริงๆ ที่แท้ก็ถูกผู้ใหญ่หลอก เพิ่งมารู้ความจริงตอนทำคลอดครั้งนี้นั่นแหละ

ผู้หญิงคนนั้นเขาก็ร้องใหญ่บอกปวดมากแล้วก็เป็นลูกท้องแรก จึงยังไม่เคยมีประสบการณ์เรื่องการคลอดลูกมาก่อน ได้ยินเขาร้องโอยๆ อาตมาก็ทำอะไรไม่ถูก เลยถามเขาว่าจะให้ช่วยอย่างไร เขาก็บอกช่วยดึงเด็กออกจากท้องให้เขาที มันกำลังจะออกแล้ว อาตมาก็ยังงงอยู่เลย นึกถึงเทวดา ก็นึกตามประสาเด็กๆ ไม่รู้ว่าเทวดามีจริงหรือเปล่า แต่ยายเคยเล่าให้ฟังบ่อยๆ ก็คิดว่าคงจะมีมั้ง เลยประนมมือบอก รุกขเทวดาประจำต้นไทรให้ช่วย แล้วก็ร่ายคาถาชุมนุมเทวดาที่ยายเคยสอนจนจำได้ขึ้นใจ พอว่าคาถาจบ เทวดาเข้าสิงอาตมาเลย ที่รู้ว่าเทวดาเข้าสิงเพราะท่านมากระซิบข้างหูว่า "ดึงเด็กออกมา ดึงเด็กออกมา" อาตมาถาม "ดึงยังไง เด็กอยู่ที่ไหน" เทวดาบอก "อยู่ในท้อง เอามือล้วงเข้าไปในผ้านุ่งก็จะเจอหัวเด็ก" อาตมาก็ทำตามดึงพรวดสุดแรงเลย เสียงผู้หญิงร้องกรี๊ดและสลบเหมือดไป

อาตมาก็ตกใจเพราะเห็นไส้ยาวๆ ติดตัวเด็กออกมา คิดว่าเราคงดึงไส้ผู้หญิงคนนั้นออกมาหมดท้องกระมัง เขาคงต้องตายแน่ๆ จะทำยังไงดีหนอ เสียงเทวดากระซิบข้างหูว่า "ไม่ตายหรอก แค่สลบไปเท่านั้น" ไปจัดการตัดสายรกให้เด็กก่อน ที่เธอเห็นนั้นแหละเรียกว่า สายรก ไม่ใช่ไส้เขาหรอก" อาตมาก็ถามว่า "เอาอะไรตัดล่ะ มีดพร้าก็ไม่มี" เทวดาบอก "เอาเล็บของเธอนั่นแหละ จิกแน่นๆ แล้วดึง มันจะขาดเอง" สมัยนั้นหนุ่มรุ่นๆ เขานิยมไว้เล็บยาวกันเรียกว่าเป็นแฟชั่น อาตมาก็ไว้กับเขา คือเขาจะไว้เล็บข้างละสองนิ้ว นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วก้อย อาตมาก็ทำตามที่เทวดาบอก พอรกขาดเลือดพุ่งเลย เด็กส่งเสียงร้องอุแว้ๆ ลั่นป่า เทวดาบอกอีกว่า "ไปเอาฝุ่นมาโรงตรงแผล" อาตมาก็กอบฝุ่นโรยลงไป ปรากฏว่าเลือดหยุดไหลแต่เด็กไม่หยุดร้อง เทวดาก็กระซิบข้างหูอีกว่า "ดูดเลือดที่คั่งในปากออกมา" อาตมาก็เอามือง้างปากเด็ก ดูดเลือดและเสมหะออก แล้วบ้วนทิ้ง ไม่ได้นึกรังเกียจ เพราะกลัวเด็กจะตาย

เทวดาบอกอีกว่า "เอากระบอกไปตักน้ำมาหยอดปาก" พอดีมีกระบอกไม้อันหนึ่งแขวนอยู่ที่กิ่งไทร ไม่ทราบเหมือนกันว่าใครนำไปแขวนไว้ ข้างๆ ต้นไทรมีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่ง อาตมาจึงหยิบกระบอกเดินไปตักน้ำมาหยอดใส่ปากเด็ก เจ้าหนูหยุดร้องไห้เลย ดูดหยดน้ำจากนิ้วมืออาตมาเสียงดังจั๊บๆ เป็นภาพที่ซึ้งใจอาตมามาจนถึงทุกวันนี้ ได้เห็นสัญชาติญาณการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของชีวิต ก็ตอนที่เจ้าหนูดูดน้ำจากนิ้วมือนี้แหละ พอได้น้ำเจ้าหนูก็หยุดร้อง ส่วนแม่นั้นสักพักเขาก็ฟื้นถามว่า "ลูกเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย" พอรู้ว่าได้ลูกชายก็ดีใจ อาตมาก็เลยช่วยพากลับบ้านทั้งแม่ทั้งลูก หญิงคนนั้นเป็นเจ้าของตลาดท่าแค ลพบุรี ร่ำรวยมาก นี่แหละที่ทำให้อาตมาเห็นใจคนเป็นแม่และรักแม่มาตั้งแต่บัดนั้น อาตมาสงสารลูกผู้หญิงมาก เห็นคนท้องเดินมาก็จะแผ่เมตตาขอให้เขาคลอดง่าย เพราะเราเห็นว่าการคลอดลูกนั้นเป็นการเสี่ยงชีวิตเหมือนการออกศึกสงครามทีเดียว

เดี๋ยวนี้อาตมาไม่สอนคนแก่เพราะคนแก่ไม่มีพิษมีภัย อีกไม่นานก็ตายแล้ว สอนเด็กรุ่นใหม่แทนเพราะเมื่อคนรุ่นใหม่ดี รุ่นต่อๆ ไปก็จะดีไม่เป็นวายร้ายหรือภัยสังคม สอนเด็กว่าวันเกิดของเราอย่าพาเพื่อนมาให้พ่อแม่ทำครัวเลี้ยงนะ เธอจะบาป ทำมาหากินไม่ขึ้น เธอต้องเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ให้อิ่มก่อน แล้วจึงไปเลี้ยงเพื่อนทีหลังจึงจะถูกต้อง

พ่อแม่เลี้ยงลูกเปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ ปลูกอย่างมีระเบียบแบบแผน ต้นไม้ก็จะขึ้นอย่างมีระเบียบสวยงามตามแบบตามแผนที่วางไว้ ถ้าปลูกอย่างไม่มีระเบียบปลูกตรงโน้นต้นหนึ่ง ตรงนี้ต้นหนึ่ง นึกจะปลูกตรงไหนก็ปลูก เกะกะเต็มไปหมด มองดูรกรุงรัง หาความสวยงามไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนี้จะไปโทษต้นไม้ว่ามันขึ้นไม่เป็นระเบียบจะถูกหรือ จะต้องโทษคนปลูก เพราะคนปลูกไม่มีระเบียบ ต้นไม้จึงขึ้นอย่างไม่มีระเบียบ

ความรักของแม่มีหลายรูปแบบ มีแม่คนหนึ่งมาบอก "หลวงพ่อเจ้าคะ ดิฉันเลี้ยงลูกมานี่ ลูกมันไม่เอาไหนเลย ขอมาฝากบวช 7 วัน" บอกเสร็จก็ออกไปสักครู่ก็กลับมาอีก กำชับอีกว่า "สอนลูกฉันให้ดีๆ นะ" ออกไปอีก กลับมาย้ำอีกทีว่า "ช่วยสอนลูกฉันให้ดีๆ นะ" อาตมาก็ต้องเรียกเข้ามานั่ง แล้วให้คติธรรม "นี่โยมน่ะเป็นแม่เขาใช่ไหม" "ใช่เจ้าค่ะ" "โยมสอนลูกมาตั้ง 20 ปี เอาดีไม่ได้ แล้วจะมาให้อาตมาสอน 7 วันจะดีหรือ" อย่างนี้ต้องเรียกว่าจะมากไป สอนลูกไม่เอาไหน ไม่ใช่ลูกไม่ดีนะ ตัวแม่ไม่ดี ไม่เคยสอนลูกสวดมนต์ไหว้พระเลย อยากให้ลูกดีต้องสอนให้ลูกสวดมนต์ ลูกจะมีระเบียบวินัย โตขึ้นไม่เถียงพ่อเถียงแม่ เมื่ออยู่ในวัยศึกษาก็รับผิดชอบสูง แม้ไปศึกษายังต่างประเทศลูกจะวางตัวดี พ่อไม่ไม่ต้องคอยติดตามทุกฝีก้าวทุกระยะ

อีกรายเป็นแม่ปริญญาโท มาให้อาตมาช่วยเป่าหัวให้ลูกชายหน่อยจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย อาตมาบอก "ขอเจริญพร ขอตั้งสติสักนาที" คิดหนอ เห็นหนอ แม่คนนี้หนอ เป่าให้ไม่ได้หนอ เป่าแล้วเสียลมจากคอเราหนอ เมื่อคืนนี้แม่เอาหนังมาดูถึงตอนตี 2 นี่หรือจะให้เป่าหัว เป่าแทบตายก็ไม่ได้เรื่อง จึงบอกไปว่า "หนู หลวงพ่อเป่าไม่ได้ เมื่อคืนดูหนังอะไรกัน" ลูกชายบอก "จริงหลวงพ่อ ตี 2 ผมง่วง ยังดึงผมหยิกผมให้ลุกมาดูด้วย" แม่อย่างนี้จะให้สอบเข้าได้อย่างไร อย่างนี้พระเป่าหัวก็เป็นพระโง่ เพี้ยงดีๆ ยังไง เป่าแล้วดีเป่าแล้วรวย แต่ขี้เกียจสะบัดอย่างนี้ก็ช่วยไม่ได้ถ้าไม่ช่วยตัวเองก่อน

ขอฝากไว้คนที่เป็น "แม่" นั้นต้องทำให้ถูกต้อง ถูกบทหมดจดเหมาะเจาะอยู่ที่ "แม่" ส่วนพ่อมีความสำคัญไม่เท่าแม่ พ่อเปรียบเสมือนพระอาทิตย์ที่ให้ความอบอุ่น ส่วนแม่เปรียบเสมือนพระจันทร์ หากพ่อเล่นการพนันไม่เอาไหนไม่เป็นไร แม่นั้นสำคัญมาก แม่จะต้องรักษาลูกไว้ แม่ที่ดีต้องเป็นแม่แบบแม่แผน แม่แปลน แม่บันได แม่บ้านแม่เรือน แม่เคหะศาสตร์ แม่แผนผัง แม่กุญแจอยู่ตรงนี้

ลูกจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับแม่เป็นหลักให้ลูก ไม่ใช่พ่อ ถึงพ่อแสนดี แม่ฉุยแฉกแตกราน สุรุ่ยสุร่ายไม่เอาไหน ไม่รู้จักเก็บงำทำให้ดี ไม่เป็นแบบที่ดีของลูก รับรองบ้านนั้นเจ๊งแน่ๆ ถ้าพ่อดีแม่ดีเปรียบเสมือนอาคารแน่นลูกดีมีปัญญา เหมือนมีเฟอร์นิเจอร์ราคาแพงประดับบ้าน ฉะนั้น พ่อแม่เท่านั้นที่ทำความดีให้กับลูก ทำถูกให้กับหลาน เป็นกฎแห่งกรรม จากการกระทำของพ่อแม่ ทำให้ลูกชอบ พูดให้ลูกเชื่อ ตามใจในสิ่งที่ถูก ทำตัวอย่างให้ลูกดู สร้างความดีให้ลูกเห็น โบราณท่านว่าไว้ อย่าอยู่ว่าง อย่าห่างผู้ใหญ่ ลูกจะหลงทางได้ง่าย

อีกเรื่องต้องเรียกว่า หนามแหลมใครเสี้ยม มะนาวกลมเกลี้ยงใครไปกลึง เรื่องมีอยู่ว่า มีเด็กประถม 4 คนหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นดอกเตอร์อยู่สหรัฐอเมริกา พ่อกินเหล้า สูบกัญชายาฝิ่น ชอบเล่นการพนัน ตีไก่อยู่ที่บางระจัน สิงห์บุรี แม่ก็หาหวยตามวัด อาตมาดูหนูคนนี้แล้วบอกต้องเป็นใหญ่เป็นโตแน่ จดไว้เป็นกฎแห่งกรรม ติดตามดูแลโดยต่อเนื่อง อาตมาประสบมาเราก็ต้องจดต้องจำ จึงจะกำหนดจดจำ ก็จดชื่อไว้ บอกเด็กไปว่าหลวงพ่อจะสอน จะให้ตังค์ไป 100 บาท ถามว่า เขาเกิดวันอะไร เขาบอกเกิดวันอังคาร หลวงพ่อสอนเด็กคนนี้ครั้งเดียวจำได้

บอกวันเกิด หนูซื้อขนม 2 ห่อ เรียกพ่อแม่มาคู่กันแล้วกราบนะลูกนะ พ่อก็เมา แม่ก็บอกเดี๋ยวจะรีบไปวัด ลูกก็บอกเดี๋ยว ความผิดอันใดที่ลูกพลั้งเผลอด้วยกาย วาจา ใจ ที่คิดไปไม่ดีต่อคุณพ่อคุณแม่ ขอให้คุณพ่อคุณแม่อโหสิกรรมให้แล้วล้างเท้าให้พ่อแม่ ลูกไม่มีสตางค์ ลูกซื้อขนมมา 2 ห่อ ให้แม่ก่อน 1 ห่อ เพราะแม่อุ้มท้องมา แล้วจึงให้พ่ออีก 1 ห่อ ลูกขอปฏิญาณตนว่า ลูกขอเป็นลูกที่ดีต่อพ่อแม่แล้วจะเป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ ลูกจะไม่ทำให้พ่อแม่ผิดหวัง แล้วลูกจะเรียนหนังสือให้เก่งให้ก้าวหน้า พ่อฟังแล้วน้ำตาร่วง สร่างเมาเลย ส่วนแม่ก็ร้องไห้ ลูกไปโรงเรียนแล้ว พ่อแม่ก็สำนึกได้บอกลูกมันปฏิญาณตนเป็นคนดีแล้ว เรายังทำตัวอย่างไม่ดีให้ลูกดูอีกหรือ ตกลงพ่อแม่ก็ปฏิญาณตนกัน พ่อก็บอกข้าจะเลิกสูบกัญชา เลิกกินเหล้า และข้างฝ่ายแม่ก็เลิกหาหวยตามวัด ลูกจบปริญญาโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปต่อดอกเตอร์ที่สหรัฐฯ ได้ดีแล้วเขาก็ไม่ลืมวัดอัมพวัน ไม่ลืมอาตมา ยังมาทำบุญถวายข้าวสารทีละ 50 กระสอบ

อาตมาไม่สอนใครไปสู่สวรรค์นิพพาน แต่สอนกรรมฐานให้ระลึกชาติได้ ระลึกบุญคุณคนได้ นึกถึงพ่อแม่ นึกถึงตัวเองและสงสารตัวเอง จะได้ทำแต่สิ่งดีๆ แค่นี้พอก่อน บางคนลืมพ่อลืมแม่ อย่าลืมนะการเถียงพ่อเถียงแม่ไม่ดี ขอบิณฑบาต สอนลูกหลานอย่าเถียงพ่อแม่ อย่าคิดไม่ดีกับพ่อแม่ ไม่งั้นจะก้าวหน้าได้อย่างไร ก้าวถอยหลังเลยดำน้ำไม่โผล่

หนี้บุญคุณอันยิ่งใหญ่เหลือจะนับจะประมาณนั้น คือหนี้พระคุณของบิดามารดา คำพังเพยเปรียบเทียบสั่งสอนมาสองพันกว่าปีแล้ว ว่าจะเอาท้องฟ้าหรือแผ่นดินมาเป็นกระดาษ เอาเขาพระสุเมรุมาศมาเป็นปากกา จะเอาน้ำมหาสมุทรมาเป็นน้ำหมึก ก็ไม่สามารถจะจารึกพระคุณของบิดามารดาไว้ได้ เพราะน้ำในมหาสมุทรจะเหือดแห้งหมด ก่อนที่จะจารึกพระคุณบิดามารดาได้จบสิ้น คนอื่นที่เป็นเพื่อนที่รักหรือยอดหัวใจก็ยังมีโทษแก่ตัวเรา รักเราไม่จริงเหมือนบิดามารดา เขาพึ่งเราได้จึงมารักเรา

นี่แหละท่านทั้งหลายเอ๋ย เป็นหนี้บุญคุณพ่อแม่มากมาย ยังจะไปทวงนาทวงไร่ ทวงตึกรามบ้านช่องมาเป็นของเราอีกหรือ ตัวเองก็พึ่งตัวเองไม่ได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ สอนตัวเองไม่ได้แล้ว เป็นคนอัปรีย์จัญไรในโลกมนุษย์ ไปทวงหนี้พ่อแม่ พ่อแม่ให้แล้ว เรียนสำเร็จแล้วยังช่วยตัวเองไม่ได้ มีหนี้ติดค้างรับรองทำมาหากินไม่ขึ้น

คนไม่ทำกิจวัตร ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ไม่รับผิดชอบ แปลว่า คนนั้นเกลียดตัวเอง กินเหล้าเมาสุรา เล่นการพนัน เที่ยวสรวลเสเฮฮา กินโต้รุ่ง พ่อแม่ก็เสียใจยังไปว่าพ่อแม่ ไปทวงหนี้ เอาทรัพย์สมบัติพ่อแม่มาฉุยแฉกแตกราน นี่คือลูกสะสมหนี้ ไม่ยอมใช้หนี้ เดี๋ยวนี้ตัวเราไม่สงสารแล้วกินเหล้าเข้าไป ทรัพย์สมบัติพ่อแม่ให้มาก็ขายแจกจ่ายให้หมด ไม่มีเหลือเลย ตัวเองก็จะขายตัวกิน ขายตัวเองเขาก็ไม่เอาอีก เพราะขี้เกียจเช่นนี้ ขอฝากท่านเป็นข้อคิด พ่อแม่นั้นมีบุญคุณต่อเรามากในมาตาปิตุคุณสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า ลูกจะให้แม่นั่งบนบ่าขวา ให้พ่อนั่งบนบ่าซ้าย ถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงไปบนบ่าลูก ลูกเป็นผู้เช็ดให้ หาอาหารมาป้อนให้ กระทั่งจนท่านตายหรือกระทั่งลูกตายไป ก็ไม่สามารถจะตอบแทนพระคุณค่าป้อนข้าวป้อนน้ำนมที่ท่านได้ถนอมกล่อมเกลี้ยงบำรุงเลี้ยงมาอย่างดีได้

ทำอย่างไรให้ได้ชื่อว่า ได้ทดแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างเลิศที่สุด สรุปคือ ถ้าพ่อแม่เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้ว ลูกสามารถชักจูงพ่อแม่ให้กลับเป็นสัมมาทิฎฐิได้นั้น ถือว่าได้ทดแทนคุณอย่างเลิศ เช่น พ่อแม่มีความเห็นผิด เป็นต้นว่าไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ แล้วลูกสามารถชักจูงชี้แจงให้ท่านมีความเห็นที่ถูกต้อง เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บุญบาปมีจริง ถ้าทำอย่างนี้ได้ถือว่า ทดแทนบุญคุณอย่างเลิศที่สุด

วิธีใช้หนี้พ่อแม่ไม่ยากเลยลูกทั้งหลายเอ๋ย จงสร้างความดีให้กับตัวเองและก็เป็นการใช้หนี้ตัวเองนี่เป็นเรื่องสำคัญ ตัวเราพ่อให้หัวใจแม่ให้น้ำเลือดน้ำเหลืองแล้วอยู่ในตัวเรา จะไปแสวงหาพ่อที่ไหน จะไปแสวงหาแม่ที่ไหนอีกเล่า บางคนรังเกียจ "แม่" ว่าแก่เฒ่าไม่สวยไม่งาม พอตัวเองแก่ก็เลยถูกหลานรังเกียจ จึงเป็นกงกรรมกงเกวียนยืดเยื้อกันต่อไปอีก ใครที่คุณแม่ล่วงลับไปแล้วก็ให้หมั่นทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน และถ้าจะทำบุญด้วยการมาเจริญกรรมฐานแล้วอุทิศส่วนกุศลไป การทำเช่นนี้ ถือว่าได้บุญมากที่สุดทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ

ถ้าไม่มี "แม่" เราทุกคนก็ไม่ได้เกิด อันนี้เป็นความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ ผู้ใดก็ตามที่คุณแม่ยังมีชีวิตก็ให้กลับไปหาแม่ ไปกราบเท้าขอศีลขอพรจากท่าน จะได้มั่งมีศรีสุข ส่วนคนที่เคยทำไม่ดีไว้กับท่านก็นำเทียนแพไปกราบขออโหสิกรรมล้างเท้าให้ท่านด้วย เป็นการขอขมาลาโทษ

คัดลอกจาก: www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3111[/QUOTE]

50: ความหลงในสงสาร เรื่องย่อพระเจ้าตาก


Artist: สุทัสสา อ่อนค้อม




ไฟล์แนบข้อความ
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 000.mp3 (2.24 MB, 23615 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 001.mp3 (6.09 MB, 23935 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 002.mp3 (5.36 MB, 19677 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 003.mp3 (6.14 MB, 17830 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 004.mp3 (5.92 MB, 18882 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 005.mp3 (6.09 MB, 19678 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 006.mp3 (5.53 MB, 22899 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 007.mp3 (6.03 MB, 30057 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 008.mp3 (6.09 MB, 23969 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 009.mp3 (6.01 MB, 17882 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 010.mp3 (6.23 MB, 18568 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 011.mp3 (5.91 MB, 17438 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 012.mp3 (5.67 MB, 16869 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 013.mp3 (6.03 MB, 26495 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 014.mp3 (6.18 MB, 18280 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 015.mp3 (6.56 MB, 16780 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 016.mp3 (6.76 MB, 17133 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 017.mp3 (6.81 MB, 17140 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 018.mp3 (6.64 MB, 17272 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 019.mp3 (7.24 MB, 16599 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 020.mp3 (7.49 MB, 17217 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 021.mp3 (6.73 MB, 16472 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 022.mp3 (6.46 MB, 16924 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 023.mp3 (6.65 MB, 16621 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 024.mp3 (6.06 MB, 16893 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 025.mp3 (6.05 MB, 16488 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 026.mp3 (6.29 MB, 16496 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 027.mp3 (6.41 MB, 17012 views)
ฟัง ชนิดของไฟล์: mp3 ความหลงในสงสาร 028.mp3 (6.29 MB, 17023 views)


อันตัวพ่อ...................นี้ชื่อ.............พระยาตาก 
ทนทุกข์ยาก...............กู้ชาติ...........พระศาสนา 
ถวายแผ่นดิน.............ให้เป็น...........พุทธบูชา 
แก่ศาสดา...................สมณะ...........พระพุทธโคดม 


ให้ยืนยง.....................คงถ้วน..........ห้าพันปี 
สมณะพราหมณ์ชี.........ปฏิบัติ..........ให้พอสม 
เจริญสมถะ..................วิปัสสนา........พ่อชื่นชม 
ถวายบังคม.................รอยบาท........พระศาสดา 


คิดถึงพ่อ....................พ่ออยู่.............คู่กับเจ้า 
ชาติของเรา.................คงอยู่.............คู่ศาสนา 
พระศาสนา..................ยืนยงคู่..........องค์กษัตรา 
พระศาสดา..................ฝากไว้...........ให้คู่กัน 
เพิ่มเติม :  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=19838


ความหลงในสงสาร โดย สุทัสสา อ่อนค้อม

พบกับธรรมนิยายอิงประวัติชีวิตของพระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ จิตธมฺโม) เหตุในเล่มเป็นช่วงที่พระเดชพระคุณสมัยที่ยังเป็นพระครูภาวนาวิสุทธิ์ได้พบ กับหลวงพ่อในป่าและพระภิกษุสมเด็จสมเด็จพระเจ้าตากสิน เนื้อหาตอนต้นจะเป็นบทสนทนาซึ่งเผยความจริงเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าตากสิน แห่งกรุงธนบุรีที่ไม่มีในประวัติศาสตร์ ต่อจากนั้นเป็นเรื่องที่พระครูเจริญเดินทางไปอินเดียเพื่อนมัสการสังเวชนีย สถานมากมาย พร้อมเรื่องเล่าในพระพุทธศาสนาที่คุณไม่ควรพลาด

1. พระอรหันต์สามองค์
2. พระเถรเจ้า
3. นามไหฮอง
4. พระยอดธง
5. ลิเกโรงใหญ่
6. สองพี่น้อง
7. พระสังฆราชศรี
8. ภาระอันยิ่งใหญ่
9. วิสุทธิเทพ
10. สารพันปัญหา
...ฯลฯ...



เรื่องย่อพระเจ้าตาก จากหลวงพ่อจรัญ

ข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ที่ว่า พระเจ้าตากนั้นเป็นผู้กู้เอกราชให้กับไทยนั้นพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกาจกล้าหา­ญ และเสียสละอย่างมากอย่างที่ชนธรรมดามิได้ล่วงรู้อีกมากมาย แต่เรื่องที่จะเล่าเกี่ยวกับพระเจ้าตากนั้นไม่ได้มีในประวัติศาสตร์ที่เราเคยเรียนกัน

พระเจ้าตากมิใช่เป็นลูกของคนจีนสามั­ญชนตามประวัติศาสตร์ แต่เป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับสนมลับชาวจีนชื่อ ไหฮอง แต่เนื่องจากสมัยอยุธยานั้นมีการแก่งแย่งชิงดีกันมาก มีการฆ่ากันเพื่อชิงราชสมบัติ พระมารดาของพระเจ้าตากเกรงจะเป็นอันตราย จึงได้ปิดเป็นความลับ และบอกว่าบิดาของพระเจ้าตากชื่อ ไหฮอง (ชื่อของนางเอง) และมารดาชื่อนางนกเอี้ยง (ชื่อที่แต่งขึ้นไม่มีตัวตนจริง)

ประวัติศาสตร์นั้นได้ถูกบันทึกไปตามเหตุการณ์ที่ถูกทำให้เป็นว่าเป็นไปโดยที่หามีใครรู้ข้อเท็จจริงไม่ (โดยส่วนตัวของข้าพเจ้าในสมัยที่เรียนประวัติศาสตร์นั้นก็มีความรู้สึกไม่ค่อยเชื่อว่าคนที่จะขึ้นมาเป็นระดับพระมหากษัตริย์นั้นจะเกิดมาจากคนสามั­ญชนเพียงเท่านั้น เพราะผู้ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์นั้นย่อมต้องมีบุ­ญบารมีสูง ย่อมน่าจะสืบสายเลือดมาจากเชื้อพระวงศ์) 

พระเจ้าตากไม่ได้สติวิปลาสและถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ดังที่ได้บันทึกในประวัติศาสตร์ ความจริงเป็นพระประสงค์ของพระองค์เองที่จะสละความเป็นกษัตริย์เพื่อหันไปออกผนวชเป็นพระภิกษุจึงได้ขอร้องให้พระสหายร่วมสาบานปราบดาภิเษกแทน (พระสหายนี้คือรัชกาลที่หนึ่งนั่นเอง)

ความจริงพระสหายนั้นมีความซื่อสัตย์ภักดีต่อพระเจ้าตากเป็นมั่น มิได้มีความคิดที่จะก่อกบฏหรือหวังขึ้นตั้งตัวเป็นกษัตริย์ และก็ไม่ยอมทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าตากแต่ด้วยเหตุผลของพระเจ้าตากว่า พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ยากจนเข็ญ­ใจ เงินในท้องพระคลังไม่มีเลย ไม่มีแม้แต่เบญ­จราชกกุธภัณฑ์ (เครื่องหมายแสดงความเป็นพระราชา มี ๕ ได้แก่ พระขรรค์ ธารพระกร อุณหิส ฉลองพระบาท และแส้วาลวิชนี) เนื่องจากผลของสงคราม ข้าวยากหมากแพง พระองค์ต้องช่วยเหลือราษฎรของพระองค์ จนต้องเป็นหนี้กับจีนถึงหกหมื่นตำลึง ถ้าหากพระองค์จะค่อยๆ ผ่อนใช้ก็พอได้แต่เมื่อรู้ว่าจีนคิดมิซื่อหวังยึดเอาไทยเป็นของตน ดังนั้นจึงมิอาจยอมได้ทรงคิดว่าการผลัดแผ่นดินเป็นการล้างหนี้ที่ดีที่สุด 

พระองค์ทรงใช้กุศโลบายเพื่อรักษาเอกราชของชาติ โดยแสร้งทำตนว่าสติวิปลาสแล้วให้พระสหายขึ้นปราบดาภิเษก ถึงตอนนั้นจีนก็ไม่สามารถยึดเอาไทยไปได้เพราะผู้ที่ทำสั­­ญญากับจีนนั้นเป็นพระเจ้าตากเพียงผู้เดียวที่รับผิดชอบ 

ผู้ที่ถูกสังหารด้วยท่อนจันทน์ไม่ใช่พระเจ้าตากแต่เป็นสหายอีกคน(หลวงอาสาศึก) ที่หน้าตาท่าทางคล้ายกับพระเจ้าตากเป็นอันมาก ยอมเสียสละชีวิตตนแทนส่วนพระเจ้าตากนั้นพระสหายได้แอบพาหนีไปที่อื่นอย่างปลอดภัย นี่แสดงให้เห็นถึงความเสียสละของพระเจ้าตากกับความรักความสามัคคีและความซื่อสัตย์ที่พระสหายมีต่อพระเจ้าตากนั้นเป็นที่สูงสุด และนี้จึงเป็นผลบุ­ให้พระสหายซึ่งต่อมาได้สืบพระราชวงค์ใหม่ได้มีแต่ความเจริ­ญยั่งยืนสืบยาวนานตลอดรัชกาล

พระเจ้าตากสิ้นพระชนม์(ละสังขาร)อย่างไร

เมื่อครั้งที่พระเจ้าตากได้ไปตั้งค่ายในป่าได้พบกับพระรูปหนึ่งได้ให้กรรมฐานแก่พระเจ้าตากจึงทรงมิอยากครองราชต่อไป ทรงดำเนินแผนการว่า ทางอยุธยาเกิดเรื่องจึงสั่งให้พระยาสวรรค์ยกกองทัพไปปราบ เสร็จแล้วให้กลับมายังกรุงธนบุรีและล้อมพระราชฐานไว้แล้วจับพระองค์บวชเสีย แต่ปรากฏว่าพระยาสวรรค์เกิดลืมตัวอยากเป็นใหญ่ ตั้งตนเป็นกษัตริย์ขึ้นมาจริงๆ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่หนึ่ง) จึงได้ยกทัพลงมาปราบ ส่วนพระเจ้าตากได้ไปเจริ­วิปัสนากรรมฐานในถ้ำแห่งหนึ่งที่เพชรบุรี ในวันที่พระองค์บรรลุธรรมสูงสุดคือวันที่ท่านละสังขาร ขณะที่กำลังดูดดื่มอยู่ในวิมุติสุข พระองค์ถูกชายสองคนใช้ไม้คมแฝกฟาดที่ศรีษะอย่างนับไม่ถ้วน ชายสองคนนั้นเป็นพวกกลุ่มคนที่ต้องการเอาความดีความชอบ เมื่อรู้ว่าผู้ที่ถูกสำเร็จโทษ ไม่ใช่พระเจ้าตากตัวจริงจึงสืบหาเพื่อตามสังหารแต่กรรมตามทันมีการกบฏซ้อนกบฎกันวุ่นวายพวกนั้นก็ฆ่ากันตายเอง ส่วนพระเจ้าตากได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์กลายเป็นวิสุทธิเทพในที่สุด

หนังสืออ้างอิง : ความหลงในสงสาร,(สุทัสสาอ่อนค้อม),๒๕๔๙

เรื่องราวนี้เป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์ของพระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์(จรัญ­ จิตธัมโม/หรือพระครูเจริญ­ จิตธัมโม) ซึ่งได้เจริญ­กรรมฐานจนได้อนิสงส์สามอย่าง คือระลึกชาติได้เจ็ดชาติเห็นกฏแห่งกรรมและเกิดปั­­ญญาแก้ปั­ญหาได้ ท่านได้พบกับพระเจ้าตากซึ่งเป็นพระวิสุทธิเทพแล้วเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน พระเจ้าตากได้เล่าเรื่องราวต่างๆให้ฟังด้วยต้องการให้นำไปเผยแพร่ข้อเท็จจริง เพราะท่านเห็นว่าคนไทยเราต่างมีความขัดแย้งกันมากมาย ที่สำคัญ­คือท่านไม่ต้องการให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสียเพราะจากความเข้าใจผิดและความมิจฉาทิฐิ ท่านที่ได้อ่านจะเชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่ปั­­ญญาและสัมมาทิฐิของแต่ละบุคคล แต่โดยส่วนตัวของข้าพเจ้ามิได้มีอำนาจอิทธิฤทธิ์ใดๆ ที่จะเห็นได้ว่าเรื่องที่เล่านั้นจริงหรือไม่เพียงแต่อ่านแล้วรู้สึกเกิดแรงบันดาลใจที่จะเล่าต่อต่อให้แก่กัน 

โดยหวังว่าอานิสงค์นี้จะช่วยก่อให้เกิดผลแก่ประเทศชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ให้ประชาชนได้เกิดความสามัคคี อย่าได้มีความขัดแย้งแตกแยกกันจงเกิดปั­­ญญาและสัมมาทิฐิ รู้ข้อเท็จจริงด้วยปั­­ญญาของตนเอง มิใช่จากการฟังเสียงลือเสียงเล่าอ้างแล้วมิได้ไตร่ ตรองจนทำให้เกิดความทะเลาะเบาะแว้ง

เมื่อท่านได้อ่านแล้วมีจิตนึกถึงความเจริ­ญของ "ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์" ก็ขอให้ช่วยกันอธิษฐานยิ่งมากเท่าไหร่ ย่อมเป็นพลังให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากขึ้นเท่านั้น และด้วยบุญ­แห่งการอธิษฐานที่ไม่ใช่เพื่อตัวเองนี้แลจะกลับมาส่งถึงตัวท่านเองมากมายหลายร้อยเท่า


http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=1396

49: โสดาบัน...สำคัญไฉน

โสดาบัน...สำคัญไฉน
ผู้ปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ ก็มักจะพลั้งเผลอ เอาปริยัติเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอด

ทำให้เกิดการระแวงสงสัย ว่าการปฏิบัติของเรานั้นไปถึงขั้นไหนแล้ว ทั้งๆที่ในอดีต
สมัยพระพุทธกาลมานั้น ไม่มีขั้นตอนของการปฏิบัติ แต่เราเอาผลของการปฏิบัติ
มาแยกออกตั้งเป็นหัวข้อ เพื่อให้มีการเรียนรู้ คนเรารุ่นหลังๆ ก็เลยนำเอาตัวหนังสือ
มายึดเป็นแบบฉบับ ซึ่งบางครั้ง ผู้ที่ยึดแต่ตัวหนังสือนั้น ยังไม่เคยสัมผัสผลของ
การปฏิบัตินั้นๆ ก็เลยคิดเอาเองว่า เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ แล้วก็นำมาทุ่มเถียงกัน
กล่าวอ้างไปตามความนึกคิดของตน

ผู้ที่ปฏิบัติธรรมถึงขั้นโสดาบันแล้วนั้น ก็จะทราบแต่เพียงวาระจิตของตัวเอง
ที่มีความเปลี่ยนแปลงในขณะนั้น เช่นจิตเข้าสู่ความสงบโดยปัญญา แล้วสามารถละ
บางสิ่งบางอย่างออกไปจากใจได้ โดยไม่รู้เลยว่า ขั้นนั้นเรียกว่า”โสดาบัน” เพราะ
เมื่อจิตถึงขั้นละวางได้นั้น ไม่มีตัวหนังสือใดๆมาชี้บอกว่าสำเร็จโสดาบัน ก็เหมือนกับ
เรากินข้าวอิ่ม เราก็รู้สึกอิ่ม ไม่ต้องมีตัวหนังสือใดๆขึ้นมาว่าอิ่ม แล้วเมื่อเรากินข้าว
อิ่มแล้ว เราจะต้องไปถามใครหรือไม่ ว่า เรากินข้าวอิ่มหรือยัง เพราะมันบ่งบอกความ
รู้สึกของเราอยู่แล้ว เราจะอิ่มมากอิ่มน้อย เราก็รู้สึกของเราเอง

การกินข้าว เราเอาอาหารจากภายนอกใส่เข้าไป แล้วเกิดการอิ่มโดยกาย
แสดงออกให้กายรู้ว่าอิ่ม การสำเร็จธรรม ก็คือการนำธรรมะจากภายนอกเข้าไปสู่
ภายใน แล้วเกิดการรู้ด้วยใจ

การจะสำเร็จธรรมได้นั้น ไม่ใช่เพียงแต่รู้ภายนอกแล้วจะสำเร็จ นั่นเป็นเพียง
การนึกคิดเอา การคาดเดาเอาเท่านั้น เมื่อเราพิจารณาธรรม นั่นคือการนำเอาธรรม
เข้าสู่ภายในใจ เมื่อจิตสามารถตีความหมายของธรรมออกชัดแจ้งเมื่อไร จิตจะมีความ
ยินดีในธรรมนั้นๆ จะเกิดความรู้ขึ้นเองภายในจิต แล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงของจิ
เกิดขึ้นไปในทางที่เป็นสัมมา แล้วจิตก็นำออกมาให้กายปฏิบัติตามนั้น มีการละวาง
ไปตามขั้นตอนของธรรมะนั้นๆ

การเกิดนิมิตใดๆเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ขั้นของการสำเร็จ เป็นเพียงตัวเสริม
ในการปฏิบัติธรรมเท่านั้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำเอาข้อคิดจากนิมิตนั้นไปพิจารณา
หาเหตุผลในธรรมะที่ตนเองกำลังพิจารณาอยู่ นิมิตสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในขณะ
ที่ปฏิบัติอยู่นั้น และแต่ละคน ก็เกิดนิมิตที่แตกต่างกันออกไปตามจริตนิสัยของคนนั้น

แนวทางการฝึกจิตเพื่อบรรลุธรรม

เมื่อพอจะรู้จักการฝึกสมาธิขั้นต้นแล้ว ให้มุ่งจิตเข้าสู่การพิจารณาธรรมะ
โดยการเริ่มที่ กรรมฐานห้า คือสิ่งที่เราเห็นภายนอก ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
แล้วเข้าสู่ภายในทั้งหมด ที่เรียกว่าอาการสามสิบสอง จะดูความไม่เที่ยง ดูความ
เป็นทุกข์ ดูการเกิดดับ หรือพิจารณาทางใดก็แล้วแต่จริตนิสัยของแต่ละคนว่า
ชอบพิจารณาด้านใด การพิจารณา ให้พิจารณาตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด
อยู่ที่ไหน กำลังทำอะไร แม้กระทั่งในขณะกิน หรือขับถ่าย ก็สามารถนำเอาสิ่งของ
รอบตัวมาประกอบการใช้ปัญญาพิจารณาได้ทั้งสิ้น เช่นในขณะขับถ่าย นั่นคืออาหารเก่า
ที่ร่างกายขับทิ้ง การกิน นั่นคืออาหารใหม่ที่เรากินเข้าไป พิจารณาให้รอบรู้ทุกๆด้าน
เมื่อจิตพิจารณาบ่อยเข้าๆ จิตก็จะคุ้นเคยและพิจารณาโดยไม่หยุด เมื่อถึงเวลาอัน
สมควรแก่จิต ก็จะเกิดอาการขึ้นทางจิต ทำให้เราสามารถเห็นความเป็นจริงของ
และการเปลี่ยนแปลงของสัตว์โลก จิตจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในจิต ส่วนอาการ
เกิดในขณะนั้นจะเป็นอย่างไร ก็แล้วแต่แต่ละคนอีกนั่นแหละ มันจะเกิดขึ้นเองในจิต
โดยที่เรามิได้เป็นผู้กำหนด และบางครั้ง เราก็กำหนดหรือบังคับไม่ได้ด้วย เพราะ
เป็นไปตามสภาวะของจิตในขณะนั้น

ไม่จำเป็นต้องลังเลสงสัย ว่าเราปฏิบัติถึงขั้นใด เพราะนั่นคือความลังเลสงสัย
จิตยังไม่ข้ามพ้นจากจิตปุถุชนธรรมดา เราจะถึงขั้นใด ก็ช่างมัน เรามุ่งหน้าตั้งตา
ปฏิบัติต่อไปโดยไม่ยอมหยุด ไม่ต้องตั้งความหวังว่าเราจะต้องสำเร็จโสดาบัน
หรือขั้นตอนใดหรือไม่ เรากินข้าวไปเรื่อยๆ แล้วเราก็อิ่มเอง เราปฏิบัติพิจารณา
ไปเรื่อยๆ เราก็สำเร็จเอง

เราต้องให้ครูบาอาจารย์รับรองหรือไม่ว่าเราสำเร็จธรรมขั้นใด.....
เราต้องให้ใครมารับรองไหมเมื่อเรากินข้าวอิ่มแล้ว....

ตัวเรารู้เอง เพียงแต่อย่าด่วนสรุปหลอกตัวเองว่าสำเร็จ จิตย่อมรู้ในจิต
รู้แล้วก็อยู่ในจิต ถ้าในตำราไม่เขียนขั้นตอนและตั้งชื่อของการสำเร็จเอาไว้
เราก็ไม่รู้ว่าเราสำเร็จขั้นไหน เพียงในจิตเรารู้ว่า จิตของเราสามารถละวาง
ในจิตได้หลายอย่าง ผิดจากคนทั่วไปอย่างชัดเจนเท่านั้น จิตจะไม่ตำหนิ
ติเตียนใคร แต่จิตจะเกิดความสงสาร ความเมตตาแก่เขาเหล่านนั้น

วัดจิตใจ

1. อยากได้สมบัติต่างๆไหม ยังอยากแสวงหามาและยังหวงแหนอยู่หรือไม่.
..สมบัติทางโลก ตายไปย่อมทิ้งไว้กับโลก ยังอยากแสวงหาพัดยศอยู่หรือไม่
อยากเป็นท่านเจ้าคุณไหม

2. ความโกรธ ความพยาบาทอาฆาต อารมณ์ฉุนเฉียว ความน้อยอกน้อยใจ
มีการทะเลาะเบาะแว้ง อาการเหล่านี้ เป็นอาการของจิตปุถุชน ไม่ใช่อาการ
ในจิตของผู้สำเร็จธรรม

3. พูดเสียดสี ความสะใจในความหายนะที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น สะใจ
เมื่อคนอื่นถูกตำหนิ การนินทาในทางเสื่อมเสีย

4. หวงและห่วงลูกสาว หวงและห่วงลูกชาย หวงและห่วงสามี ภรรยา
จิตยังไม่สามารถปล่อยวางจากวัฏฏะสงสารได้

5. สงสัยว่าตายแล้วเกิด หรือตายแล้วไม่เกิด ตายแล้วสูญ

6. คิดว่าตัวเองเก่งกว่าใครๆทั้งสิ้นทั้งทางธรรมและทางยศถาบรรดาศักดิ์
คิดว่าตัวเองเป็นพระย่อมเก่งกว่าโยม คิดว่าห่มผ้าเหลืองแล้วย่อมเหนือกว่าคนธรรมดา

เพียง 6 ข้อนี้ ก็จะสามารถวัดจิตใจ จะรู้ตัวเองว่า สามารถปฏิบัติธรรมได้ถึงไหนแล้ว

48: เปลี่ยนความเห็น


...หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ...
คำปรารภ

....หนังสือ เปลี่ยนความเห็น ที่ท่านจะได้อ่านต่อไปในขณะนี้ ข้าพเจ้าได้ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า เปลี่ยนความเห็น เพราะศาสนาพุทธเกิดขึ้นมาได้จากการเปลี่ยนความเห็นของพระพุทธเจ้า ที่ได้ค้นพบว่า โลกนี้ไม่น่าอยู่น่าอาศัยอย่างที่เข้าใจกัน มนุษย์และสัตว์โลกมีความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฏฐิเป็นพื้นฐาน พระองค์ได้ใช้ปัญญาพิจารณาสัจธรรมความเป็นจริง มีความเห็นชอบธรรมเป็นสัมมาทิฏฐิ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนแล้วตกอยู่ในกฎอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้เป็นเราและของเราอย่างแท้จริง

....การที่จะรู้เห็นความชอบธรรมได้นี้ ต้องรู้เห็นในสติปัญญาและรู้เห็นในเหตุในผลที่เป็นจริง สามารถแยกแยะว่าความเห็นอย่างไรผิด ความเห็นอย่างไรถูก ต้องตัดสินด้วยเหตุผลที่เป็นธัมมาธิปไตย จึงวางหลักสัมมาทิฏฐิเป็นแนวทางปฏิบัติ

....ในยุคนี้มีผู้สนใจและปฏิบัติธรรมกันมากมาย แต่แนวทางการสอนส่วนใหญ่ที่พากันปฏิบัติอยู่นั้นไม่ตรงกับหลักคำสอนในสมัยพุทธกาลเท่าไรนัก สอนกันแต่การทำสมาธิความสงบแล้วปัญญาจะเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติก็เชื่อตามตำรา คัมภีร์ หรือเชื่อตามครูอาจารย์แล้วปฏิบัติตาม เกิดเป็นวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ เป็นสายทางที่ผิดจากมรรคผล และผิดแนวทางของพระอริยเจ้าทั้งหลาย

....ขอให้นักปฏิบัติศึกษานิสัยของตนเองว่า เป็นกลุ่มปัญญาวิมุติ หรือ เจโตวิมุติ ซึ่งได้ชี้แจงไว้แล้วอย่างละเอียดและนำมาปฏิบัติให้เหมาะสมกับฐานะของตนเอง การปฏิบัติก็จะเป็นเรื่องที่ง่าย ปฏิบัติได้ผลจริง จะมีความเชื่อมั่น ว่าเรามีศรัทธาสัมปยุต เป็นความเชื่อที่มีเหตุผล ไม่ใช่พวกกาลามชนที่เชื่อไปตามตำราหรือคัมภีร์ หรือเชื่อถือเพียงว่าผู้นั้นเป็นครูอาจารย์ของเรา

....ขอให้ทุกท่านได้อ่านหนังสือเล่มนี้ และพิจารณาบ่อยๆ เพื่อเป็นอุบายในการแก้ปัญหาของตัวเองให้หมดไป และขอให้ทุกท่านจงมีความเจริญในทางธรรมตลอดไปชั่วกาลนาน จะได้ไม่ต้องเวียนเกิดตายในภพทั้งสามนี้อีกต่อไป


พระปัญญาพิศาลเถร
(พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโญ)

๑. เปลี่ยนความเห็น

....พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นในโลกก็เพราะ การเปลี่ยนความเห็นของเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร ในสมัยครั้งก่อนย้อนไปในอดีตชาติ พระองค์ได้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า นึกอยู่ในใจ ทั้งอุทานเสียง และรับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าทีปังกรมาแล้ว รวมทั้งในการบำเพ็ญบารมีมายาวนานถึง ๒๐ อสงไขย ในชาติสุดท้าย พระองค์ได้เกิดในตระกูลศากยวงศ์ที่กรุงกบิลพีสดุ์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายา บารมีที่พระองค์ได้บำเพ็ญมามีความสมบูรณ์อย่างเต็มที่ ในชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของการเวียนเกิดตายในภพทั้งสามอันยาวนาน

....หลายท่านได้อ่านประวัติของพระองค์มาแล้ว ที่พระองค์ได้ไปเห็นเทวทูตทั้ง ๔ เห็นคนแก่ เห็นคนเจ็บป่วยไข้ เห็นคนตาย และเห็นนักบวช เมื่อพระองค์เห็นแล้วจึงได้นำมาพิจารณาด้วยปัญญาของพระองค์ว่า มนุษย์ที่เกิดมา จะให้ชีวิตความเป็นอยู่คงที่ไม่ได้ ร่างกายทุกส่วนก็ต้องแก่ เจ็บ ตาย ไปตามธรรมชาติในตัวมันเอง ไม่ว่าผู้นั้นจะมีฐานะยากจนร่ำรวยอย่างไรไม่สำคัญ จะมีสมบัติมากมายมหาศาลก็ไม่ทำให้คนเป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดไปได้ ทุกคนเกิดมาแล้ว ก็อยู่กินกันไป มีชีวิตอยู่ได้ชั่วขณะแล้วก็ตายจากกันไป ไม่มีร่างกายส่วนใดเป็นสาระแก่นสารอะไร ถึงจะไม่ชอบใจก็ไม่สามารถที่จะฝืนในธรรมชาตินี้ไปได้ มนุษย์และสัตว์เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วต้องเป็นไปอย่างนี้ด้วยกัน

....เมื่อพระองค์ได้เห็นอย่างนี้ จึงได้น้อมเข้ามาหาพระองค์เอง ใช้ปัญญาพิจารณาทบทวนไปมาในชีวิตความเป็นอยู่ของพระองค์ มีความรู้เห็นอย่างชัดเจนว่าสภาพความเป็นอยู่จะต้องเป็นอย่างนี้ด้วยกัน ถึงพระองค์จะมีสมบัติมากมายมหาศาล มีพระราชวังได้อาศัยอยู่ทั้งสามฤดู สิ่งเหล่านี้จะห้ามความแก่เจ็บตายนี้ไม่ได้

....การใช้ปัญญาพิจารณาอยู่อย่างนี้บ่อยๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงความเห็นในพระองค์เอง เมื่อพระองค์ใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องความแก่ เจ็บ ตาย ก็มีความเข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากการเกิด ถ้าไม่เกิด ความแก่เจ็บตายก็ไม่มี พระองค์จึงได้บทสรุปแล้วว่า ความแก่เจ็บตายเป็นผลมาจากการเกิด

....จากนั้นพระองค์ก็ใช้ปัญญาพิจารณาความเกิดต่อไปว่า คนที่เกิดมีเหตุปัจจัยเป็นอย่างไร และสิ่งใดทำให้คนมาเกิด พระองค์ใช้ปัญญาพิจารณาอย่างหนัก ยืน เดิน นั่ง นอน ใช้ปัญญาพิจารณาคิดหาในเหตุที่ทำให้คนเกิด อยู่ตลอดเวลา คิดพิจารณาเท่าไรก็ไม่รู้เห็นในเหตุปัจจัยที่ทำให้คนมาเกิดได้ ในที่สุดพระองค์ก็นึกขึ้นได้จุดหนึ่งว่า ที่ผ่านมาพระองค์ได้เห็นนักบวชนั่งขัดสมาธิ มีกิริยาอยู่ด้วยความสงบ ถ้าเราได้ออกบวชบำเพ็ญอย่างนั้น จะมีโอกาสใช้ปัญญาพิจารณาคิดหาสาเหตุที่ทำให้คนมาเกิดได้ นี้เรียกว่า เปลี่ยนความเห็นด้วยปัญญา

....ต่อจากนั้นพระองค์ก็ใช้ปัญญาพิจารณาวางแผนว่า จะออกบวชได้ด้วยวิธีใด จะไปลาพระราชบิดาทรงอนุญาตนั้นเป็นไปไม่ได้ จะให้พระนางยโสธราพิมพารับรู้ก็ไม่ได้เช่นกัน ในช่วงนั้นรพะองค์ใช้ปัญญาพิจารณาอย่างแยบยล จะไม่ให้คนใดคนหนึ่งรู้ เว้นเฉพาะนายฉันนะคนเดียวเท่านั้น

....นี้คือใช้ปัญญาพิจารณาเปลี่ยนความเห็นได้อย่างเด็ดขาดว่า ชีวิตของฆราวาสจะได้สิ้นสุดลง ไม่หวนกลับคืนมาสู่ราชวังอีก ชีวิตที่อยู่ในสถานที่มีความสุขสะดวกสบายในทุกๆด้านนั้นจะได้อยู่เป็นครั้งสุดท้าย การใช้ชีวิตอยู่ภายนอกจะเป็นอย่างไรนั้น พระองค์ไม่มีความกังวล เมื่อคนอื่นเขาอยู่กันได้เราก็ต้องอยู่ได้ ธาตุขันธ์เขาและธาตุขันธ์เราเหมือนกันอยู่แล้ว อาหารการกินคนอื่นกินกันอย่างไร เราก็กินอย่างนั้น พระองค์ก็รู้อยู่ว่าความเป็นอยู่ในการกินหลับนอนจะไม่เหมือนอยู่ในพระราชวัง สิ่งเหล่านี้ไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นคือ ต้องการหาเหตุปัจจัยที่ทำให้คนมาเกิดนั้นเอง

....นี้เป็นเหตุที่พระองค์ได้ออกบวชก็เพราะอยากรู้อยากเห็นในเหตุที่ทำให้คนมาเกิด ในที่สุดพระองค์ก็ได้ออกบวชตามแผนที่วางไว้แล้ว ดังนั้นการเปลี่ยนความเห็นต้องใช้ปัญญามาพิจารณาว่า ความเห็นอย่างไรผิด ความเห็นอย่างไรถูก ต้องตัดสินด้วยเหตุผลที่เป็นธัมมาธิปไตยเท่านั้นจึงจะถูกต้องเป็นธรรมได้
....................................................................



๒. ปัญญาไม่เกิดจากการทำสมาธิความสงบ

....เมื่อพระองค์ออกบวชแล้ว ก็ได้ไปปฏิบัติอยู่กับดาบสทั้งสอง คิดว่าเป็นแนวทางที่จะรู้เห็นเหตุที่ทำให้คนเกิดมาได้ ดาบสทั้งสองก็สอนวิธีปฏิบัติที่เป็นแนวทางการทำสมาธิจิต มีความสงบเป็นฌาณนั้นฌาณนี้ จนได้ถึงขั้นอรูปฌาณอันสูงสุดในวิธีทำสมาธิความสงบน้นๆ ช่วงเวลาที่จิตมีความสงบในสมาธิอยู่ ก็มีความสุขใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อจิตถอนออกมาจากสมาธิความสงบแล้วความสุขก็เสื่อมไป เป็นอยู่อย่างนี้หลายครั้งหลายหนก็จะเป็นอยู่ในลักษณะนี้ ความเข้าใจเดิมที่ว่า สมาธิจะทำให้เกิดความรู้สาเหตุที่ทำให้คนมาเกิดตรงกันข้าม กลับไม่รู้สาเหตุที่ทำให้คนมาเกิดได้เลย

....พระองค์จึงได้เปลี่ยนความเห็นเสียใหม่ ในวิธีการปฏิบัติอย่างนี้ไม่เป็นไปเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงได้ ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ไม่เป็นไปในวิมุติ มรรค ผล นิพพาน ไม่เป็นไปในแนวทางที่ทำให้เกิดปัญญา ที่จะนำมาแก้ปัญหาให้หมดสิ้นไปจากใจได้ พระองค์จึงได้ดำริว่า แนวทางการปฏิบัติอย่างนี้มิใช่แนวทางที่ถูกต้อง พระองค์จึงได้ลาดาบสทั้งสองนั้นหนีไปเสีย

....เมื่อพวกเราได้อ่านถึงจุดนี้ จะมีความเห็นที่ขัดแย้งอยู่ว่า แต่ก่อนเราเคยได้ยินครูบาอาจารย์ที่สอนว่า เมื่อทำสมาธิจิตมีความสงบแล้วจะเกิดปัญญาขึ้น ความเห็นอย่างนี้ขัดกันกับที่พระองค์ได้ปฏิบัติมาก่อนมิใช่หรือ

....พวกเราควรศึกษาให้ดี อ่านประวัติของพระพุทธองค์ไว้บ้าง จะได้ไม่งมงายในการปฏิบัติตามผู้สอนอีกต่อไป ให้เปลี่ยนความเห็นเสียใหม่ ความเข้าใจว่าทำสมาธิจิตมีความสงบดีแล้วจะเกิดปัญญาขึ้นนั้นไม่เป็นความจริง แม้ดาบสทั้งสองทำสมาธิจิตมีความสงบ นับจากวันนั้นจนถึงวันตาย ปัญญาก็ไม่ได้เกิดขึ้นแต่อย่างใด พวกเราทำสมาธิแบบไหน จะยิ่งกว่าวิธีทำสมาธิของพระพุทธองค์อย่างนั้นหรือ ฟังไม่ขึ้นที่สอนกันอย่างนี้และปฏิบัติอย่างนี้

....ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อพระองค์มาทำสมาธิ ให้จิตมีความสงบจนถึงที่สุดแล้วก็ไม่มีปัญญาเกิดขึ้นแต่อย่างใด ความเห็นความเข้าใจที่ว่าจิตมีความสงบในสมาธิดีแล้วจะเกิดปัญญาขึ้นนั้น ให้เปลี่ยนความเห็นเสียใหม่ หรือครูอาจารย์องค์ใดที่สอนผู้อื่นอย่างนี้ก็ให้ไปศึกษาประวัติของพระพุทธเจ้าเสียใหม่ ตีความในคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจ มิใช่ว่าสอนไปตามความเข้าใจของตัวเองเป็นอย่างเดียว ให้ดูเหตุผลในสมัยที่พระพุทธองค์ได้ปฏิบัติอยู่กับดาบสทั้งสองดูบ้าง จะมีความแตกต่างจากที่พวกเราพากันปฏิบัติอยู่ในยุคปัจจุบันนี้เป็นอย่างมากทีเดียว ก็น่าเห็นใจในหมู่นักปฏิบัติที่ขาดการศึกษา ที่มีความเชื่อในครูอาจารย์ที่สอนเพียงอย่างเดียว ถ้าครูอาจารย์สอนผิด เราก็มีความเห็นผิดเข้าใจผิดตามครูอาจารย์ไปด้วย.
................................................................

๓. ปัญญาเกิดจากการพิจารณาอุบายธรรม


....ในจุดสำคัญที่พระพุทธองค์เสี่ยงถาดทองคำ ให้ศึกษาย้อนหลังดูประวัติที่พระองค์ปฏิบัติมานาน ๕ ปีกว่า พระองค์ได้ปฏิบัติลองผิดลองถูกมาหลายวิธีด้วยกัน พระองค์ยังเป็นปุถุชน กำลังแสวงหาช่องทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ทำทุกวิถีทางที่คิดว่าจะให้กิเลสตัณหาอาสวะหมดไปจากใจ แต่ก็ไม่ได้ผล จนมาถึงการเสี่ยงถาดทองคำที่แม่น้ำเนรัญชรา ที่แห่งนี้เป็นสถานที่เปลี่ยนความเห็นของพระองค์เป็นครั้งสุดท้าย ในตำรากล่าวว่า ก่อนปล่อยถาดทองคำ พระองค์มีคำอธิษฐานว่า ถ้าเราจะได้ตรัวรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาตินี้ ขอให้ถาดไหลทวนกระแสน้ำขึ้นไป เมื่อวางมือ ถาดทองคำก็ทวนกระแสน้ำขึ้นไปทันที จึงทำให้พระองค์มีความมั่นใจว่า ในชาตินี้เราจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน จะสำเร็จด้วยวิธีใดให้ผู้อ่านใช้ปัญญาศึกษาให้ดี เพราะในช่วงนี้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ นั่นคือ พระองค์จะเปลี่ยนแปลงความเห็นเป็นครั้งสุดท้าย เปลี่ยนจากตวามเห็นผิดมาเป็นความเห็นถูกตรงเสี่ยงถาดทองคำนี้เอง

....พระองค์จึงประกาศได้อย่างเต็มตัวว่า แนวทางการปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อความบริสุทธื? ที่จะให้ถึงซึ่งวิมุตินิพพาน พระองค์ได้ค้นพบแนวทางนี้ด้วยพระองค์เองไม่มีใครเป็นครูอาจารย์อบรมสั่งสอน ให้ผู้อ่านใช้ปัญญาพิจารณาให้ดี จะไม่เหมือนทำสมาธิความสงบที่ครูอาจารย์แนะนำสั่งสอน การใช้ปัญญาเป็นวิธีที่โดดเด่นเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรมตามหลักความเป็นจริง สิ่งที่ปิดบังว่าอะไรทำให้คนเกิด พระองค์จะรู้เห็นด้วยปัญญาที่แจ่มแจ้งชัดเจนในสัจธรรมก็ในช่วงนี้นี่เอง

....เมื่อ พระองค์เห็นถาดทองคำไหลทวนกระแสน้ำขึ้นไป พระองค์จึงเอามาเป็นอุบายในการพิจารณาด้วยปัญญา นำเอาถาดทองคำมาคิดเปรียบเทียบกับใจพระองค์เอง เป็นครั้งแรกที่บวชมา ๕ ปีกว่า ไม่เคย ใช้ปัญญาพิจารณาน้อมเอาสิ่งใดๆเข้ามาเปรียบเทียบกับจิต เป็นครั้งแรกของชีวิต ที่พระองค์ได้คิดด้วยปัญญาในลักษณะนี้


พระองค์พิจารณาว่า ถาดทองคำที่ไหลทวนกระแสน้ำขึ้นไป เหมือนใจที่พ้นแล้วจากกิเลสตัณหา จะไม่มาเกิดตายในภพทั้งสามนี้อีก จุดที่สำคัญคือพระองค์ใช้

ปัญญาพิจารณาย้อนศร หมายถึงพระองค์ใช้ปัญญาพิจารณากลับกัน โดยใช้คำเปรียบเทียบแล้วพิจารณาจากใจว่า ถ้าถาดทองคำไหลไปตามกระแสน้ำจะไปตกในที่
ไหน ถาดทองคำก็จะไหลลงสู่มหาสมุทร แล้วไหลวนเวียนไปมาอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทรนั้นอย่างหาทางจบสิ้นไม่ได้ คลื่นมหาสมุทรซัดทอดไปไหน ถาดทองคำ
ก็ไหลไปตามกระแสน้ำในมหาสมุทรฉันใด ใจเมื่อถูกกิเลสตัณหาครอบงำให้มืดมิดปิดตัวแล้ว ก็จะเป็นไปตามทางของกิเลสตัณหาโดยไม่รู้ตัวฉันนั้น

นี้เองหนอใจที่ได้มาเกิดในภพทั้งสามนี้บ่อยๆก็เพราะใจมีโมหะอวิชชาปิดบัง ในครั้งที่พระองค์ยังไม่ได้บวช ก็ได้ใช้ปัญญาคิดพิจารณาคิดหาในสิ่งที่ทำให้คนเกิดมาก่อนแล้ว พิจารณาอย่างไรก็ไม่รู้
ว่าเป็นด้วยเหตุอันใด ในบัดนี้พระองค์รู้แล้วว่าเป็นเพราะเหตุอย่างนี้ จึงได้ประกาศขึ้นในใจว่า แนวทางการปฏิบัติที่จะให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์นั้นเรารู้แล้วด้วยญาณของ
ตัวเอง ไม่มีใครเป็นครูอาจารย์อบรมสั่งสอน แนวทางการปฏิบัติที่ผิดพระองค์ก็รู้ แนวทางปฏิบัติที่ถูกพระองค์ก็รู้ ไม่มีความสงสัยในอุบายการปฏิบัติธรรมแต่อย่าง
ใด แต่ก่อนพระองค์ได้หลงทิศทางในการปฏิบัติมา ๕ ปีกว่า ทำสมาธิความสงบมาตลอด ไม่เคยได้คิดด้วยปัญญาพิจารณาในสิ่งใดๆ ใจจึงถูกอวิชชาตัณหาปิดบัง
ไม่รู้เห็นความจริง จึงทำให้ใจต้องมาเกิดใหม่


บัดนี้ ญาณทรรศนะได้เกิดขึ้นแล้ว จึงเป็นโลกวิทู รู้แจ้งในภพทั้งสาม อวิชชาตัณหาที่เคยปิดบังใจมาก่อน ก็ได้เปิดเผย ความสว่างกำจัดความมืดได้ฉันใด

ใจที่มีปัญญาญาณก็ได้กำจัดตัวอวิชชาตัณหาให้หมดไปฉันนั้น ยิ่งพระองค์ใช้ปัญญาพิจารณาในหลักสัจจธรรมมากเท่าใร ความเข้าใจในหลักสัจจธรรมนั้น

ย่อมรู้เห็นที่เป็นจริงมากขึ้นเมื่อมีความรู้จริงเห็นจริงในสัจธรรม ใจก็ปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ นี้คือใจได้ละในความหลงผิดเอง

พระองค์คิดค้นในหลักปฏิบัติด้วยตนเอง เรียกว่าหลักสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรมได้แล้ว จึงเรียกว่า ปัญญาได้เกิดแล้ว สัมมาสังกัปโป

ความเห็นชอบ การดำริชอบ ทั้งสองหลักนี้พระองค์ได้นำมาเป็นอุบายในทางการปฏิบัติต่อเนื่องกันในสมัยครั้งนั้น ให้เราศึกษาดูให้ดี

มิใช่ว่านั่งสมาธิจิตมีความสงบแล้วจะเกิดปัญญาขึ้นตามที่เราเข้าใจ.

....................................................

๔. อาสาวักขยญาณ

....หลังจากที่พระองค์ได้ข้ามแม่น้ำเนรัญชรามาอีกฝั่งหนึ่ง ได้เห็นพราหมณ์แบกหญ้ามา แล้วถวายแก่พระองค์ พระองค์จึงเอาหญ้าคานั้น ปูลาดใต้ต้นโพธิ์ที่มีอายุ ๓๕ ปี แล้วพระองค์ก็ได้ประทับนั่งในที่นั้นด้วยพลังใจที่กล้าหาญ ในขณะนั้น อาสวักขยญาณได้เกิดขึ้น พระองค์ก็รู้ว่า จะสิ้นอาสวะในชั่วจริมกจิต พระองค์จึงใช้อุบายสำทับด้วยความกล้าหาญว่า

"เราจะนั่งอยู่ในที่แห่งนี้
จนกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ถ้ายังไม่ได้ตรัสรู้จะนั่งในที่แห่งนี้ตลอดไป
เนื้อ หนัง มังสัง เส้นเอ็น
จะผุพังย่อยยับไปก็ตามที
ถ้าไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
จะนั่งอยู่ในที่แห่งนี้ตลอดไป"

....พระองค์ได้ตั้งสัจจะอธิษฐานอย่างเด็ดเดี่ยวกล้าหาญนี้ เพราะอาสวักขยญาณได้เกิดขึ้นแก่พระองค์แล้ว อุบายสำทับที่ว่านั้น ไม่ใช่เป็นวิธีที่จะทำให้ตรัสรู้แต่อย่างใด แม้อาสวักขยญาณก็ไม่ใช่ญาณให้ตรัสรู้เช่นกัน อาสวักขยญาณเป็นญาณที่รู้ว่าอาสาวะจะสิ้นไปเท่านั้น ชาวพุทธทั้งหลายส่วนใหญ่ได้หมายไปว่า อาสวักขยญาณที่เกิดขึ้นเพื่อละอาสวะกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจ ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าไม่ใช่อยู่นั่นเอง เหมือนกับผู้เดินทางเพื่อจะให้ถึงจุดหมายปลายทาง โดยเป็นเส้นทางที่ไม่เคยเดินมาก่อน ในหลักชัยจุดสุดท้ายเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้ เส้นทางกำลังเดินไปมีความมั่นใจว่าเป็นเส้นทางที่ตรงต่อหลักชัยแน่นอน

....เริ่มต้นออกเดินทาง กำลังเดินทางอยู่ ก้าวสุดท้ายที่ถึงหลักชัยก็รู้ว่าถึงหลักชัยแล้วไม่ต้องพูดถึงเรื่องเดินทางอีก นี้ฉันใด อาสวักขยญารที่เกิดขึ้นก็ฉันนั้น ธรรมะหมวดใดที่ถูกต้องกับจริตนิสัยของตัวเองก็ได้ปฏิบัติไปแล้ว เริ่มต้นจากปฐมปฏิบัติ เชื่อมโยงต่อมัชฌิมปฏบัติ สุดท้ายก็เข้าสู่ปัจฉิมปฏิบัติจึงเป็นที่สิ้นสุด และรู้ว่าการปฏิบัติได้ถึงที่สุดแล้วอย่างสมบูรณ์ อาสวักขยญาณก็ฉันนั้น เพราะญาณนี้เป็นเพียงรู้ว่าอาสวะจะสิ้นไปเท่านั้น ไม่ได้ทำให้กิเลส ตัณหาอาสวะหมดไปจากใจแต่อย่างใด ในตำราที่แปลในความหมายของอาสวักขยญาณว่า รู้จักทำให้อาสวะได้หมดไปจากใจ ในการแปลอย่างนี้จึงไม่ตรงต่อความหมายเท่าใรนัก เพราะ ปฏิบัติมาถึงจุดสุดท้ายแล้วไม่ต้องทำอะไรอีก คอยรับผลของปฏิเวธในชั่วจริมกจิตนี้เท่านั้น

....หากจะเปรียบเทียบกับการรับประทานอาหารเพื่อให้มีความอิ่ม ก่อนจะเกิดความอิ่มได้ ต้องมีขั้นตอนมาจากจุดเริ่มต้น นั้นคือแสวงหาอาหารที่เป็นวัตถุดิบที่ต้องการ ที่เข้ากันได้กับธาตุขันธ์ของตัวเอง และจัดทำอาหารในสูตรที่เราต้องการ เพื่อความอร่อย รับประทานอาหารที่เราทำเสร็จแล้ว ในขณะที่รับประทาน อาหารมีรสชาติเป็นอย่างไรก็รู้ รับประทานไปเรื่อยๆตามธาตุขันธ์มีความต้องการ ในสุดท้ายจะรู้ตัวว่าอิ่มนี้ฉันใด อาสวักขยญาณรู้ว่าวะจะสิ้นไปก็ฉันนั้น เป็นเพียงรู้ว่าอาสวะจะสิ้นไปเท่านั้น ในอีกไม่กี่นาทีอาสวะก็ได้สิ้นสุดลง ก็รู้ว่าอาสวะได้ดับสิ้นสูญไปในขณะนั้น จึงเป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตัว

....อีกจุดหนึ่ง ในตำราได้อธิบายเอาไว้ในเรื่องการตรัสรู้พุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือนหก พระองค์ประทับนั่งที่ใต้ต้นโพธิ์เรื่มต้นจากปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยามไปตามลำดับ เกิดญาณขึ้น คือ

....๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นญาณหยั่งรู้ในชาติหนหลังที่ผ่านมาว่าเกิดเป็นอะไรบ้าง

....๒. จุตูปปาตญาณ เป็นญาณที่รู้ในจิตที่ได้ออกจากร่างกายไปแล้วว่าได้ไปรับผลอะไร เป็นผลดีผลชั่วจากกรรมดีกรรมชั่วที่ได้ทำมาแล้ว เมื่อสิ้นจากกรรมนี้แล้วได้ไปรับผลกรรมอย่างอื่นหรือได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก

....๓. อาสวักขยญาณ เป็นญาณที่รู้ว่าอาสวะจะสิ้นไป

....ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ ทั้งสองนี้ ไม่ควรนำมารวมอยู่ในคืนที่สำคัญอย่างนี้ เพราะญาณทั้งสองนี้ พระองค์ได้รู้เห็นมาก่อนแล้ว เป็นขั้นโลกียฌาณ เป็นญาณรู้อยู่ในขั้นโลกียวิสัย ในคืนวันเพ็ญเดือนหกเป็นวันตัดสินชี้ขาดที่จะพ้นจากกระแสโลกให้ขาดจากกัน ในคืนนั้นต้องมีเพียง อาสวักขยญาณ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะ เป็นญาณที่รู้ว่าอาสวะจะสิ้นไปจากใจอย่างหมดสิ้นที่เรียกว่า นิพพาน หมายถึงกิเลสตัณหาอาสวะน้อยใหญ่ได้สิ้นสูญไปจากใจ จึงเรียกว่า นิพพานัง ปะระมัง สุญญัง
กิเลสอาสวะได้สูญสิ้นไปจากใจนั่นเอง หรือนิพพานแปลว่า ความดับอันสนิทของเชื้อที่ทำให้เกิดในภพชาติต่างๆ เปรียบได้กับถ่านไฟที่แดงฉานจุ่มลงในน้ำ เชื้อของไฟได้ดับไปแล้วฉันใด กิเลสตัณหาอาสวะดับไปจากใจฉันนั้น ที่มีหลักฐานยืนยันพอเชื่อถือได้ในคำอธิษฐานสำทับของพระองค์ว่า จะนั่งอยู่ในที่แห่งนี้จนกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ก็รู้อยู่แล้วว่า อาสวะจะสิ้นไปในชั่วจริยมกจิตนี้ จึงไม่ควรที่จะเอาญาณทั้งสองไปรวมอยู่ในคืนที่สำคัญอย่างนี้เลย

....อาสวักขยญาณได้เกิดขึ้นกับพระองค์แล้ว ตำราไม่ควรกล่าวถึงญาณอื่นเข้าไปเกี่ยวข้องอีก ไม่ควรที่จะไปเล่นในญาณอื่นที่เป็นฝ่ายโลกีย์อีก ไม่ได้ทำในอุบายการปฏิบัติอย่างอื่นเพื่อให้พ้นจากการเกิดในโลกนี้แต่อย่างใด ที่แปลไว้ในตำราว่า อาสวักขยญาณ เป็นญาณที่ทำให้อาสวะได้สิ้นไป ความเป็นจริงแล้วพระองค์ไม่ต้องทำอะไร และไม่ต้องปฏิบัติในอุบายธรรมอะไรทั้งสิ้น ผู้ที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ จะรู้ลักษณะการได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์นี้ดี ว่าเป็นลักษณะใด

อาสาวักขยญาณจะเกิดขึ้นได้ในสามบุคคล คือ

....๑. ผู้จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

....๒. ผู้จะตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

....๓. ผู้จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้า

เท่านั้น


....ส่วนผู้ที่ได้บรรลุรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นต่ำลงมา เช่น พระอนาคามี พระสกิทาคามี พระโสดาบัน พระอริยเจ้าสามจำพวกนี้จะไม่มีอาสวักขยญาณเกิดขึ้นแต่อย่างใด และอัฐิที่ถูกเผาแล้วก็ไม่ได้แตกกระจายออกมาเป็นองค์เล็กองค์ใหญ่เหมือนผู้ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

....มีหลายท่านที่พูดว่า อัฐิจะกลายเป็นพระธาตุได้ ด้วยคำอธิษฐานนั้น ข้าพเจ้าขอปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง เพราะพระอรหันตธาตุจะเกิดขึ้นได้เฉพาะผู้มัอาสวักขยญาณที่เป็นพระอรหันต์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น นี้เป็นสัญญลักษณ์เฉพาะผู้ที่สิ้นจากอาสวระกิเลส จบสิ้นภพชาติแล้วเท่านั้น

....การตีความหมาย ทุกคนมีสิทธิ์ตีความได้ทั้งนั้น แต่ใครจะตีความหมายได้ถูกต้องกว่ากัน ขอให้ท่านศึกษาดูเหตุผล จะเข้าใจในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

....ผู้จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์สาวก เมื่ออาสวักขยญาณได้เกิดขึ้นแล้ว จะรู้ว่าอาสวะจะสิ้นไปเหมือนกัน และเกิดขึ้นได้กับทุกอิริยาบถ ในอิริยาบถยืน ในอิริยาบถเดิน ในอิริยาบถน่ง ในอิริยาบถนอน หรือครึ่งนั่งครึ่งนอนเหมือนพระอานนท์ก็เกิดอาสวักขยญาณขึ้นได้ พระอรหันต์ทั้ง ๔ ประเภท อันได้แก่ สุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต นี้คือชื่อเรียกไปตามนิสัยวาสนาของแต่ละท่านที่มีความสามารถเฉพาะตัวเท่านั้น ข้อสำคัญคือ ทุกท่านมีอาสวักขยญาณ รู้ว่าอาสวะจะสิ้นไปเหมือนกัน

....เมื่อรู้ว่าอาสวะจะสิ้นไปอย่างนี้ จะนึกในใจสำทับเหมือนพระพุทธเจ้าหรือไม่ก็ได้ ถึงอย่างไรก็จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันตขีณาสพในชั่วขณะนี้อยู่แล้ว แต่ไม่ควรที่จะกล่าวสำทับเลียนแบบตามพระพุทธเจ้า เป็นในลักษณะตีตัวเสมอท่าน หรือจะกล่าวคำสำทับเหมือนพระพุทธเจ้าก็อาจทำได้ แต่ก็ไม่เหมาะสมที่จะไปกล่าวเช่นนั้น

....การได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในสมัยครั้งพุทธกาล กับผู้ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในยุคสมัยปัจจุบัน จะมีในลักษณะเหมือนกัน นั้นคือความบริสุทธิ์ที่เรียกว่า ปาริสุทธิธรรม พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย มีจิตอันบริสุทธิ์เสมอภาคกัน ในยุคนี้ มีผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้ได้เข้าถึงจุดนี้ มีอยู่มาก เพราะทำสมาธิ ทำให้จิตเกิดความว่างเปล่า ไม่มีอารมณ์แห่งความรักความชัง ก็เอาความว่างที่เกิดจากการทำสมาธิมาตีความเอาเองว่า จิตได้เข้าถึงพระนิพพานแล้ว จึงเกิดความเข้าใจไปว่า ตัวเองได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานแล้ว จึงได้เกิดพระอรหันต์ปลอมขึ้นในยุคปัจจุบันนี้อยู่มากทีเดียว

...........................................................................

๕. การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

........เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ได้เสวยวิมุติสุขในสถานที่เจ็ดแห่งๆละเจ็ดวัน รวม ๔๙ วัน อันดับแรกพระพุทธเจ้านึกถึงดาบสทั้งสอง พระองค์มีญาณหยั่งรู้ว่าดาบสทั้งสองได้มรณภาพไปแล้วก่อนตรัสรู้เจ็ดวัน พระองค์ได้ดำริในใจว่า หากครูทั้งสองได้ฟังธรรมจากเราแล้ว ก็จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เข้าสู่พระนิพพานในชาตินี้ น่าเสียดายที่ครูทั้งสองได้ไปหลงติดอยู่ในสมาธิความสงบและหลงอยู่ในอรูปฌาณจนลืมตัว หาทางออกไม่ได้ ขณะนี้ได้ไปจุติในภพของอรูปพรหมที่ยาวนาน เมื่อศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรย์ได้อุบัติขึ้นในโลก ครูทั้งสองก็ยังไม่ได้ลงมาเกิดในโลกมนุษย์นี้เลย

....จากนั้นพระองค์ก็ได้ดำริถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ผู้ที่ได้เคยอุปการะกันมาในสมัยครั้งที่อยู่เทือกเขาดงคศิริ ขณะนั้นปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงราชคฤห์ พระองค์จึงได้เสด็จไปโปรดจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วยกันทั้ง ๕ องค์ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ ได้เกิดขึ้นในโลกนี้แล้วอย่างสมบูรณ์

....ในปีนี้พระพุทธเจ้าได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น (ปัจจุบันชื่อว่าสารนาท) ในพรรษานี้พระองค์ได้แสดงธรรมโปรดพระยสะและหมู่คณะ จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และได้แสดงธรรมโปรดบิดามารดาของพระยสะจนได้สำเร็จเป็นพระอริยะโสดาบัน นับเป็นฆราวาสคนแรกที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าก่อนใครๆในโลก ให้เราได้ศึกษาประวัติพ่อแม่ของพระยสะดูบ้าง จะเข้าใจในวิธีปฏิบัติของท่านทั้งสอง เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างแก่เรา

....หลังจากออกพรรษาแล้ว พระองค์ได้ไปแสดงธรรมโปรดหมู่ภัททวัคคีย์ ๓๐ คน จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จากนั้นพระองค์ได้ไปแสดงธรรมโปรดหมู่ชฎิล ๓ พี่น้อง พร้อมด้วยบริวารหนึ่งพันคนก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วยเช่นกัน การเปลี่ยนความเห็นผิดให้กลับมาเป็นความเห็นถูก จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ถ้ายังมีความเห็นผิดภายในใจอยู่ จะไม่เป็นไปในทางมรรค ผล นิพพานได้เลย

....พระพุทธองค์จึงได้ให้ความสำคัญในสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นจุดเริ่มต้น เพราะทุกคนมีความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดต่อหลักความจริงมานาน การทำสมาธิจะมีความสงบถึงขั้นไหนก็ตาม จะไปลบล้างความเห็นผิดภายในใจไม่ได้ หนำซ้ำ กำลังใจที่เกิดจากสมาธิจะไปบวกกับมิจฉาทิฏฐิ ก็ยิ่งเพิ่มความเห็นผิดมากขึ้น ผู้ปฏิบัติจะเข้าใจไปเองว่าตัวเองปฏบัติถูกทางแล้ว ถ้ามีครูอาจารย์ที่เราเคารพเชื่อถือมารับรอง ก็ยิ่งเกิดความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ในยุคปัจจุบันจึงยากที่จะแก้ไขให้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องได้

....ในสมัยครั้งพุทธกาล มีผู้ได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าเป็นจำนวนมาก ก็เพราะพระพุทธเจ้าให้อุบายเปลี่ยนความเห็นผิด กลับเป็นความเห็นถูกได้ แล้วจึงได้ให้หมวดธรรมอื่นต่อไป เหมือนกับภาชนะที่ปนเปื้อนด้วยยาพิษ ต้องล้างยาพิษให้หมดจดจากภาชนะจนมีความสะอาดดีแล้วจึงใส่อาหารลงในภาชนะภายหลังนี้ฉันใด การปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้น ถ้าใจมีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรมแล้ว การปฏิบัติธรรมจะไม่มีปัญหาและง่ายต่อการปฏิบัติ ไม่ติดขัดในความสงสัยแต่อย่างใด

....พระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ มีความถูกต้องชอบธรรมแล้ว ในยุคนี้ มีผู้ตีความไม่ตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เอาความเห็นของตัวเองเขียนแทรกเข้าไป แล้วเขียนกำกับไว้ว่าเป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อคนยุคใหม่ได้อ่านก็จะมีความเข้าใจไปตามนั้น แล้วนำมาสอนคนอื่นต่อๆกันไป หลายครูอาจารย์ได้ตีความหมายในธรรมที่แตกต่างกันไป แต่ละครูอาจารย์ก็เอาความเห็นของตัวเองเขียนลงไป คนยุคใหม่ได้อ่านก็จะเกิดความสับสน ไม่ทราบว่าตำราของครูอาจารย์ไหนผิด คำสอนของครูอาจารย์ไหนถูก ถ้ามีความเคารพเชื่อถือต่อครูอาจารย์ใดเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ก็จะเชื่อในคำสอนของครูอาจารย์ของตัวเองอย่างฝังใจ และยอมรับเอาหมวดธรรมจากอาจารย์อย่างเต็มที่

....ถ้าครูอาจารย์องค์ใดเขียนธรรมไว้แล้วอย่างถูกต้อง แต่ไม่มีผู้เคารพเชื่อถือ ธรรมะที่เขียนถูกต้องนั้นก็ไม่อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้นั้นได้ ทั้งพระและฆราวาสเอง ถ้ามีการศึกษาน้อยและไม่มีปัญญารอบรู้ในเหตุผล ก็ไม่สามารถแยกแยะในความหมายของธรรมได้ ถึงจะมีความรู้ก็รู้ไปตามตำราที่จดจำมา ถ้าตำราเขียนมาถูกก็มีความรู้และความเห็นถูกไปด้วย ถ้าตำราเขียนมาผิดก็มีความรู้และความเห็นผิดไปด้วยเช่นกัน ถ้าเอาตำราที่ผิดไปสอนผู้อื่นก็มีความรู้ผิดแลพความเห็นผิดไปด้วย เรียกว่ามีความเห็นผิดในภาคปริยัติ เมื่อนำมาปฏิบัติก็จะเกิดผลในทางที่ผิดเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติอยู่ก็ไม่รู้ว่าเป็นวิธีที่ผิด และคิดว่าตัวเองปฏิบัติถูกอยู่นั่นเอง

....ในยุคนี้สมัยนี้จึงยากที่จะให้ทุกคนมีความเห็นที่ถูกต้องเหมือนกันได้ ก็เพราะการได้รับการศึกษาในหมวดธรรมมาไม่เหมือนกัน แต่ละครูอาจารย์ก็อ้างอิงไปว่าเป็นธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยกันทั้งนั้น และครูอาจารย์ผู้สอนก็มีเจตนาดัเช่นกัน จุดหมายก็เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าถึงซึ่งพระธรรม ตั้งความหวังว่าจะปฏิบัติให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพพานด้วยกัน

....หากย้อนหลังไปดูสมัยพุทธกาล อ่านประวัติของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ที่เป็นพระอริยเจ้าฝ่ายบรรพชิตและพระอริยเจ้าฝ่ายฆราวาส แต่ละท่านมีการปฏิบัติอย่างไรจึงได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าได้ พวกเราในยุคนี้ปฏิบัติกันอย่างไรจึงยากที่จะรู้เห็นในธรรม แล้วนำมาเปรียบเทียบกันดู ก็จะรู้ในความแตกต่างกันได้อย่างชัดเจน ท่านได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามา ข้าพเจ้าก็ได้ศึกษาในหมวดธรรมมาเช่นกัน แต่ละท่านก็ตีความหมายในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามา ใครมีความเห็นเป็นอย่างไรก็นำไปสอนผู้อื่นอย่างนั้น และเขียนเป็นคำสอนออกมาให้คนอื่นได้ศึกษาต่อไป ไม่มีใครว่าตัวเองสอนผิดและเขียนหนังสือธรรมะผิดแต่อย่างใด มิหนำซ้ำยังยกตัวข่มท่าน ไปโทษว่าผู้อื่นสอนธรรมะผิดและเขียนธรรมะผิดเรื่อยไป เราเป็นผู้สอนธรรมะถูกหรือเขียนหนังสือธรรมะถูกแต่ฝ่ายเดียว นี้เองจึงได้เกิดเป็นสายนั้นเกิดเป็นสายนี้มาดังที่รู้กันอยู่ในปัจจุบัน ในสมัยครั้งพุทธกาล พุทธบริษัทได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า หรือได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้าทั้งหลายมาไม่มีปัญหาอะไร เพราะผู้สอนธรรมะได้สอนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผู้ฟังก็ได้รับฟังในธรรมที่มีเหตุผลอย่างเดียวกัน

....ผู้ที่ได้ฟังธรรมในสมัยครั้งพุทธกาลฟังกันอย่างมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา พิจารณาแยกแยะในเหตุผลจนเข้าใจ ได้นำเอาธรรมหมวดนั้นมาปฏิบัติก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่ง ตามบุญบารมีของแต่ละท่านที่ได้บำเพ็ญมา จะเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี หรือได้บรรลุธรรมในระดับสูงเป็นพระอรหันต์ ขึ้นอยู่กับวาสนาบารมีที่ได้บำเพ็ญมาแต่ละเท่าไม่เท่ากัน เหตุนั้น การได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าในสมัยครั้งพุทธกาลจึงเป็นไปได้ง่าย เพราะได้รับอุบายธรรมจากพระพุทธเจ้าที่ตรงกับจริตนิสัยของตัวเอง และตรงกับบารมีที่ตัวเองได้บำเพ็ญมา จึงเรียกว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าเป็นจำนวนมาก อุบายธรรมของพระพุทธเจ้าแต่ละหมวดหมู่ พระองค์ให้อุบายธรรมไม่เหมือนกัน ใครได้บำเพ็ญบารมีมาอย่างไร พระองค์ก็ให้อุบายธรรมที่ตรงต่อบารมีของท่านผู้นั้น เว้นเฉพาะผู้สร้างบารมีมาเหมือนกันจึงให้อุบายธรรมเหมือนกัน

....ฉะนั้นพวกเราจงศึกษาให้ดี มิใช่ว่าจะเอาหมวดธรรมใดมาปฏิบัติก็จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้ ถ้าหมวดธรรมนั้นตรงกับบารมีที่เราได้บำเพ็ญมาก็โชคดีไป ถ้าเอาหมวดธรรมที่ไม่ตรงกับบารมีของตัวเองมาปฏิบัติ ถึงจะเร่งความเพียรอย่างเข้มข้นเต็มที่อยู่ก็ตาม การจะได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยเจ้าก็เป็นไปไม่ได้อยู่นั่นเอง เหมือนกินยาไม่ถูกกับโรค ไม่ว่าจะกินสักปานใดโรคก็ไม่หายนี้ฉันใด การปฏิบัติธรรมก็เป็นฉันนั้น

.....................................................

๖ พยานบุคคลที่พิจารณาอุบายโดยใช้ปัญญา

....ข้าพเจ้าจะยกบุคลาธิษฐานขึ้นมาประกอบให้เห็นภาพได้ชัดเจน พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้มีมาในพระสูตรเป็นตัวอย่างมีจำนวนมากทีเดียว ถ้าจะนำมาเขียนให้ท่านได้อ่านทั้งหมด ก็จะเป็นหนังสือเล่มใหญ่เกินไป จะอธิบายในบางเรื่องพอจะมองเห็นภาพเป็นตัวอย่างเท่านั้น

....เมื่อสมัยครั้งศาสนาพระพุทธเจ้ากัสสโป มีกุมารีนางหนึ่ง นางได้บำเพ็ญปัญญาบารมีเป็นนิสัย นางได้ใช้ปัญญาพิจารณาความตายอยู่เป็นนิจ พิจารณาความตายที่จะมีแก่ตัวเอง พิจารณาความตายที่จะมีแก่คนอื่นสัตว์อื่น พิจารณาความตายที่คนอื่นสัตว์อื่นได้ตายไปแล้ว คนและสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ก็จะตายในวันข้างหน้า นางพิจารณาอยู่อย่างนี้เป็นนิสัยในอิริยาบททั้งสี่ จะยืน เดิน นั่ง นอน หรือทำงานอยู่ ก็มีสติพิจารณาความตายอยู่เสมอว่า ทุกคนเมื่อเกิดมาแล้ว จะอยู่ได้ชั่วขณะแล้วก็ตายจากกันไป ทรัพย์สินเงินทองสมบัติทั้งหลายที่มีอยู่ เมื่อความตายมาถึงแล้วสมบัติที่มีอยู่ก็ช่วยไม่ได้ เมื่อตายแล้วจะเอาสมบัติเหล่านั้นติดตามตัวไปไม่ได้เลย สมบัติทั้งหลายก็จะตกทอดแก่ลูกหลายต่อไป เมื่อลูกหลานตายไปก็จะสืบทอดต่อๆกันไปไม่มีใครๆถือกรรมสิทธิ์ในวัตถุธาตุของโลกนี้ได้ เพราะสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งอาศัยขณะที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น นางใช้ปัญญาสอนตัวเองอยู่ทุกคืนวัน ใจได้เกิดความสลดสังเวชที่เกิดตายซ้ำซากจำเจ ไม่คุ้มค่าต่อความทุกข์ที่ได้รับแต่ละวัน ยิ่งใช้ปัญญาพิจารณาความตายมากเท่าไร ยิ่งรู้เห็นรูปร่างไม่มีสาระมากขึ้น ใจไม่ยึดติดผูกพันในสิ่งใดๆ เมื่อนางตายไปก็ได้ไปเสวยสุขในเทวโลก เมื่อบุญกุศลหมดลง จึงมาเกิดเป็นมนุษย์ในชาติใหม่

....ในชาตินี้นางได้มาเกิดในตระกูลทอหูก ในยุคที่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ ในวันหนึ่งพระพุทธเจ้าลงสู่ธรรมสภาเพื่อแสดงธรรม เมื่อพระองค์ขึ้นประทับบนธรรมาสน์แล้ว ตามปกติพระองค์จะแสดงธรรมต่อไป ในครั้งนั้นพระองค์กลับนิ่งเฉย เพราะนางกุมารีกรอหลอดด้ายยังไม่เสร็จ เมื่อนางกรอหลอดด้ายเสร็จ จึงได้ถือตะกร้าหลอดด้ายเดินผ่านมา นางได้มองเห็นมหาชนนั่งเงียบอยู่ ก็ได้นั่งลงสังเกตดูเหตุการณ์ว่า มหาชนนั่งเงียบอยู่ด้วยเหตุอันใด มีเรื่องอะไรเกิดขึ้น ไม่มีเจตนาที่จะไปฟังธรรมแต่อย่างใด แต่ก็ได้ฟังธรรมโดยบังเอิญ

....เมื่อนางกุมารีนั่งลงเท่านั้น พระพุทธองค์ก็เริ่มแสดงธรรมทันที หัวข้อที่เป็นอุบายธรรมที่พระองค์ยกขึ้นมาแสดงนั้น เป็นเรื่องความสิ้นสุดของชีวิต ไม่มีสิ่งใดอยู่คงที่ตลอดไปได้ ที่เรียกว่า เกิดขึ้นมาแล้วจะตั้งอยู่ได้เพียงชั่วขณะ จากนั้นก็ตายไป พระพุทธเจ้าอุปมาเหมือนกับหลอดด้าย เมื่อนำมาทอหูก เส้นด้ายในหลอดก็หมดไปนี้ฉันใด ชีวิตของคนและสัตว์ที่เกิดมาจะอยู่ได้ชั่วขณะ ในที่สุดก็ตาย ธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็สลายกลายเป็นธาตุเดิมด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

....เมื่อนางได้ฟังธรรมเรื่องความสิ้นสุดของชีวิตที่พระพุทธองค์เปรียบเทียบเหทือนหลอดด้ายเพียงเท่านี้ นางจึงเกิดความเข้าใจแล้วใช้ปัญญาพิจารณาหลอดด้าย โอปนยิโกน้อมเอาหลอดด้ายมาเปรียบเทียบกับชีวิตของตนให้เป็นไปในสามัญลักษณะ เป็นสภาพที่คงอยู่ไม่ได้ ร่างกายทุกส่วนจะสมมุติว่าเป็นเราก็เป็นไปได้ชั่วขณะและในที่สุดก็ต้องหมดสภาพสลายตายไปไม่มีสิ่งใดตั้งอยู่ได้ก็ฉันนั้น เมื่อมาเข้าใจความเป็นจริงอย่างนี้จึงเรียกว่า"ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว"
....นิสัยที่เคยได้ใช้ปัญญาพิจารณาความตายมาในชาติอดีต เกิดสะกิดใจให้ได้ติดต่อกันกับปัญญาใหม่ เชื่อมโยงต่อกันกับปัญญาเก่าที่เคยบำเพ็ญมา นางก็เกิดดวงตาเห็นธรรมตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาจะต้องมีความตายเป็นที่สิ้นสุดตั้งอยู่ไม่ได้เมื่อมีปัญญารู้เห็นตามความจริงอย่างนี้ นางก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบันในขณะนั้นเอง

....ให้พวกเราทั้งหลายได้เข้าใจการปฏิบัติธรรมในสมัยครั้งพุทธกาลเอาไว้ เพื่อจะได้สังเกตดูตัวเองว่าการปฏิบัติธรรมของเราเป็นไปในลักษณะนี้หรือไม่ ให้เราได้แก้ไขในความเห็นของตัวเองให้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรม ให้เป็นไปตามไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องตามความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริง นี้เองที่เรียกว่า ปัญญาได้เกิดขึ้นกับตัวเราแล้ว มิใช่ว่านั่งสมาธิให้เกิดความสงบแล้วจะมีปัญญาเกิดขึ้น ความเห็นความเข้าใจอย่างนี้ไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้าแต่อย่างใด ทำไมจึงเอามาสอนและปฏิบัติกันอย่างนี้ ถ้ามีจริง พอจะยกบุคคลในครั้งพุทธกาลมาเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ ข้าพเจ้าได้ศึกษาประวัติของพระอริยเจ้ามามากเช่นกัน ไม่มีใครนั่งสมาธิจิตมีความสงบแล้วปัญญาได้เกิดขึ้นแต่อย่างใด ในยุคนี้ควรที่จะไปศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าในสมัยครั้งพุทธกาลดูบ้าง แล้วจะเข้าใจ และจะเปลี่ยนความเห็นผิดมาเป็นความเห็นถูกได้

....ข้าพเจ้ากล้าพูดกล้าเขียน เพราะได้ศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าในสมัยพุทธกาลมา พร้อมแล้วที่จะตอบคำถามที่ท่านมีความสงสัย ถ้าแน่จริงอย่าพูดลับหลังว่าข้าพเจ้าพูดผิดเขียนหนังสือผิด ให้เอาประวัติของพระอริยเจ้าในสมัยครั้งพุทธกาลมาพูดกันด้วยเหตุและผล เอาพยานบุคคลมาเป็นตัวอย่างเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันให้รู้กัน ข้าพเจ้าได้พูดได้เขียนออกมาอย่างนี้ มีพยานบุคคลเป็นหลักฐานอยู่แล้ว จึงกล้าพูดกล้าเขียนหนังสือให้คนอ่านอย่างเต็มตัว ไม่บังอาจที่จะไปแก้ไขพระไตรปิฎกแต่อย่างใด เพียงต้องการให้คนได้เข้าใจในความหมายของพระไตรปิฎกได้อย่างถูกต้องเท่านั้น พระไตรปิฎกมีความสมบูรณ์อยู่แล้ว แต่ผู้ที่มาตีความอรรถาธิบายขยายความมีหลายจุดที่ขาดเหตุผล ดังคำว่า นั่งสมาธิทำให้จิตมีความสงบแล้วปัญญาจะเกิดขึ้น นี้อะไรกัน ทำไมจึงสอนกันอย่างนี้และปฏิบัติกันอย่างนี้ ในครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนพุทธบริษัทอย่างนี้เลย ในยุคนี้ทำไมจึงเขียนวิธีอย่างนี้ออกมาสอนให้หลายๆคนเข้าใจผิดกันมากมาย

....ถ้าดูตำราในมรรค ๘ ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นจากสมาธิความสงบแต่อย่างใด สายทางของสมาธิความสงบจะเป็นไปในอภิญญา เป็นรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ รวมกันเป็นสมาบัติ ๘ วิธี อย่างนี้มีพวกดาบส ฤาษีทำกันมาก่อนพระพุทธศาสนาจะอุบัติขึ้นในโลก ไม่มีดาบสฤาษีท่านใดเกิดปัญญาจากสมาธิความสงบนี้เลย แม้พระพุทธเจ้าก็เคยปฏิบัติในวิธีนี้เหมือนกัน พระองค์พิจารณาดูแล้วไม่เป็นวิธีที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ พระองค์จึงได้ลาดาบสทั้งสองหนีไปเสีย พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วว่า การทำสมาธิความสงบนี้ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ไม่เป็นไปเพื่อมรรค ผล นิพพาน เป็นเพียงข่มกิเลสตัณหาได้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น
..........................................................................

๗. ปัญญาวิมุติ เจโตวิมุติ

....เมื่ออธิบายในเรื่องสมาธิ ข้าพเจ้าจะอธิบายใน ๒ รูปแบบ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ศึกษาให้เข้าใจในสมาธิ ๒ รูปแบบนี้เอาไว้

๑. สมาธิความสงบ

๒. สมาธิความตั้งใจมั่น


....จะอธิบายในสมาธิความสงบก่อน แล้วจะอธิบายในสมาธิตั้งใจมั่น ว่าสมาธิทั้ง ๒ นี้ มีความแตกต่างกันอย่างไรและเชื่อมโยงต่อกันอย่างไร ท่านผู้อ่านจะได้รู้จากหนังสือเล่มนี้

....สมาธิความสงบนั้น ผู้ที่จะทำได้มีกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกว่ากลุ่มนิสัยเจโตวิมุติ กลุ่มนี้ในอดีตชาติเคยเป็นดาบสฤาษีบำเพ็ญในการเพ่งกสิณต่างๆ มีความชำนาญในสมาธิความสงบมาก่อน ชำนาญในการเข้าฌาณสมาบัติจนเป็นวสี เกิดมาในชาตินี้ได้มาบวชในพระพุทธศาสนา นิสัยความเคยชินในวิธีการทำสมาธิติดตัวมาอย่างไรก็ชอบใจอย่างนั้น ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าในวิธีเจริญสมาธิ วิธีเจริญวิปัสสนาปัญญา แต่มาชอบใจในการเจริญสมาธิอย่างฝังใจ ได้ออกธุดงค์ไปในที่ต่างๆห่างไกลหมู่ชน พากันเจริญในสมาธิความสงบอย่างแน่วแน่ต่อเนื่องกัน นิสัยเดิมเคยได้บำเพ็ญในสมาธิมาก่อน ใจก็มีความสงบได้ง่าย ทำให้ใจได้รับความสงบเป็นรูปฌาณ อรูปฌาณ เกิดความว่างเปล่าภายในใจ ไม่มีอารมณ์ใดที่จะทำให้กระเพื่อมได้

....ขอยกตัวอย่าง ในครั้งพุทธกาลมีพระ ๓๐ รูป ได้ทำสมาธิความสงบจนถึงที่สุด ในวันหนึ่งพระผู้เป็นหัวหน้าเรียกประชุมไต่ถามเรื่องการทำสมาธิ ทุกองค์ได้พูดเหมือนกันว่า ไม่มีอารมณ์แห่งราคะ ไม่มีกิเลสตัณหาอาสวะน้อยใหญ่ภายในใจแต่อย่างใด พระผู้เป็นหัวหน้าได้ประกาศว่า ถ้าพวกเราเป็นเช่นนี้ด้วยกันทั้งหมดแล้ว พวกเราก็ได้พ้นไปแล้วจากกิเลสตัณหาทั้งหลาย ในบัดนี้พวกเราได้สิ้นจากอาสวะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ด้วยกันทั้งหมดแล้ว ให้ทุกท่านเตรียมตัวออกเดินทางไปกราบพระพุทธเจ้า เพื่อรับพยากรณ์ว่าพวกเราได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว

....เมื่อเดินทางใกล้จะถึงวัด พระพุทธเจ้ามีญาณหยั่งรู้ว่าพระทั้ง ๓๐ รูปที่มานี้ มีความสำคัญตนผิด คิดว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ เพียงทำสมาธิความสงบเข้าฌาณสมาบัติได้ ซึ่งไม่ใช่แนวทางที่จะละกิเลสตัณหาได้เลย สมาธิความสงบ ฌาณสมาบัติ เป็นเพียงวิธีข่มกิเลสตัณหาไว้เท่านั้น

....พระพุทธเจ้าจึงให้พระอานนท์ไปบอกพระ ๓๐ รูปนั้นว่า ในคืนนี้ให้ท่านทั้งหลายได้พักนอนในป่าช้านี้ก่อน พรุ่งนี้เช้าจึงไปกราบพระพุทธเจ้า พระ ๓๐ รูปก็หาที่พักในป่าช้านั้น ในช่วงขณะนี้พระพุทธเจ้าได้เนรมิตศพหญิงสาววัยรุ่น ที่มีรูปร่างสวยงาม นอนหงายไม่มีผ้าปิดตัวเหมือนคนนอนหลับอมยิ้มอยู่ในป่าช้าคนเดียว พระรูปหนึ่งเดินไปเห็น จึงเรียกพระองค์อื่นๆมาดูด้วย พระ ๓๐ รูปที่มีความชำนาญในการเข้าฌาณสมาบัติ เมื่อมาเห็นอย่างนี้ อารมณ์ของราคะที่ถูกสมาธิความสงบในฌาณสมาบัติข่มเอาไว้ก็เริ่มฟื้นตัว ทุกรูปเกิดความกำเริบในทางราคะไปด้วยกัน

....พระผู้เป็นหัวหน้าได้ประกาศว่า พวกเราได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้ามาแล้วในวิธีการเจริญวิปัสสนา ในคืนนี้ให้พวกเราทั้งหลายได้พากันเจริญในวิปัสสนา ใช้ปัญญาพิจารณาอศุภะ ความสกปรกไม่สวยงามในรูปหญิงสาวคนนั้น แยกส่วนแบ่งส่วนแล้วแต่เป็นสิ่งสกปรกไปทั้งตัว โอปนยิโก น้อมเข้ามาหาร่างกายตัวเอง ใช้ปัญญาพิจารณาในร่างกายให้รู้เห็นเป็นความสกปรกเหมือนกัน พิจารณาซากสกปรกภายนอก พิจารณาความสกปรกภายในร่างกายตัวเองให้รู้เห็นเป็นความสกปรกด้วยกัน

....ในคืนนั้น พระ ๓๐ รูป ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ การปฏิบัติในวิธีทำสมาธิความสงบและมีความชำนาญในวิธีทำฌาณสมาบัติมาก่อน แล้วกลับมาฝึกในสมาธิตั้งใจมั่นอันประกอบด้วยปัญญาเหมือนพระ ๓๐ รูปที่ได้อธิบายมานี้ จึงได้ชื่อว่าพระอริยเจ้ากลุ่มเจโตวิมุติ ให้เราทั้งหลายได้เข้าใจตามนี้

....ผู้มีนิสัยเจโตวิมุติจะมีความโดดเด่นในวิธีทำสมาธิความสงบ และชำนาญในการเข้าฌาณสมาบัติแต่ในขั้นตอนสุดท้ายก็ต้องมาทำสมาธิตั้งใจมั่นอันประกอบด้วยปัญญาอยู่นั่นเอง ไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในที่ไหนว่า เมื่อจิตลงสู่สมาธิความสงบแล้วให้ใช้ปัญญาพิจารณา การสอนอย่างนี้ผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นอย่างมาก

....หลักเดิม พระพุทธเจ้าสอนว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิความสงบแล้ว ให้จิตอยู่ในความสงบจนอิ่มตัว อย่าไปบังคับให้ถอนอย่าไปทำความกดดัน เมื่อความสงบอิ่มตัวแล้วก็จะค่อยๆถอนตัวออกมาเอง ให้มีสติรู้ว่าสมาธิกำลังถอนตัว มีสติยับยั้งเอาไว้ในขั้นอุปจาระสมาธิ เรียกว่าสมาธิตั้งใจมั่น แล้วน้อมเข้าสู่ปัญญาหรือเจริญวิปัสนาต่อไป นี้เป็นหลักเดิมที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ ขอให้ท่านทั้งหลายที่สนใจในวิธีทำสมาธิต้องเข้าใจตามนี้

....กลุ่มผู้มีนิสัยเป็นเจโตวิมุติ ในสมัยครั้งพุทธกาลนั้นมีน้อย แต่ก็โชคดีที่ได้บวชเป็นพระในสมัยที่พระพุทธเจ้ามีชีวิตอยู่ พระองค์ก็ช่วยแก้ความเห็นผิดกลับมาเป็นความเห็นถูกได้ เหมือนกับพระ ๓๐ รูป ที่ได้อธิบายมาแล้ว ถ้ามีผู้ทำสมาธิในยุคปัจจุบันเป็นเหมือนกับพระ ๓๐ รูปนี้ ในยุคนี้จะไม่มีทางแก้ไขความเห็นผิดความสำคัญผิดนี้ได้เลย ก็ต้องปล่อยไปตามยถากรรม ตายไปเป็นพรหมมีอายุยาวนานทีเดียว ถึงจะมีบุญบารมีพร้อมที่จะเป็นพระอรหันต์ในชาตินี้ก็หมดสิทธิ์ไป จะไม่มีใครๆแก้ไขความเห็นผิดให้เป็นความเห็นถูกได้ เพราะผู้ที่ทำสมาธิจิตมีความสงบดีหรือมีอภิญญาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ก็จะมีมานะอัตตาเกิดขึ้นเป็นคู่กัน จะเกิดโอหังจองหองลำพองตัวไม่ยอมก้มหัวให้ใคร ไปเข้าใจว่าคนอื่นภาวนาปฏิบัติไม่ดี ไม่เก่งเหมือนตัวเอง ในบรรดาสาวกด้วยกันถึงจะเป็นพระอรหันต์ที่สมบูรณ์แล้วก็ตาม จะช่วยแก้ปัญหาผู้มีความเห็นผิดให้กลับตัวเป็นผู้มีความเห็นถูกไม่ได้เลย เว้นเฉพาะผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกันหรือเป็นคู่ทรมาณกันมาก็พอจะแก้ไขกันได้

....ในยุคนี้ มีผู้เป็นนิสัยเจโตวิมุติอยู่บ้าง ดูตรงที่เขาทำสมาธิ จะมีความสงบได้ง่ายนั่งอยู่นาน แต่ก็ไม่มีปัญญาแก้ปัญหาให้แก่ตัวเองได้ อาการของจิตเป็นอย่างไรก็ไม่มีปัญญารอบรู้แต่อย่างใด จึงไปถามครูอาจารย์หลวงปู่หลวงตา ถามในเรื่องอาการของจิตที่เกิดขึ้น ถ้าครูอาจารย์ผู้ที่ไม่เข้าใจ ก็จะตอบสั้นๆไปว่า การเป็นในลักษณะอย่างนี้มีความถูกต้องแล้ว ทำไปเถอะ เท่านั้นเอง

....ผู้มีนิสัยเจโตวิมุติมาทำสมาธิความสงบในยุคนี้ย่อมทำได้ แต่มีปัญหาอยู่มาก เพราะเอาความอยากเป็นตัวนำหน้า การทำสมาธิด้วยความอยาก เช่น อยากให้จิตมีปัญญาเกิดขึ้น อยากให้จิตมีความบริสุทธิ์ อยากละกิเลสตัณหา อยากเห็นสวรรค์ อยากเห็นนรก อยากเห็นในชาติก่อนที่ผ่านมา อยากบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นนั้นขั้นนี้ ความอยากอย่างนี้จะเข้าทางกิเลสตัณหา สังขารจิตที่เป็นกิเลสมารจะหลอกใจให้เกิดหลงทางโดยไม่รู้ตัว ผู้ทำสมาธิที่มีความอยาก ดังที่ได้อธิบายมานี้ จะต้องมีปัญญาเกิดขึ้นเป็นวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่างแฝงขึ้นจากจิต จะเกิดเป็นนิมิตในลักษณะต่างๆให้ได้เห็นในรูปแบบต่างๆ จิตก็จะเกิดความลุ่มหลงไปตามนิมิตนั้นๆ

....ในสมัยครั้งพุทธกาลก็มีผู้เป็นวิปัสสนูปกิเลสอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าได้ช่วยแก้ปัญหาความเห็นผิดกลับมาเป็นความเห็นถูกได้ สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้ แต่ในยุคนี้ ถ้าใครเป็นในลักษณะนี้จึงยากที่จะแก้ไขได้ เพราะผู้เป็น มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง จะไม่เชื่อใครๆที่มาเตือนว่าตัวเองปฏิบัติผิดแต่อย่างใด ถ้าผู้เป็นวิปัสสนูเหมือนกันมาพูดคุยผลของการปฏิบัติ จะเข้าดกันได้เป็นปี่เป็นขลุ่ย มีความรู้เห็นอย่างไรจะพูดคุยกันทั้งวันทั้งคืนไม่จบไม่สิ้น จะพูดคุยในเรื่องนยิมิตต่างๆที่เกิดขึ้น หรือพูดคุยธรรมะ ก็เป็นตุเป็นตะได้ชัดเจนน่าเชื่อถือ ผู้ไม่รู้ก็จะเชื่อว่าเป็นธรรมะจริงแล้วเชื่อตาม ที่จริงแล้วเป็นธรรมะปลอมนั่นเอง
......................................................................

๘. วิปัสสนูปกิเลส ๑๐

....วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ข้อ เป็นอย่างไรนั้น ให้ท่านศึกษาให้ดี ข้าพเจ้าจะอธิบายเป็นข้อๆพอเป็นแนวให้ได้รู้เอาไว้ เพราะ วิปัสสนูปกิเลสเป็นตัวขัดขวางปิดเส้นทางแห่งมรรคผลนิพพาน ให้ท่านได้สังเกตดูตัวเองอยู่เสมอว่าลักษณะอย่างนี้เป็นวิปัสสนูข้อใด จะได้ระวังตัวเอาไว้ ถ้าได้เกิดเป็นวิปัสสนูข้อใดข้อหนึ่งแล้วก็จะทำให้ใจไขว้เขวได้ เกิดความเห็นผิดแล้วมาคิดว่าตัวเองมีความเห็นถูกเรื่อยไป จึงยากที่จะแก้ไขเยียวยาให้จิตเป็นปกติได้ ในต้นเหตุที่จะเกิดเป็นวิปัสสนูนี้เพราะทำสมาธิไม่มีปัญญารอบรู้นั่นเอง

....เปรียบเทียบได้กับขวดที่มียาพิษติดอยู่ภายในซึ่งมองไม่เห็น เมื่อใส่ยาที่มีคุณภาพลงไป สารเป็นพิษก็จะดูดซึมเข้าไปในยา เมื่อนำมากิน ยาที่มีคุณภาพก็จะกลายเป็นยาพิษด้วยกันทั้งหมด เกิดโทษแก่ตัวเองนี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดที่ฝังแน่นภายในใจยังไม่ได้แก้ไข เมื่อทำสมาธิจิตเริ่มมีความสงบได้แล้ว มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดก็จะไปบวกกับสมาธิ จิตก็จะเกิดวิปลาสกลายเป็นมิจฉาสมาธิเป็นวิปัสสนูปกิเลสขึ้นโดยไม่รู้ตัว จะเกิดภาพนิมิตต่างๆ จิตก็จะออกไปเกาะติดในนิมิตนั้นๆ ในขณะนั่ง สมาธิจิตจะมีความเพลิดเพลินนั่งสมาธิได้นาน เหมือนกับว่า กายเบาจิตเบาอยากจะนั่งในลักษณะนี้ต่อไป ในอีกระยะหนึ่งนิมิตต่างๆก็จะเลือนลางจางหายไป ใจก็จะเกิดความหวั่นไหวนั่งสมาธิต่อไปอีกไม่ได้ เกิดความหงุดหงิดจนนั่งสมาธิไม่ติดอีกต่อไป ในลักษณะนี้ผู้ทำสมาธิเพื่ออยากรู้อยากเห็นในสิ่งใด ก็จะถูกกิลเสมารหลอกใจให้หลงทางเกิดเป็นมิจฉาความเห็นผิด กลายเป็นวิปัสสนูโดยไม่รู้ตัว ดังจะได้อธิบายเป็นหัวข้อดังนี้

....๑. โอภาส ผู้ทำสมาธิเมื่อจิตมีความสงบได้นิดหนึ่งก็จะเกิดเป็นแสงสว่างขึ้นในลักษณะต่างๆ จิตก็จะพุ่งออกไปภายนอก เกาะติดอยู่กับแสงสว่างนั้นๆ ความสว่างมากบ้างน้อยบ้าง มีหลากสีที่แตกต่างกันไปไม่เหมือนกัน ก็จะเกิดมีความสุขเพลิดเพลินอยู่กับโอภาสความสว่างนั้นๆ เมื่อความสว่างนั้นได้จางลงจะนั่งสมาธิต่อไปไม่ได้ ใจก็จะเกิดความหงุดหงิดออกจากการนั่งสมาธิทันที จิตจะมีความอาลัยอาวรณ์ในความสว่างนั้น ไม่อยากให้ความสว่างนั้นเสื่อมไป

....๒. ปิติ ในขณะนั่งสมาธิ จิตมีความสงบได้นิดหนึ่งจิตก็จะเกิดความเอิบอิ่มใจ เกิดน้ำตาไหลขนพองสยองเกล้า นั่งอยู่จะมีความเบากายเบาใจ มีความเอิบอิ่มภายในใจอยู่ตลอดเวลา อยากให้เป็นอยู่ในลักษณะนี้นานๆ อาการที่เกิดขึ้นลักษณะนี้ก็เพราะไม่มีปัญญารอบรู้ใสควงามเห็นผิดของตัวเอง จึงเกิดความเข้าใจว่าคุณธรรมได้เกิดขึ้นกับใจเราแล้ว เมื่อปิติได้เสื่อมไป ใจก็มีความอาลัยอาวรณ์ในปิตอนั้นๆ อยากให้เกิดความปิตินี้อยู่บ่อยๆใจจะมีความสุข ผู้ที่ทำสมาธิมีความอยากนำหน้าจะมีอาการลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้น ผู้ทำสมาธิต้องระวังตัวให้ดีมีปัญญารอบรู้อยู่เสมอ

....๓. ปัสสัทธิ เมื่อทำสมาธิ จิตมีความสงบได้นิดหนึ่ง จะเกิดความสงัดกายสงัดใจขึ้นมา ความสงัดหมายถึงความเงียบ วิเวกวังเวงเหมือนอยู่ในที่ไหนก็ไม่รู้ หันหน้าหันหลังไปในทิศทางไหน นั่งอยู่ที่ไหนก็ไม่เข้าใจ ความสงัดในเหมือนได้ตัดขาดจากโลกภายนอกนี้ไป ความสงบสงัดเหมือนตัวเองนั่งอยู่ในโลกนี้คนเดียว ไม่มีอารมณ์ใดมายุ่งเกี่ยวภายในใจให้กระเพื่อมแต่อย่างใด ในความรู้สึกเข้าใจมีความหนักแน่นในการทำสมาธิที่มั่นคง จะนั่งสมาธินานๆก็ย่อมทำได้ ไม่มีความกังวลในสิ่งใดๆ ในลักษณะอย่างนี้เป็นอยู่ไม่นานก็เสื่อม ใจก็เกิดความอาลัยอาวรณ์อยากให้เป็นอย่างนี้ตลอดไป

....๔. สุขะ เมื่อนั่งสมาธิจนจิตดิ่งสู่ความสงบได้นิดหนึ่ง ก็จะมีความสุขภายในใจได้เกิดขึ้นอย่างมากทีเดียว หายใจเข้าหายใจออกจะมีความสุขอยู่ตลอดเวลา เป็นความสุขที่เกิดจากการทำสมาธิ มีความพอใจยินดีเป็นอย่างมาก อยากให้มีความสุขอยู่กับใจตลอดไป อีกไม่นานความสุขที่เกิดจากการทำสมาธิก็จะเสื่อมลง ความสุขก็จะหายไป ในลักษณะนี้ผู้ทำสมาธิจะมีความเสียดายอาลัยอาวรณ์ อยากให้มีความสุขต่อเนื่องกีนอยู่เสมอ การทำสมาธิก็เพื่อต้องการให้เกิดความสุข หารู้ไม่ว่าความสุขที่เกิดจากสมาธินี้เป็นเหตุให้เกิดความลุ่มหลง เป็นโมหะสมาธิ หลงในความสุข ไม่มีปัญญารอบรู้แต่อย่างใด

....๕. ญาณะ เมื่อจิตมีความสงบในสมาธิอยู่บ่อยๆ มี ญาณรู้เกิดขึ้น เป็นความรู้กระซิบภายในใจ เรื่องต่างๆเป็นเรื่องทาง
โลกบ้างทางธรรมบ้าง ในบางครั้งก็รู้ขึ้นเอง ในบางครั้งกำหนดอยากรู้ในสิ่งใดก็จะเกิดความรู้ขึ้นมา ความรู้ทีเกิดขึ้นในครั้งแรกส่วนมากจะเป็นความจริง จึงมีการลืมตัวไปว่า ญาณรู้ได้เกิดขึ้นแล้ว เกิดความเข้าใจผิดความเห็นผิดไปว่า ปัญญาญาณได้เกิดขึ้นในตัวเราแล้ว รู้ในสิ่งใดก็อยากจะพูดให้คนอื่นฟังอยู่เสมอ มักอวดตัวไปว่าเป็นผู้ภาวนาดีปฏิบัติเก่งกล้าสามารถ รอบรู้ในสิ่งต่างๆ หารู้ไม่ว่าวิปัสสนูปกิเลสได้เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว เมื่อนานๆเข้า ความรู้นี้จะเพี้ยนไป ไม่เป็นจริงดังที่เคยเป็นมา

....หากเป็นไปในลักษณะนี้ จะมีการอวดตัว ยกตัวข่มคนอื่นชอบไปตำหนิคนนั้นตำหนิคนนี้ว่าภาวนาปฏิบัติไม่ดีเหมือนเรา เพื่อให้คนอื่นยกย่องสรรเสริญ ยังเข้าใจว่าตัวเองมีคุณธรรม เป็นโลกวิทู มีญาณรู้แจ้งโลก หารู้ไม่ว่าตัวเองเป็นวิปัสสนูปกิเลส ผู้ที่เป็นอย่างนี้จะเกิดมีมานะอัตตาสูง ไม่ยอมฟังคำคนอื่นตักเตือนตำหนิว่าผิดทางแต่อย่างใด ในชาตินี้จะแก้ไขความเห็นผิดไม่ได้เลย เพราะเป็นสังขารจิตหลอกตัวเองว่า ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันบ้าง เป็นพระสกิทาคามี หรือเข้าใจไปว่า ตัวเองได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ มีความมั่นใจในตัวเองว่าเป็นพระอริยเจ้าจริงๆ

....หากมีคนถามว่าท่านผู้นั้นมีคุณธรรมในระดับไหน ถ้ามีความชอบใจกับท่านผู้นั้นก็จะพูดไปว่า มีคุณธรรมในขั้นนั้นขั้นนี้ไป ถ้าไม่ชอบใจในท่านผู้นั้นก็จะพูดว่าไม่มีคุณธรรมอะไรเลย ถ้าชอบพอกับใครที่เป็นสายเดียวกันจะยกย่องว่าเป็นเพชรน้ำหนึ่ง พูดเป็นเชิงนัยๆให้กลุ่มตัวเองได้รู้กัน เหตุนั้น ญาณะ ถ้าเกิดขึ้นกับใครแล้ว ในยุคนี้จะแก้ไขไม่ได้เลย เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเข้าใจผิดเห็นผิดไปตลอดจนวันตาย ญาณรู้นี้จะเกิดจากการทำสมาธิที่ไม่มีปัญญารอบรู้ในอาการของจิต จึงได้เกิดญาณนิมิตขึ้นโดยไม่รู้ตัว

....๖. อธิโมกข์ หมายถึง ความเชื่อเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดว่าเป็นเรื่องจริง เช่นโอภาส ความสว่างที่เกิดขึ้น ปีติ ความเอิบอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความสงัดกายสงัดใจ สุขะ ความสุข ญาณะ ญาณรู้ที่เกิดจากใจ มีความเชื่อมั่นว่าทั้งหมดนี้เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่มรรคผลนิพพาน เมื่อมีความเชื่อมั่นปักใจลงไปอย่างนี้จึงยากที่จะเปลี่ยนความเห็นผิดได้ ใครจะมาอธิบายให้ฟังว่าเป็นลักษณะนี้ผิด ตัวเองก็มีความมั่นใจว่าเป็นแนวทางที่ถูกอยู่นั่นเอง ใครจะว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิมีความเห็นที่ผิด ก็จะยืนยันว่าเป็นแนวทางที่ถูกตลอดไป จึงยากที่จะแก้ไขให้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรมได้

....ผู้ปฏิบัติควรศึกษาในความเชื่อขอตัวเองให้ดี ไม่เช่นนั้นจะเป็นศรัทธาวิปยุต เชื่ออะไรงมงายที่ขาดจากเหตุผล ชอบให้คนอื่นมายกย่องตัวเองว่าเป็นผู้ภาวนาดีมีคุณธรรมสูง ถ้ามีผู้ภาวนาเป็นไปเหมือนกันกับเราจะฟังรู้เรื่องกัน จะพูดคุยกันทั้งคืนทั้งวันก็ไม่จบสิ้น ยิ่งทำสมาธิมีความสงบลึกลงไปเท่าไร มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดก็เกิดความรุนแรงมากขึ้น พูดธรรมะได้อย่างละเอียดละออ ผู้ที่ไม่รู้ ได้ฟังอย่างนี้ก็จะมีความเข้าใจไปว่าพระอรหันต์สนทนาธรรมกัน ที่จริงก็คือวิปัสสนูพูดคุยกันนั่นเอง

....๗. ปัคคหะ มีความเพียรอย่างแรงกล้า ไม่ว่าจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ ก็ทำอย่างเอาเป็นเอาตายเลยทีเดียว อุบายในวิธีการภาวนาจะเป็นรูปแบบการทำสมาธิเป็นหลักยืนตัว จะยืนก็กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ จะเดินก็กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ จะเดินก็กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ จะนั่งก็กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ จะนอนก็กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ แต่อุบายในทางปัญญาทำไม่เป็นเลย แต่ละวันแต่ละคืนจะมีความเพียรอย่างเข้มแข็งโดดเด่นเป็นอย่างมาก มีความสำรวมระวังสิ่งที่มาสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้เป็นอย่างดี ถ้ามีมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดฝังแน่นอยู่ในใจอยู่แล้ว จะภาวนาปฏิบัติทำสมาธิอย่างเข้มข้นอยู่ก็ตาม กำลังใจที่เกิดจากการทำสมาธิก็จะไปบวกกับมิจฉาทิฏฐิ ทำให้เกิดความเห็นผิดมากขึ้น จึงกลายเป็นมิจฉาสมาธิขึ้นโดยไม่รู้ตัว ในชาตินี้จึงหมดสิทธิ์ที่จะได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งทันที

....๘. อุปัฏฐาน มีสติระลึกได้เป็นเยี่ยม การเคลื่อนไหวไปมาของร่างกายทุกส่วน จะมีสติระลึกได้เท่ากันทุกอาการที่เคลื่อนไหว กิริยาทางกายจะเฉื่อยช้าไม่ผลุนผลัน การก้าวการคู้ขา การเหยียดแขนคู้แขนก็เฉื่อยช้า ในอิริยาบาต่างๆจะมีสติระลึกรู้เท่าทันอยู่ตลอดเวลา เป็นผู้มีสติระลึกได้ทันต่อเหตุการณ์ แต่ไม่มีปัญญาที่จะนำเอาอุบายธรรมะมาพิจารณาให้เกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริงแต่อย่างใดในหลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ว่ากันไปตามตำรา จะไม่มีปัญญาเป็นของตัวเอง และไม่สนใจที่จะใช้ปัญญาพิจารณาแต่อย่างใด มีเพียงสติระลึกรู้เท่าทันในอารมณ์ภายในใจแต่ละวันเท่านั้น ในบางครั้งมีอารมณ์ของกิเลสหสังขารการปรุงแต่งเกิดขึ้น ก็ใช้สติระลึกรู้เท่าทันเอาไว้ในขณะหนึ่ง ตัณหาก็หลบตัวนอนเนื่องอยู่ภายในใจ เป็นอันว่าใช้สติสมาธิข่มกิเลสตัณหาสังขารไม่ให้ทำงานเท่านั้น
....๙. อุเบกขา ทำใจให้มีความวางเฉยได้เป็นอย่างดี จะมีเรื่องอะรเกิดขึ้นก็ทำใขไม่ให้เกิดความกังวลกับสิ่งใดๆ เพราะใจได้วางเฉยอยู่ตลอดเวลา เรื่องอดีตที่ผ่านไปแล้ว ไม่นำมาคิด เรื่องอนาคตก็ไม่คำนึงคิดถึง จะรำพึงอยู่ในใจปัจจุบัน ยืนหยัดอยู่ในความวางเฉยไม่มีความหวั่นไหวไปในสิ่งใดๆ ไม่มีความรัก ไม่มีความชัง โกรธเกลียดในสิ่งใด ใจไม่กระเพื่อมไปตามกระแสโลก ไม่มีอารมณ์ผูกพันเกี่ยวข้องในสิ่งทั้งปวง ไม่ห่วงในสิ่งนั้น ไม่ติดใจในสิ่งนี้ มีใจวางเฉยแน่วแน่ในปัจจุบันทุกกาลเวลา ไม่มีปัญญาพิจารณาให้รู้จริงเห็นจริงในสิ่งที่เป็นจริงได้เลย

....๑๐. นิกันติ มีความยินดีพอใจในเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด อาการของจิตได้เกิดขึ้นจาก ข้อ ๑ ถึงข้อ ๙ เอามารวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน ว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องอย่างฝังใจ ผลของการปฏิบัติอย่างไรจะมียินดีพอใจอย่างมั่งคง เพียงดำรงชีวิตให้เป็นอยู่ไปวันๆเท่านั้น มีความมั่นใจในตัวเองว่าคุณธรรมระดับสูงได้เกิดขึ้นกับเราแล้ว เหมือนกับว่าไม่มีภาระใดๆที่จะต้องทำอีกต่อไป นี้คือความเห็นของผู้ที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสข้อสุดท้าย มีความพอใจในผลของการปฏิบัติของตนอย่างฝังใจ ถ้าใครเป็นลักษณะนี้จะไม่มีใครๆช่วยเหลือได้เลย ถึงครูอาจารย์จะมีคุณธรรมระดับสูงก็ช่วยเหลือไม่ได้ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดแต่ขั้นเริ่มแรก แล้วมีความเห็นผิดเรื่อยมา ไม่มีทางแก้ไขได้เลย

....ข้าพเจ้าได้ให้ข้อคิดแก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายเอาไว้ ในเรื่องวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ข้อนี้ น้อยคนที่จะได้ศึกษาให้เข้าใจว่า นี้เป็นภัยขัดขวางปิดเส้นทางของมรรคผลนิพพาน วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นจากความเห็นผิดเป็นต้นเหตุ วิปัสสนูปกิเลส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"กิเลสมาร" ผู้ที่ทำสมาธิ ที่ไม่รู้จักมารทั้ง ๑๐ อย่างนี้ จะมีปัญหาเกิดขึ้นอย่างมาก เฉพาะผู้ที่ทำสมาธิที่มีความอยากเป็นตัวเสริม จะเกิดปัญหามารหลอกใจได้ง่าย ถ้าทำสมาธิตามปกติธรรมดาก็ไม่เป็นไร เพียงทไสมาธิพักผ่อนชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เพราะแต่ละวันเราได้ใช้งานทางความคิดไปตามกระแสของโลกตลอดทั้งวัน คิดเรื่องนั้นบ้างคิดเรื่องนี้บ้างจนจิตไม่ได้พักผ่อนได้เลย ถ้าทำสมาธิเพื่อให้จิตได้พักผ่อนเท่านั้น วิปัสสนูปกิเลสหรือกิเลสมารก็ไม่เกิดขึ้นแต่อย่างใด การพักผ่อนใจคือการทำสมาธินี้มีความจำเป็น เหมือนงานทางโลกมีหลายสาขาอาชีพ งานทางราชการ งานของพวกพ่อค้าพานิชหรืองานกรรมกร มิใช่ว่าทำงานตลอดทั้งวันได้ เมื่อเหนื่อยก็ต้องมีการพักผ่อน เพื่อให้เกิดมีพลังทำงานต่อไปได้ฉันใด การทำสมาธิเพื่อให้จิตใจได้พักผ่อนก็ฉันนั้น วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่างก็จะไม่เกิดขึ้น ฉะนั้นผู้ทำสมาธิอย่าทำด้วยความอยาก มากดดันใจตัวเองให้เกิดความอยาก ดังได้อธิบายมาแล้ว

....การภาวนาปฏิบัติเป็นอุบายวิธีแก้ปัญหาของใจโดยเฉพาะ ผู้ปฏิบัติต้องตั้งหลักให้ถูกกับทิศทางในจุดเริ่มต้นให้ถูกในหลักสัมมาทิฏฐิ ฝึกใจให้มีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรมเอาไว้ เมื่อปฏิบัติไปจะไม่เกิดปัญหาในภายหลัง ให้รู้จักอนุโลมปฏิโลมผ่อนหนักผ่อนเบาไปในตัว

....เปรียบได้กับวิ่งรถตามเส้นทางที่ไม่เคยไป ต้องขับรถมีความระวังเป็นพิเศษ ทางที่โค้ง ทางหักศอก ควรใช้ความเร็วเท่าไรจึงจะมีความปลอดภัย หากรถวิ่งไป
....เปรียบได้กับวิ่งรถตามเส้นทางที่ไม่เคยไป ต้องขับรถมีความระวังเป็นพิเศษ ทางที่โค้ง ทางหักศอก ควรใช้ความเร็วเท่าไรจึงจะมีความปลอดภัย หากรถวิ่งไปด้วยความเร็วสูงจนบังคับไม่ได้ เกิดแหกโค้งจะส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้ ถ้าคนขับรถดี รถมีความสมบูรณ์ ทางก็เรียบและรอบรู้แผนที่เส้นทาง เมื่อครบในสาเหตุสี่อย่างนี้จะถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการแน่นอน ถ้าคนขับรถไม่ดี รถก็ไม่ดี เส้นทางเป็นหลุมเป็นบ่อขรุขระ และไม่รู้แผนที่เส้นทาง รับรองว่าไปไม่ถึงไหนเลย นี้ฉันใด การปฏิบัติก็ฉันนั้น การปฏิบัติเพื่อให้ถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพานนั้น ถ้าผู้ศึกษามีอุบายวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องตั้งแต่จุดเริ่มต้นแล้ว จะถึงจุดหมายปลายทางโดยไม่ต้องลังเลสงสัย

....ที่ได้อธิบายในเรื่องของผู้มีนิสัยเจโตวิมุติมาให้ท่านผู้อ่านได้รู้อย่างนี้ ก็เพื่อให้ท่านได้สำรวจดูตัวเองว่า เป็นนิสัยเจโตวิมุติ หรือเป็นนิสัยปัญญาวิมุติกันแน่ ถ้าเราไม่รู้จักนิสัยตัวเอง ก็ยากที่จะหาหมวดธรรมมาประกอบให้เข้ากันกับนิสัยของตัวเองได้ เหมือนกินยาไม่ถูกกับโรค กินยาทุกวันโรคก็ไม่หาย นี้ฉันใด การปฏิบัติก็เป็นไปฉันนั้น.

.................................................................................

๙. ปัญญาวิมุติ



....ปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติ มีอยู่ในคนเดียวกัน แต่ที่ต่างกันเป็นเพราะนิสัยที่ได้บำเพ็ญมาไม่เหมือนกัน ผู้มีนิสัยเจโตวิมุติ ได้แก่ ผู้ที่บำเพ็ญบารมีเหมือนพวกดาบสฤาษีที่ได้บำเพ็ญสมาธิความสงบ บำเพ็ญฌาณมาแล้วอย่างสมบูรณ์ เมื่อท่านเหล่านี้ได้มาเกิดในชาตินี้ การปฏิบัติก็ต้องเริ่มตันจากการบำเพ็ญฌาณทำสมาธิให้มีความสงบไปก่อน เมื่อจิตมีความสงบแล้ว จะถอนตัวออกมาอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ ที่เรียกว่า สมาธิความตั้งใจมั่น แล้วน้อมไปสู่ปัญญา พิจารณาในสัจจธรรมตามความเป็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งตามบารมีที่ตัวเองได้บำเพ็ญมา ถ้าเป็นในลักษณะนี้จึงได้ชื่อว่าผู้มีนิสัยเจโตวิมุติ

....ผู้มีนิสัยในปัญญาวิมุติ ในชาติก่อนเคยได้บำเพ็ญในทางปัญญาบารมีมาแล้ว เมื่อมาเกิดใหม่ ได้ปฏิบัติภาวนา จะทำได้เพียงสมาธิความตั้งใจมั่นเท่านั้น แต่จะมีความโดดเด่นในทางปัญญาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อสมาธิความตั้งใจมั่นจับคู่กับปัญญามีความสมบูรณ์พร้อมแล้ว หากพิจารณาในสัจธรรมใด ก็จะมีความรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงในสัจธรรมนั้น และได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งตามบารมีที่ตัวเองได้บำเพ็ญมา ถ้าเป็นในลักษณะนี้จึงเรียกว่าผู้เป็นปัญญาวิมุติ ขอให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจตามนี้ หรือหากใครตีความหมายเป็นไปอย่างอื่น ให้ถือว่าตัวใครตัวมัน หรือหากท่านยังมีความสงสัยอยู่อีก ให้มาถามข้าพเจ้าโดยตรง มีความพร้อมที่จะอธิบายให้ท่านเข้าใจได้ เพราะในยุคนี้มีผู้ตีความในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแตกต่างกันไป แต่ใครจะตีความในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ถูกต้องที่สุดนั้น ก็เป็นความเห็นของท่านผู้นั้น

....ผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติ เมื่อศึกษารู้วิธีแล้วนำมาปฏิบัติ จะเป็นของง่ายสำหรับท่านผู้นั้น อุบายในการปฏิบัติไม่มีความสลับซับซ้อนที่ยุ่งยาก ในสมัยครั้งพุทธกาล ผู้มีนิสัยเป็นปัญญาวิมุติ ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า หรือได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้าทั้งหลาย สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งในขณะนั้นเป็นจำนวนมาก หรือยังไม่สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าในขณะนั้น แต่ได้นำเอาอุบายธรรมที่ได้รู้อยู่แล้วไปปฏิบัติ ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้เช่นกัน ตะไปถามท่านเหล่านั้นว่าสมาธิความสงบเป็นอย่างไร ฌานนั้นฌานนี้ เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นจะไม่รู้ เพราะท่านเหล่านั้นเป็นนิสัยปัญญาวิมุติ เพียงทำสมาธิตั้งใจมั่นได้แล้ว ใช้ปัญญาพิจารณาสัจธรรม มีความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมก็ได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าเท่านั้น

....ผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติในสมัยครั้งพุทธกาลมีจำนวนมากถึง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ การปฏิบัติของผู้มีปัญญาวิมุติ ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่มีพิธี ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว อยู่ในที่ไหนก็ใช้ปัญญาพิจารณาในสัจธรรมได้ จะ ยืน เดิน นั่ง นอน ทุกอิริยาบท ก็จะใช้ปัญญาพิจารณาได้ทุกเมื่อ แม้ทำงานอะไรอยู่ ก็น้อมเอางานที่เราทำ มาเป็นอุบายในทางปัญญาได้ อุบายธรรมที่จะนำมาเป็นองค์ประกอบทางปัญญามีมากมาย ถ้าเราเข้าใจในหลักของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในทุกสถานที่ มีสัจธรรมเต็มไปหมด ไม่ว่าจะอยู่ในน้ำ บนบก หรือสถานที่แห่งใดในโลกนี้ แม้เอาปลายเข็มเจาะแทงลงไปที่ไหน จะถูกสัจธรรมความจริงในที่แห่งนั้น

....ธุระของผู้ปฏิบัติมี ๒ อย่าง คือ

....๑. คันถธุระ คือ ธุระในภาตการศึกษา
....๒. วิปัสสนาธุระ คือ ธุระในการใช้ปัญญาพิจารณา

....ธุระทั้งสองนี้ ผู้ปฏิบัติต้องศึกษาให้เข้าใจ แล้วใช้ปัญญามาพิจารณา ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงในสิ่งนั้นๆ ภาคการศึกษาจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ไม่ว่างานทางโลก หรืองานทางธรรม ต้องศึกษาให้รู้ก่อนทั้งนั้น เพราะโลกกับธรรมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ถ้าไม่รู้จักธรรมก็จะมองเป็นโลกไปเสียทั้งหมดถ้าผู้รู้จักธรรม ก็สามารถใช้ปัญญาพิจารณาโลกให้เป็นธรรมได้ และสามารถตีความหมายให้แยกธรรมออกจากโลกได้อย่างชัดเจน

....เปรียบได้กับ น้ำฝนเป็นน้ำที่ใสสะอาดจืดสนิทโดยธรรมชาติ หากน้ำฝนนั้นตกลงสู่มหาสมุทร รวมอยู่ในน้ำทะเลก็จะเค็มไปด้วยกัน จะตักมาอม มาแตะปลายลิ้นเพื่อแยกแยะหาน้ำจืดนั้นจะไม่รู้เลย การแยกน้ำเค็มและน้ำจืดออกจากกันได้ ต้องมีเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้าไปกลั่นกรอง จึงแยกน้ำจืดออกจากน้ำเค็มได้ นี้ฉันใด การปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้น การจะแยกจิตอันบริสุทธิ์ออกจากกิเลสตัณหาอวิชชาได้ ไม่ใช่เพียงนั่งหลับตานั่งสมาธิให้ใจมีความสงบหรือเข้าฌานนั้นฌานนี้ได้ กิเลสตัณหาอวิชชาจะเหือดแห้งไปด้วย วิธีเช่นนี้หาใช่ไม่ ดังคำบาลีที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

ปัญญายะ ปริสุฌฺชติ
จิตจะมีความบริสุทธิ์ได้เพราะปัญญา
....ไม่มีใครบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้เพราะสมาธิความสงบในฌานแต่อย่างใด ให้เราเปลี่ยนความเห็นเสียใหม่ ไม่เช่นนั้นจะไปหลงในสมาธิความสงบ หลงอยู่ในฌานตลอดไปชั่วกาลนาน

๑๐. ปฏิบัติธรรมให้ถูกกับนิสัยของตนเอง

....ผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติจะง่ายในการปฏิบัติธรรม เพราะเป็นนิสัยอุคติตัญญู เป็นผู้รู้เห็นธรรมได้ง่าย ถ้าไปทำตามพวกมีนิสัยเจโตวิมุติ ซึ่งเข้ากันไม่ได้กับนิสัยของตัวเอง จึงกลายเป็นของยาก ทั้งที่ตัวเอง มีสติ สมาธิ ปัญญา อยู่ในตัวอยู่แล้ว กลับหลงประเด็นจับหลักเดิมในนิสัยของตัวเองไม่ได้ จึงเกิดความสับสนวกวน เปรียบได้กับเราเอาเงินซ่อนไว่ในกระเป๋าของตัวเอง แต่ก็หลงลืมไป คิดว่าตัวเองไม่มีเงิน เมื่อหิวข้าวปลาอาหารก็ไม่มีเงินที่จะซื้อกิน จึงทำให้ตัวเองเกิดความอดอยากหิวโหย ให้เราค้นดูในกระเป๋าของตัวเองบ้าง ก็จะรู้เห็นเงินในกระเป๋านั้น

....ความเข้าใจผิดคิดว่าเราไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา จึงเป็นปัญหาในการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก เพราะผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติ มีอุบายการปฏิบัติไม่เหมือนกับผู้มีนิสัยเจโตวิมุติอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสมัยครั้งพุทธกาลหรือในยุคปัจจุบันจะมีนิสัยปัญญาวิมุติ แต่ไปปฏิบัติในวิธีเจโตวิมุติ จึงเข้ากันไม่ได้ เพราะไม่เป็นนิสัยของตัวเอง ดังคำโบราณว่า เห็นช้างขี้ ก็จะขี้ให้เหมือนช้าง จะเลียนแบบให้เหมือนกับช้างให้ได้ เมื่อมาเข้าใจตัวเองว่ามีนิสัยปัญญาวิมุติแล้ว ก็ปฏิบัติให้เป็นไปตามนิสัยของตัวเองเสียจึงจะได้รับมรรคผลในชาตินี้

....หากมีคำถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีนิสัยอะไร การจะรู้นิสัยของตัวเองนั้นไม่ยาก ให้สังเกตดูตัวเองในขณะนั่งสมาธิ จะใช้บริกรรมอะไรก็ได้ หรือไม่ต้องใช้คำบริกรรมเลยก็ได้ เพียงมีสติระลึกรู้ลมหายใจเข้า มีสติระลึกรู้ในลมหายใจออก ทำใจให้เป็นปกติ อย่ากดดัน อย่าบังคับใจตัวเอง นั่งในท่าสบาย หายใจเป็นปกติ เพียงมีสติระลึกรู้อยู่กับลมหายใจ ทำอยู่อย่างนี้ได้นานหรือไม่นานก็จะรู้ตัวเอง

....วิธีง่ายๆที่จะครวจสอบนิสัยของตัวเองคือ เมื่อจิตรวมอนู่เป็นหนึ่ง เรียกว่าสมาธิตั้งัม่นได้ จากนั้นไป จิตก็จะค่อยๆลงสู่ความสงบเป็นอัปปนาสมาธิ ถ้าเป็นในลักษณะนี้ให้เข้าใจตัวเองว่า เราเป็นนิสัยเจโตวิมุติ ผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติ มีการนึกคำบริกรรมทำสมาธิเหมือนกัน จิตจะรวมลงเป็นหนึ่งเป็นสมาธิความตั้งใจมั่นได้ จะทำให้จิตลงสู่ความสงบลึกต่อไปอีกไม่ได้ ผู้มีนิสัยปัญญาวิมุตินี้จะทำได้เพียงสมาธิความตั้งใจมั่นเท่านั้น จากนั้นจะมีความอยากจะคิดในเรื่องนั้นเรื่องนี้ ถึงจะดึงจิตให้มานึกคำบริกรรมทำสมาธิอีก ก็นึกได้ไม่กี่นาทีแล้วก็คิดอีก ถ้าเป็นในลักษณะนี้ก็ให้รู้ตัวเสียว่า เราเป็นนิสัยปัญญาวิมุติ เมื่อจิตมีสมาธิตั้งใจมั่นได้ เมื่อใจอยากจะคิดก็ตั้งใจใช้ปัญญาคิดพิจารณาไปได้เลย เพราะนิสัยเราเป็นอย่านี้ก็ต้องใช้วิธีนี้ต่อไป ให้เข้าใจตามนี้

....เราต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนิสัยของตัวเอง ไม่ต้องฝักใฝ่มุ่งหมายเพื่อจะให้จิตมีความสงบอีก ถึงจะทำอนฃย่างไรก็เป็นสมาธิความสงบไม่ได้ ทำให้เสียกาลเวลาเหนื่อยเปล่า ไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะนิสัยของผู้มีปัญญาวิมุติจะทำได้เพียงสมาธิความตั้งใจมั่นเท่านั้น เมื่อสมาธิตั้งใจมั่นกับปัญญาได้ทำงานร่วมกันแล้ว จะเกิดพลังที่โดดเด่นเข้มแข็ง ได้รู้ได้เห็นอะไรไม่เสียเปล่า จะนำเอาเรื่องนั้นๆมาเป็นอุบายพิจารณาให้เป็นธรรมะในสิ่งนั้นให้ได้ สิ่งใดมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ให้น้อมเข้ามาเปรียบเทียบกับความเปลี่ยนแปลงของตัวเองทุกครั้งไป สิ่งใดที่มองเห็นว่าหมดสภาพไปไม่มีในสมมติเดิม ก็ใช้ปัญญาพิจารณาในสิ่งนั้นลงสู่อนัตตา โอปนยิโก น้อมเข้ามาหาตัวเองอยู่เสมอ พิจารณาว่า ร่างกายเราทุกส่วน ก็จะแตกสลายสิ้นสภาพไปเหมือนสิ่งเหล่านั้นอย่างแน่นอน ไม่มีสิ่งใดยืนยงคงอยู่ตลอดไปในโลกนี้ได้

....พระอริยเจ้าที่มีนิสัยปัญญาวิมุติในสมัยครั้งพุทธกาลนั้นมีมาก ในยุคนี้สมัยนี้ หากมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดขึ้นในโลก ก็จะมีผู้ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าเป็นจำนวนมากทีเดียว ดูจากสถานที่ต่างๆ ได้พากันปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจัง มีอยู่ทุกหนแห่ง วิการปฏิบัติจะเน้นหลักในวิธีทำสมาธิความสงบ หากผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติได้ไปฝึกทำสมาธิความสงบนี้ จึงทำไม่ได้ แต่ผู้สอนก็บอกว่าอย่าคิดในเรื่องอะไรนะ จิตจะฟุ้งซ่าน

....ด้วยการสอนอย่างนี้ ผู้ปฏิบัติจึงไม่มีปัญญาพิจารณาในสัจธรรม ที่ไหนก็สอนให้จิตอยู่ในปัจจุบัน จะนั่ง ยืน เดิน นอน ก็ให้จิตอยู่ในปัจจุบัน ถ้าเช่นนั้นก็ไม่ต้องทำอะไร อยู่เฉยๆในลักษณะนี้ความเจริญจะเกิดขึ้นได้อย่างไร น้ำจะท่วมไฟจะไหม้ก็จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่คิดหาวิธีป้องกันภัยทั้งหลายนี้เลย ถ้ามีการเจ็บป่วยไม่สบายก็ไม่คิดหาวิธีที่จะรักษา เมื่อกิเลสตัณหากำเริบก็ไม่มีปัญญาที่จะแก้ไข ปุถุชนคนธรรมดากิเลสตัณหายังมีอยู่เต็มหัวใจ เมื่อตายไปในชาตินี้กิเลสตัณหาก็จะพาให้จิตไปเกิดในอนาคตชาติหน้าอยู่นั่นเอง มิใช่ว่ารักษาจิตให้อยู่กับปัจจุบัน จิตมีความสงบแล้วกิเลสตัณหาจะหมดไปได้
.......................................................................

๑๑. สติ สมาธิ ปัญญา

....สติ สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็นสมบัติที่มีอยู่กับมนุษย์ทุกคน ไม่ว่ายุคใดใครเกิดมาในโลกนี้ จะมี สติ สมาธิ ปัญญา ติดตัวมาด้วยกันทั้งนั้น ในวัยเด็กอ่อน สติ สมาธิ ปัญญา มีอยู่ แต่ยังไม่ทำงาน ยังไม่แสดงออกมาให้ปรากฏ เมื่ออายุได้ ๒ - ๓ ปี สติ สมาธิ ปัญญา ก็เริ่มทำงานได้ เหมือนกับต้นมะม่วงที่อยู่ในเมล็ดะมะม่วง จะผ่าออกดูก็ไม่เห็นต้นมะม่วงแต่อย่างใด เมื่อเอาไปเพาะในดิน ต้นมะม่วงก็จะเกิดขึ้นจากเมล็ดมะม่วงนี้เอง นี้ฉันใด สติ สมาธิ ปัญญา ในวัยเด็กก็ฉันนั้น

....ในวัยเด็ก ๒ - ๓ ปี จึงมีสติระลึกรู้ในสิ่งใดๆได้ สมาธิความตั้งใจมั่นในการทำการพูดก็เห็นได้ชัด ปัญญาในการพิจารณาก่อนทำก่อนพูดก็เป็นไปตามปัญญาในวัยเด็ก การทำผิดพูดผิดคิดผิด การทำถูกพูดถูกคิดถูก เด็กก็ยังไม่รู้ว่าผิดถูกเป็นอย่างไร แต่เมื่อโตขึ้นมา สติ สมาธิ ปัญญา ก็ทำงานได้อย่างเต็มที่ ถ้าไม่มีธรรมที่สุจริต ไม่มีหิริความละอายแก่ ไม่มีโอตตัปปะความเกรงกลัวต่อผลของบาป สติ สมาธิ ปัญญา ที่มีอยู่จะเป็นเครื่องมือในการทำชั่วพูดชั่วคิดชั่วได้ จะกลายเป็นมิจฉาสติ ระลึกในทางที่ผิด มิจฉาสมาธิจะตั้งใจมั่นในทางที่ผิด ปัญญาการคิดในเรื่องต่างๆก็จะคิดในทางที่ผิด มีความคิดที่เห็นแก่ตัวเอาประโยชน์ตนเป็นหลัก หรือเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องในกลุ่มของตัวเองที่เรียกว่า คนพาลสันดานชั่ว ไม่กลัวความผิด คิดหาประโยชน์ส่วนตนเพียงอย่างเดียว เป็นวิธีหาความสุขอยู่บนความทุกข์ของคนอื่น เป็นผู้มีนิสัยเห็นแก่ตัว เป็นในลักษณะนี้นักปราชญ์ไม่สรรเสริญ สังคมเมินหน้าหนี นี้คือ เอาสติ เอาสมาธิ เอาปัญญา ไปใช้ในทางไม่ชอบธรรม จึงเป็นมิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาปัญญาโดยไม่รู้ตัว เปรียบเหมือนอาวุธที่ร้ายแรงทำลายล้างได้ทุกอย่าง ถ้าหากอาวุธนี้อยู่ในหมู่ตำรวจ ทหาร จะใช้อาวุธปราบปรามศัตรูคู่อริได้ทุกกาลเวลา ถ้าอาวุธนี้อยู่ในมือของศัตรู เราจะเป็นผู้พ่ายแพ้ตลอดไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องมีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ชอบธรรม เป็นฐานรองรับสติ สมาธิ ปัญญา ไว้ให้ดี มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ชอบธรรมก็ฉันนั้น

....พระพุทธเจ้าได้ประกาศศาสนาเผยแผ่ธรรมะเข้าสู่พุทธบริษัททั้งหลาย พระองค์ได้อธิบายแจกแจงในเรื่องความผิดความถูกให้แก่พุทธบริษัททั้งหลายให้เข้าใจให้เหตุผลประกอบอย่างชัดเจนว่า ถ้าทำผิดจะมีผลที่ผิดตามมา ถ้าพูดผิดก็จะมีผลในทางที่ผิดตามมาเช่นกัน ข้อสำคัญคือหากมีความเห็นผิด การทำการพูดก็ผิดไปตามกัน เพราะทุกคนมีความเห็นผิดอยู่ในตัวอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ในความเห็นผิดของตัวเอง จึงได้ทำผิดพูดผิดมาแล้วจนเคยตัว

....พระพุทธเจ้าจึงได้ยกอุทาหรณ์เปรียบเทียบด้วยเหตุผล ให้คนที่ฟังยอมรับความจริงที่พระพุทธเจ้านำมาอบรมสั่งสอนเป็นสัจธรรมความจริง ที่มีอยู่ในตัวบุคคลที่เกิดมาในโลกนี้ จึงเรียกว่าสัจธรรมนี้เป็นของเก่า พระพุทธเจ้าก็ยกเอาเรื่องเก่าๆที่เราประพฤติกันอยู่มาเป็นอุบายในการสอน เรียกว่า เอาเรื่องของคนมาสอนคน แต่ก่อนมีความเข้าใจว่ามีความเห็นอย่างนี้ถูก เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสว่าความเห็นอย่างนี้ผิด ผู้รับฟังด้วยปัญญาที่มีเหตุผลจึงยอมรับความจริง

....ในจุดเริ่มต้น พระพุทธเจ้าต้องการให้คนรู้จักความผิดของตัวเอง เมื่อรู้จักความผิดของตัวเองแล้ว จึงเปลี่ยนจากความเห็นผิดมาเป็นความเห็นถูกได้ ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรม เมื่อมีความเห็นชอบเกิดขึ้นในใจอย่างนี้ จึงเรียกว่าปัญญาได้เกิดขึ้นแล้วกับท่านผู้นั้น เห็นผิดเป็นผิด เห็นถูกเป็นถูก การทำผิด การทำถูก การพูดผิดการพูดถูก การคิดผิดการคิดถูก จะรู้ได้ทันที สิ่งที่ผิดไม่มีใครๆต้องการ จึงต้องละ สิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมนักปราชญ์สรรเสริญ

....เมื่อฝึกใจให้เกิดความเห็นที่ถูกต้องอย่างนี้ ให้เราเข้าใจกับตัวเองว่า ปัญญาได้เกิดขึ้นกับตัวเราแล้ว ถึงจะเป็นปัญญาอยู่ในขั้นโลกีย์ ก็เป็นธรรมขั้นโลกียธรรม เรียกว่า รู้เห็นธรรมที่เป็นสัจธรรมในโลกนี้แล้วอย่างชัดเจน

....ธรรมทั้งหลายมีอยู่ในโลกนี้มิใช่หรือ เมื่อมีความรู้แจ้งเห็นจริงในความเป็นอยู่ของโลกอย่างนี้ จะมาหลงในโลกนี้ทำไม ผู้ที่มาเกิดตายในโลกนี้บ่อยๆก็คือผู้หลงโลก จึงได้ยึดติดเกิดตายในโลกนี้เรื่อยมาจนถึงชาติปัจจุบัน และจะหลงโลกเกิดตายไปในภพหน้าชาติหน้าหาทางสิ้นสุดไม่ได้ นี้คือความเห็นผิดว่าโลกนี้เป็นสถานที่น่าอยู่นั้นเอง


....สติ ความระลึกได้ สมาธิความตั้งใจมั่น ปัญญความรอบรู้ตามความเป็นจริง ทั้งสามอย่างนี้เป็นอาวุธหลักของผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติ ธรรมะหมวดอื่นๆเป็นอาวุธเสริมที่นำมาประกอบในการทำงานตามความเหมาะสมแล้วแต่นิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

....เปรียบได้กับคนป่วยไข้ที่มีโรคต่างๆ หมอก็ต้องให้ยาคนละอย่างกัน คนไข้ต้องอาศัยหมอตรวจอาการหรือเอ็กซเรย์ดูฟิล์มประกอบในการตัดสินว่าเป็นโรคอะไรกันแน่ ถ้าหมอมีความรู้ดีในการวินิจฉัย ตัดสินใจว่าควรให้ยาหรือควรผ่า ถ้าหมอรักษาถูกวิธีคนป่วยก็จะหายจากโรคได้ การปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้น

....เราต้องฝึกสติ สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องเอ็กซเรย์ เพื่อให้เห็นภาพของกิเลสตัณหาภายในใจ หาวิธีผ่าตัดเอากิเลสตัณหาออกจากใจให้ได้ ขณะนี้เราเป็นหมอหรือยัง มีปัญญารอบรู้ในกิเลสตัณหาหรือยัง ถ้าเราไม่รู้เห็นกิเลสตัณหา จะทำลายกิเลสตัณหาได้อย่างไร ผู้ที่ละกิเลสตัณหาอาสวะได้นั้นต้องมีความพร้อมด้วย สติ สมาธิ ปัญญา ที่สมบูรณ์ จึงจะกำจัดให้กิเลสตัณหาน้อยใหญ่ให้หมดไปจากใจได้

....หรือจะเปรียบได้กับ แม่ทัพที่ออกศึกสู้รบกับอริราชศัตรู แม่ทัพต้องเตรียมพร้อมด้วยของ ๓ อย่าง
....๑. กองเสบียง
....๒. คลังแสง หมายถึงอาวุธ
....๓. กำลังพล

เมื่อเข้าสนามรบจริง ก็ต้องมีกองทัพสืบหาข่าวกองกำลังฝ่ายข้าศึกศัตรู เพราะหมู่ศัตรูมีกองเสบียงอาหาร มีคลังแสงคืออาวุธ มีกำลังพลคือทหาร จะยึดเอาในจุดแรกคือกองเสบียงอาหาร ถ้ายึดกองเสบียงได้ โอกาสที่จะชนะศัตรูย่อมมีสูง นี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติเพื่อเอาชนะกิเลสตัณหาน้อยใหญ่ก็ฉันนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องรู้วิธีตัดกำลังของกิเลสตัณหาให้ได้ นั้นหมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เรียกว่ากามคุณ ๕ กิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นภายในใจกลายเป็นโลภะ โทสะ โมหะ อวิชชา ก็เพราะใจมีความยินดีรักใคร่อยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มาหลงอยู่ในกามคุณ ๕ นั้น

....คำว่า ตัดกำลัง หมายถึง ความสำรวมระวังไม่ให้ใจมีความยินดียินร้ายในกามคุณ ๕ นี้ กามคุณ ๕ ดูผิวเผินเหมือนกับว่า เป็นสิ่งหยาบ และเป็นขั้นต่ำ ถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว เป็นทั้งขั้นต่ำ ขั้นกลาง และขั้นละเอียดสูงสุด ถ้าละกามคุณ ๕ นี้ได้อย่างสมบูรณ์ ผู้นั้นจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นอนาคามี และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ การปฏิบัติธรรมในระดับสูงได้อย่างนี้น้อยคนจะทำได้ เพียงอธิบายให้รู้เอาไว้เท่านั้น ส่วนภูมิธรรมของพระโสดาบัน ภูมิธรรมของพระสกิทาคามี ก็ยังละกามคุณ ๕ นี้ไม่ได้ บุคคลที่เป็นพยานหลักฐานคือนางวิสาขา ตามประวัติ เป็นผู้ได้บรรลุธรรมขั้นพระโสดาบันเมื่ออายุได้ ๗ ปี เมื่อถึงอายุในวัยสาวก็มีความยินดีพอใจรักใคร่อยู่ในกามคุณ มีความพอใจแต่งงานมีลูกเกิดขึ้นถึง ๒๐ คน

....ถ้าได้อ่านประวัติของพระอริยเจ้าแต่ละท่านแต่ละกลุ่มให้เข้าใจ จะง่ายต่อการปฏิบัติ การจัดหาหมวดธรรมมาเป็นอุบายประกอบปัญญาเป็นของง่าย เพราะขั้นตอนในหมวดธรรม พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วอย่างชัดเจน เป็นขั้นตอนหมวดหมู่เฉพาะภูมิธรรมแต่ละขั้นอยู่แล้ว ภูมิธรรมของพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ จะปฏิบัติธรรมในหมวดอะไรมีอยู่ในตำราอย่างสมบูรณ์

....การปฏิบัติธรรมที่จะให้เป็นไปในมรรค ผล นิพพาน จะง่ายจะยากขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่า มี สติ สมาธิ ปัญญา เป็นของตัวเองมากน้อยแค่ไหน และหยาบละเอียดเพียงใด มิใช่ว่าจะเอาความรู้ที่ได้ศึกษามาเป็น สติ สมาธิ ปัญญาได้ เช่น พ่อแม่หลายคนอ่านหนังสือไม่ได้ เขียนหนังสือไม่เป็น ไม่มีความรู้ภาคการศึกษาในทางธรรมในทางโลกอะไร แต่ทำไมเขามีสติ มีสมาธิ มีปัญญา อบรมสั่งสอนลูกหลานให้เป็นคนดีได้ฉันใด ในสมัยครั้งพุทธกาล ผู้ที่ไม่รู้จักหมวดธรรมอะไรก็ได้บรรลุธรรมได้ก็ฉันนั้น

....ในสมัยครั้งพุทธกาลยังไม่มีหนังสือธรรมะให้คนอ่าน ผู้จะรู้ธรรมต้องฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าทั้งหลายสดๆร้อนๆ การฟังธรรมจะมีความเข้าใจในหลักความเป็นจริงได้ ผู้ฟังต้องมีสติ มีสมาธิ มีปัญญาในการฟัง และมีเหตุผลเป็นของตัวเองในการตัดสินใจ คนหลายกลุ่มที่ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าได้บรรลุธรรม เช่นกลุ่มของพระเจ้าพิมพิสาร มีหนึ่งแสนสองหมื่นคน แต่ละคนยังไม่เคยรู้จักพระพุทธเจ้ามาก่อน ความรู้ในหลักธรรมก็ยังไม่เข้าใจว่าธรรมะเป็นอย่างไร สติ สมาธิ ปัญญา ก็ยังไม่เข้าใจ ทั้งที่สติ สมาธิ ปัญญา มีอยู่ในตัวพร้อมแล้ว เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า เขาก็มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา รองรับพระธรรมความจริงจากพระพุทธเจ้า และได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคน นอกนั้นเป็นผู้มีความหนักแน่นในไตรสรณคมน์ ให้เราคิดดูให้ดี ท่านเหล่านี้ได้ทำสมาธิให้จิตมีความสงบแล้วเกิดปัญญาขึ้นแต่เมื่อไร ในตัวบุคคลมีความพร้อมแล้ว สติ สมาธิ ปัญญา นำมาใช้ในทางธรรมก็เท่านั้นเอง ไม่เห็นว่าจะเกิดความยุ่งยากสับสนแต่อย่างใด.

......................................................................

๑๒. การใช้ปัญญาพิจารณาหลักปัจจุบัน

....คำว่าปัจจุบัน มี ๒ หมวดด้วยกัน
....๑. ปัจจุบันในวิธีการทำสมาธิ
....๒. ปัจจุบันในวิธีการเจริญปัญญา
....ผู้ปฏิบัติต้องรู้จักในปัจจุบันทั้ง ๒ นี้เอาไว้ ในเมื่อปฏิบัติต้องใช้หลักปัจจุบันให้ถูกกาล เช่น การทำสมาธิก็ต้องใช้ปัจจุบันในวิธีทำสมาธิ มีสติระลึกรู้อยู่กับปัจจุบัน อดีตที่ผ่านไปแล้วอย่าไปคิดถึง อย่าไปนึกคาดการณ์ในเรื่องอนาคตที่จะเกิดขึ้น ให้ยืนหยัดปักใจอยู่ในปัจจุบันให้หนักแน่น นี้เป็นปัจจุบันในการทำสมาธิ ส่วนมากจะสอนกันเพียงเท่านี้และรู้กันเพียงเท่านี้

....ปัจจุบันในวิธีการเจริญวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้เข้าใจว่า ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ คิดพิจารณาย้อนหลังว่า ชีวิตที่ผ่านมามีความทุกข์กายทุกข์ใจในเรื่องใดบ้าง เฉียดต่อความตายมาแล้วหลายครั้งหลายหน ที่มีชีวิตอยู่ได้จนถึงปัจจุบันนี้ถือว่าโชคดีไป มีหลายคนที่ตายจากเราไป ตัวเราก็จะตายไปเหมือนเขาคนนั้นเช่นเดียวกัน บางคนมีอายุขัยน้อยบางคนมีอายุขัยมาก ให้เราใช้ปัญญาพิจารณาความแก่ พิจารณาความเจ็บป่วยไข้ พิจารณาความตายที่จะเป็นผลตามมา ที่พากันสวดกันอยู่เสมอว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ นี้หมายความว่ามีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เราสามารถใช้ปัญญาพิจารณาดูเหตุการณ์ที่จะเกิดมีกับตัวเองอยู่แล้ว เราจะมีความแก่ เราจะมีความเจ็บป่วย และเราจะมีความตายในที่สุด นี้อธิบายไว้เป็นตัวอย่าง จากนั้นให้ท่านคิดพิจารณาเสริมปัญญาของตัวเอง

....ปัจจุบันชาติ หมายถึง เราได้เกิดมาในชาติปัจจุบัน มีความเป็นอยู่อย่างนี้ๆ ถ้าเรามีความสุขสบายก็ใช้ปัญญาย้อนหลังว่า ในอดีตชาติก่อน เราได้ทำแต่กรรมดีเอาไว้ เมื่อเกิดในชาติปัจจุบันนี้ กรรมดีได้ส่งผลให้เรามีความสุขสบาย คำว่า กรรมดี ที่ทุกคนได้บำเพ็ญมาแล้วในชาติอดีตมีจำนวนมาก เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การเจริญเมตตาภาวนา การไหว้พระสวดมนต์ การสร้างวัด สร้างศาลา มหาเจดีย์ หรือทำความดีแก่พ่อแม่ ทำความดีในสังคมทั่วๆไป หรือความดีอย่างอื่นอีกมากมาย ความดีทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้เราได้ประสบในความสุขสบายในชีวิตชาตินี้ นี้เป็นปัจจุบันในวิธีการใช้ปัญญา จะพิจารณาย้อนหลังในอดีตที่ผ่านมาได้ จึงเป็น

....อตีตังปัญญา เป็นปัญญาคิดพิจารณาในเรื่องชาติอดีตที่ผ่านมา เพื่อเป็นอุบายให้กำลังใจแก่ตัวเองปลอบใจตัวเอง

....อนาคตังปัญญา ใช้ปัญญาพิจารณาในชาติอนาคต เพื่อปลอบใจตนเองว่า ภพหน้าชาติหน้าเราจะรักษาชาติภูมิของมนุษย์นี้ไว้ให้ได้ เราจะทำแต่กรรมดีเหมือนชาติอดีตที่เราได้ทำมา ความดีทุกอย่างในชาตินี้ เราจะทำให้เต็มที่เต็มความสามารถของเรา เมื่ออาสวะกิเลสยังไม่ได้สิ้นไปในชาตินี้ ก็จะต้องได้ไปเกิดใหม่ในภพหน้าชาติหน้า กรรมดีที่ทำไว้นี้จะส่งผลให้ไปเกิดในตระกูลที่ดี เป็นตระกูลสัมมาทิฏฐิ มีความเป็นอยู่ในความสุจริตชอบธรรม อันจะนำไปสู่ความเจริญในชาตินั้นๆ บุญบารมีที่ได้บำเพ็ญในชาติปัจจุบัน เป็นบันไดก้าวขึ้นสู่มรรคผลนิพพานในชาติหน้าอย่างแน่นอน นี้เป็นอุบายในการใช้ปัญญาพิจารณาในชาติปั๗๗บันที่จะไปสู่ชาติอนาคต

....หลักปัจจุบันที่ข้าพเจ้าได้อธิบายไว้นี้ ให้ผู้อ่านได้พิจารณาในเหตุผล มิใช่ว่าจะมีเฉพาะในหลักของสมถะเพียงอย่างเดียว ต้องศึกษาในหลักปัจจุบันของวิปัสสนาเอาไว้ เพื่อจะเจริญในวิธีของสมาธิและเจริญในวิธีของวิปัสสนา เพราะการเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นของคู่กัน ในกาลใดควรเจริญในหลักปัจจุบันที่เป็นสมถะ ในกาลใดควรเจริญในปัจจุบันที่เป็นวิปัสสนา มิใช่ว่าเจริญในหลักสมถะแล้วจะเกิดวิปัสสนาขึ้นมาเองตามที่เข้าใจ ให้เปลี่ยนความเห็นเสียใหม่ ตีความหมายของวิปัสสนาให้ถูกต้อง
คำว่า วิปัสสนา หมายถึง ปัญญา
คำว่า ปัญญา หมายถึง ความคิด
ความคิดก็มาจากความเห็น ความเห็นเป็นอย่างไรก็คิดไปอย่างนั้น ถ้ามีความเห็นผิดก็ใช้ความคิดผิด ถ้ามีความเห็นถูกก็ใช้ความคิดถูก ฉะนั้นให้เราศึกษาความเห็นให้เข้าใจ ความเห็นผิดเป็นอย่างไร ความเห็นถูกเป็นอย่างไร ถ้าเข้าใจแล้วจะเลือกเอาความเห็นที่ถูกเป็นธัมมาธิปไตยได้ นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศพระพุทธศาสนาในสมัยครั้งพุทธกาล ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
...."ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดารอยเท้าสัตว์ทั้งหลายย่อมรวมอยู่ในรอยเท้าช้างแห่งเดียว ฉันใด สัจธรรมที่มีความเป็นจริงทั้งหลายย่อมรวมอยู่ในสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบนี้ทั้งหมด" นี้จึงเรียกว่าสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ จึงเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา เป็นหมวดธรรมที่นำมาปฏิบัติแล้วจะเข้าถึงซึ่งมรรค ผล นิพพาน จึงแน่ชัดอยู่แล้วว่า สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นรากแก้ว เป็นต้นกำเนิดให้แก่หมวดธรรมทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเริ่มต้นจากความเห็นชอบนี้เอาไว้ ให้เข้าใจในหลักของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกนี้ย่อมเป็นไปในไตรลักษณ์นี้ด้วยกัน ฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจในความจริงเอาไว้

.......................................................................

๑๓. ปัญญา นำหน้า ศีล สมาธิ

....หลักปริยัติเพียงเป็นแผนที่บอกเส้นทาง แผนที่เดิมที่พระพุทธเจ้าได้วางเอาไว้มีความถูกต้องตรงต่อจุดหมาย หลังจากคายนาในครั้งที่ ๕ ผ่านไป ในยุคต่อมา การตีความในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เริ่มผิดเพี้ยนไป ไม่ตรงต่อคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้าเท่าไรนัก ในยุคอรรถกถาจารย์ ในยุคฎีกาจารย์ ก็ได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามยุคสมัย หรือได้สลับสับเปลี่ยนในหัวข้อธรรมบางประโยค ทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปอีกรูปแบบหนึ่ง ไม่เป็นไปตามความเดิมที่พระพุทธเจ้าได้วางเอาไว้ ให้ศึกษาดูง่ายๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องไตรสิกขา

....ในไตรสิกขาได้ย่อมาจากมรรค ๘ มี ๓ หมวดด้วยกัน ในยุคปัจจุบันที่ได้ศึกษาและรู้กันอยู่คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเอามาเพื่อการศึกษาก็ไม่มีปัญหาอะไร ถ้านำมาปฏิบัติจะขัดกันกับมรรค ๘ อย่างเห็นได้ชัดทีเดียว ในมรรค ๘ เป็นข้อบัญญัติที่พระพุทธเจ้าได้เรียบเรียงไว้แล้วเป็นอย่างดี เป็นแนวทางปฏิบัติที่เชื่อมโยงต่อกันและเป็นวิธีปฏิบัติที่ง่ายไม่ขัดกัน

....เริ่มตันจาก สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปโป การดำริชอบ สองข้อแรกเป็นหมวดของปัญญา

....สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ สามข้อในท่ามกลาง เป็นหมวดของศีล

....สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ สัมมาสติ ความระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ สามข้อหลังเป็นหมวดของสมาธิ

....ถ้าเรียงลำดับของมรรค ๘ ต้องวางตำแหน่งของหมวดธรรมให้เป็นไปตามหลักเดิมจะออกมาในรูปแบบ ปัญญา ศีล สมาธิ ด้วยเหตุผลควรออกมาเป็นอย่างนี้ถ้าเรียบเรียงไตรสิกขาให้เป็นไปตามมรรค ๘ ที่พระพุทธเจ้าได้วางเอาไว้จะง่ายต่อการปฏิบัติ เพราะทุกอย่างจะต้องเริ่มต้นจากความเห็นชอบทั้งนั้น

ทำไมพระพุทธเจ้าจึงเอาปัญญาเป็นจุดเริ่มต้น
ข้าพเจ้ามีเหตุผลให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจดังนี้

ปัญญามี ๓ หมวด ให้ท่านศึกษาและตีความหมายให้ดี
๑. สุตมยปัญญา
๒. จินตามยปัญญา
๓. ภาวนามยปัญญา
ปัญญาทั้ง ๓ นี้ มีวิธีการศึกษาให้เป็นไปตามขั้นตอนเชื่อมโยงต่อกัน เริ่มต้นจาก

๑. สุตมยปัญญา เป็นปัญญาภาคการศึกษาให้รู้ เช่น ศึกษาในหมวดของศีล ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ให้เข้าใจ ศีลแต่ละหมวดแต่ละข้อจะรักษาอย่างไรจะให้มีความบริสุทธิ์ได้ เพราะศีลทั้งหมดเป็นปริยัติ ต้องศึกษาให้รู้ เมื่อรู้แล้วก็ใช้จินตามยปัญญามาวินิจฉัย วิจัยวิเคราะห์ว่า ศีลข้อไหนรักษาอย่างไร ละเว้นข้อห้ามอย่างไร เพราะศีลแต่ละข้อมีการละเว้นต่างกัน
....คำว่า เว้น เป็นเรื่องของใจที่เรียกว่า เจตนา ทำใจให้ละเว้นในข้อห้ามนั้นๆ ถ้าใจยังละเว้นไม่ได้ ก็ต้องละเว้นทางกาย ละเว้นทางวาจา ที่พูดกันว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อยนั้นเอง

หลักวิธีการรักษาศีล ๓ ประการ
....ศีลบางข้อรักษาทางกาย ศีลบางข้อรักษาทางวาจา ศีลบางข้อรักษาทางเจตนาหมายถึงใจ เอาเจตนาทางใจเป็นหลักในการรักษาศีล คือ
๑. รักษาทางกายและใจ
๒. รักษาทางวาจาและใจ
๓. รักษาทางกาย วาจา ใจ
ให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจตามนี้
....ศีลทั้งหมดเป็นหลักปริยัติ เป็นข้อห้ามที่บัญญัติขึ้นมาในภายหลัง เป็นกฎระเบียบในความประพฤติที่ดีงามแก่ตัวเอง และให้สังคมอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ให้คนมีความรักปรองดองสามัคคี ไม่มีความระแวงต่อกัน เหมือนกฎหมายการปกครอง เมื่อคนทำอะไรลงไป สังคมมีความเดือดร้อนไม่เป็นธรรม จึงได้ตรากฎหมายขึ้นมาเป็นข้อบังคับให้อยู่ในกรอบ ให้คนมีความประพฤติในทางที่ดี นี้ฉันใด ศีลก็เป็นข้อกฎหมายบังคับให้อยู่ในกรอบฉันนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้บัญญัติศีลเอาไว้

....ผู้จะรักษาศีลต้องใช้ปัญญาศึกษาในหมวดของศีลให้เข้าใจ ในลักษณีนี้ปัญญาต้องมาก่อนมิใช่หรือ ปัญญาที่ว่านี้มีอยู่ในตัวเราอยู่แล้ว ทุกคนที่เกิดมาต้องมีปัญญาประจำตัวมาด้วยกัน ฉะนั้น จึงใช้ปัญญานี้ให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเองและใช้ประโยชน์ในสังคมทั่วไป เป็นโลกีย์ปัญญาที่ทุกคนใช้กันประจำโลกอยู่แล้ว เมื่อศึกษาในทางธรรมก็ใช้ปัญญาในระดับนี้มาศึกษา จึงเรียกว่า สุตมยปัญญา เป็นปัญญาในภาคการศึกษา จึงจะรู้ได้ว่าอะไรผิดอะไรถูก พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้มีความชัดเจน ถ้าไม่ศึกษาให้รู้ก่อน การทำงานจะมีปัญหาเกิดขึ้นในภายหลัง ดังคำว่า

นิสัมมะ กะระณัง เสยโย
ก่อนทำก่อนพูดต้องใช้ปัญญาคิดพิจารณาทุกครั้ง
พิจารณาว่าการทำอย่างนี้ผิดหรือถูก การพูดอย่างนี้ผิดหรือถูก ถ้าเห็นว่าการทำอย่างนี้ผิด การพูดอย่างนี้ผิด ถึงจะมีความอยากพูดอยากทำในเรื่องนั้นก็ต้องอดทน ถ้าเห็นว่ามีความถูกต้องชอบธรรม เป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ให้ทำให้พูดในเรื่องนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วอย่างชัดเจนในเรื่องของปัญญามาก่อนศีล ที่อธิบายมาในสุตมยปัญญาเพื่อการศึกษาในหมวดศีล คิดว่าท่านคงเข้าใจตามนี้

....สมาธิ นี้ก็เป็นหมวดหนึ่งที่มีผู้นำไปสอนและปฏิบัติกันเป็นอย่างมาก ยังมีข้อแม้ต่อไปว่า เมื่อทำสมาธิจิตมีความสงบได้แล้วปัญญาจะเกิดขึ้น เหมือนกับสมาธิความสงบเป็นไสยศาสตร์มีอำนาจทำให้ปัญญาเกิดขึ้น นี้พูดกันไม่ได้ดูตำราประวัติของพระพุทธเจ้าเลย พวกดาบสฤาษีในสมัยครั้งพุทธกาลหรือก่อนพุทธกาลมีประวัติให้ศึกษากันอยู่แล้ว ทำไมม่ศึกษาดูบ้าง หรือในยุคปัจจุบันที่ประเทศอินเดีย ประเทศเนปาล หรือหลายๆประเทศก็มีผู้ทำสมาธิความสงบกันอยู่ ก็ไมเห็นใครมีปัญญาเกิดขึ้นแต่อย่างใด

....ในหลักเดิมพระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ ก่อนจะทำสมาธิต้องใช้ปัญญาศึกษาในหมวดสมาธิให้เข้าใจ ขั้นตอนของสมาธิมีวิธีทำอย่างไรบ้าง ขณิกสมาธิ อุปาจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ สัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ โมหะสมาธิ วิธีเข้ารูปฌาน วิธิเข้าอรูปฌาน สมาธิตั้งใจมั่น สมาธิความสงบ สมาธิทั้งหมดนี้ต้องศึกษาด้วยปัญญาให้เข้าใจ ว่ามีหลักการและวิธีปฏิบัติเริ่มต้นอย่างไร เรียกว่า มีปัญญารอบรู้ในวิธีทำสมาธิ มีตำราศึกษากันอยู่เพราะหลักของสมาธิเป็นปริยัติ ต้องใช้สุตมยปัญญามาศึกษาให้รู้ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติให้ถูกต้อง มิใช่ว่าจะนั่งหลับตานึกคำบริกรรมไปแบบลอยๆโดยขาดเหตุผล

....บางคนทำสมาธิมีความสงบได้นิดหนึ่ง ก็มีการอวดตัวว่าเป็นผู้ภาวนาดี เมื่อมีอภิญญาข้อหนึ่งข้อใดเกิดขึ้นก็ยิ่งหลงตัวลืมตัวไปกันใหญ่ ถ้าทำสมาธิจิตถึงขั้นรูปฌาน อรูปฌาน ก็จะเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ เหมือนพระ ๓๐ รูปที่ได้อธิบายมาแล้ว ขอให้ท่านผู้อ่านจงเข้าใจในเหตุผลที่ได้อธิบายมานี้

....หลายครั้งที่มีผู้ทำสมาธิมาถามข้าพเจ้าว่า จิตมีความสงบเป็นอย่างนั้น อาการของจิตเป็นอย่างนี้ รู้เห็นอย่างนั้นอย่างนี้หลายๆเรื่องที่เขาอธิบายไป ในที่สุดเขาก็ถามว่า วิธีการทำอย่างนี้ถูกทางไหมและจะเข้าสู่มรรคผลนิพพานได้ไหม ข้าพเจ้าก็ต้องหาทางออกแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น ว่า ทำไปเถอะๆ วิธีการทำอย่างนี้ข้าพเจ้าไม่เคยปฏิบัติและไม่เคยสอนใครในวิธีอย่างนี้ ผิดถูกอย่างไรก็ให้ไปถามผู้ที่สอนเอง ข้าพเจ้าเคยพูดเรื่องที่มีคนมาถามอย่างนี้ ด้วยความหวังดีก็ได้อธิบายให้ฟัง ว่าผิดจากแนวทางของมรรคผล เมื่อเขากลับไปมีผลตอบมาว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ภาวนาปฏิบัติผิด บวชมาหลายปีไม่มีความรู้ในวิธีทำสมาธิเลย จากนั้นมา ข้าพเจ้าต้องระวังตัวไม่ตอบคำถามว่าผู้นั้นภาวนาปฏิบัติผิด จะบอกเฉพาะผู้มีความเชื่อมั่นในตัวข้าพเจ้าเท่านั้น จึงจะพูดตรงๆให้ฟังเป็นรายบุคคลไป

....ในยุคนี้มีหลายครูอาจารย์ที่สอนในวิธีการทำสมาธิกัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การปฏิบัติจะมีความเน้นหนักในการทำสมาธิกันเป็นอย่างมาก หลายครูหลายอาจารย์ก็สอนในลักษณะเดียวกัน เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิดีแล้วจะมีปัญญาเกิดขึ้นเหมือนกัน ในบางสำนักทำสมาธิเพื่อให้เกิดพลังจิต แล้วเอาไปประกอบในการรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วย ในทางพระพุทธศาสนาทำสมาธิเพื่อให้เกิดพลัง แล้วนำไปประกอบเสริมปัญญาให้มีความฉลาดรอบรู้ กล้าหาญ ให้เกิดความรู้เห็นในสัจธรรมตามความเป็นจริง ฉะนั้นการทำสมาธิไม่ได้ผูกขาดว่าผู้นับถือศาสนาพุทธเท่านั้นทำได้ ในศาสนาอื่น หรือผู้ไม่นับถือศาสนาอะไรก็ทำสมาธิให้เกิดความสงบได้ จะมีศีลหรือไม่มีศีลก็ทำสมาธิให้เกิดความสงบได้เช่นกัน

....สุตมยปัญญา เมื่อได้ศึกษารู้สมาธิในทุกขั้นตอนแล้ว จากนั้นก็ใช้จินตามยปัญญามาพิจารณาว่า สมาธิแบบไหนที่ถูกกับจริตนิสัยของเรา ก็ให้เราทำสมาธินั้น แต่ลองใช้วิธีทำสมาธิเพื่อจะทดสอบดูใจตัวเอง เมื่อนึกคำบริกรรมไปชั่วระยะ ๑๐ นาที ก็พอจะรู้แล้วว่า เรามีนิสัยเป็นปัญญาวิมุตหรือเป็นนิสัยเจโตวิมุติ ส่วนมากจะเป็นนิสัยปัญญาวิมุติ เพราะนั่งสมาธิจิตตั้งมั่นได้แล้ว ชอบคิดในเรื่องต่างๆ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็เอาเพียงสมาธิความตั้งใจมั่น เพื่อนำไปประกอบกับปัญญาพิจารณาในหลักสัจธรรมได้เลย ผู้ปฏิบัติต้องใช้ปัญญาทั้งสองคือ สุตมยปัญญาและ จินตามยปัญญาให้ต่อเนื่องกัน ปัญญาขั้นเริ่มต้นเป็นปัญญาภาคการศึกษาให้รู้ จินตามยปัญญาเป็นปัญญาขั้นวินิจฉัยให้รู้ในความผิดความถูก
หากมีคำถามว่า ภาวนามยปัญญาอยู่ตรงไหน เมื่อไรจะถึงขั้นภาวนามยปัญญา
ตอบ ภาวนามยปัญญา ในขณะนี้ยังไม่ถึงจุดที่จะนำภาวนามยปัญญามาใช้ เพราะเป็นปัญญาในระดับสูงที่เรียกว่า วิปัสสนาญาณ ที่จะเชื่อมโยงเข้าสู่ปฏิเวธ เพื่อจะเข้าสู่อริยมรรค อริยผล ในจุดเริ่มต้นให้เราฝึกฝนในระดับปัญญาทั้งสองนี้ให้ชำนาญ จับคู่กันให้ถูก เช่นสุตมยปัญญา เป็นปัญญาภาคการศึกษาในปริยัติ จินตามยปัญญา จับคู่กันกับภาคปฏิบัติ ที่พูดกันอยู่เสมอว่า การเจริญวิปัสสนา ก็หมายถึงจินตามยปัญญานั่นเอง เป็นปัญญาที่ใช้ในการพิจารณา ที่เรียกว่า ธุระมี ๒ อย่าง คือ
๑. คันถธุระ เป็นธุระในภาคการศึกษา
๒. วิปัสสนาธุระ เป็นธุระในการเจริญวิปัสสนา
หลักนี้ก็มีในตำราอยู่แล้ว จะไม่มีในคำว่า สมาธิธุระในการทำสมาธิแต่อย่างใด เพราะสมาธิเป็นหลักปริยัติอยู่ในหมวดธรรมทั้งหลายอยู่แล้ว สุตมยปัญญาเป็นปัญญาศึกษาในหมวดศีลหมวดสมาธิ จินตามยปัญญาเป็นปัญญาขั้นพิจารณาด้วยปัญญา เลือกเอาอุบายในการทำสมาธิให้เหมาะสมกับตัวเอง เป็นปัญญาศึกษาในหมวดธรรมต่างๆให้รู้ หมวดธรรมที่อยู่ในตำรานักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท นักธรรมชั้นเอก หรือ เปรียญธรรม ประโยค ๓ - ๙ ล้วนแล้วเป็นหมวดธรรมทั้งนั้น

....๒. จินตามยปัญญา เมื่อศึกษารู้แล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณาคัดเลือกเอาธรรมที่จำเป็นที่ถูกกับจริตนิสัยของตัวเองมาปฏิบัติ เรียกว่า ธัมมวิจยะ เลือกเฟ้นหมวดธรรมที่เหมาะสมพอที่จะนำมาปฏิบัติได้ เรามีนิสัยเป็นอย่างนี้ ต้องใช้ธรรมหมวดนี้มาแก้ไขปัญหาภายในใจ ธรรมหมวดไหนที่ไม่จำเป็นกับเราก็เอาไว้ก่อน เรียกว่าใช้ธรรมให้ถูกต้องกับจริตนิสัยตัวเอง

....เปรียบได้กับการเลือกยามากินเพื่อรักษาโรคของตัวเอง จะเลือกเอาเฉพาะยาที่ถูกกับโรคของตัวเองเท่านั้นมากิน การเลือกหมวดธรรมมาปฏิบัติก็ฉันนั้น มิใช่ว่าธรรมหมวดไหนก็ได้ นำมาปฏิบัติแล้วละกิเลสตัณหาได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าได้ทั้งหมด ผู้ที่มีความเข้าใจอย่างนี้จึงเป็นผู้ด้อยในการศึกษา ไม่ได้อ่านประวัติของพระอริยเจ้าในสมัยครั้งพุทธกาลเลย ทำไมพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเอาไว้ในหมวดธรรมหลายหมวดหลายหมู่ ก็เพราะนิสัยของผู้จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าไม่เหมือนกัน แต่ละท่านได้บำเพ็ญบารมีมาไม่เหมือนกัน พระพุทธเจ้าก็ให้อุบายธรรมแตกต่างกันไป ธรรมแต่ละหมวดก็มีคุณค่าสำหรับแต่ละท่านเท่านั้น เพราะนิสัยเคยได้บำเพ็ญมาเข้ากันได้ในธรรมหมวดนั้น

....ในยุคนี้มีหลายคนหลายกลุ่มพูดผูกขาดว่า ถ้าไม่เป็นไปในสติปัฏฐานสี่ จะไม่สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้ และก็มีหลายกลุ่มพูดว่า ถ้าปฏิบัติไม่เป็นไปในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ก็ไม่ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าเช่นกัน คนเหล่านี้พูดไปก็เหมือนตาบอดคลำช้าง คลำช้างถูกที่ไหนก็ว่าช้างเป็นอย่างนั้นไป อะไรก็เกิดขึ้นกับชาวพุทธในยุคนี้

....พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าสัตว์ทั้งหลายย่อมรวมลงอยู่ในเท้าช้างแห่งเดียว ภิกษุทั้งหลายในหมวดธรรมที่เราตถาคตได้ตรัสไว้แล้วโดยชอบธรรม ย่อมรวมอยู่ในสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบนี้ทั้งหมด"

....ถ้าได้อ่านในคำตรัสไว้ของพระพุทธเจ้าอย่างนี้ ที่จะพูดผูกขาดว่า ต้องปฏิบัติธรรมในหมวดนั้นหมวดนี้จึงจะบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้ คำอย่างนี้จะไม่กล้าพูดแต่อย่างใด เป็นคำที่พูดไปโดยขาดเหตุผล เมื่อคนยุคก่อนเขียนตำราไว้ผิด คนในยุคนี้ได้อ่านก็มีความเห็นผิดเข้าใจผิดไปตามๆกัน

....อภิธรรม ๗ คัมภีร์ เป็นหมวดธรรมที่เหมาะสมกับหมู่เทพเทวดา ในพรรษาที่ ๗ พระพุทธเจ้าได้ขึ้นไปแสดงธรรมโปรดพระมารดาในชั้นดาวดึงส์ ได้แสดงอภิธรรมโปรดเทวดาเหล่านั้น เมื่อพระองค์ได้ลงมาโลกมนุษย์ก็ได้แสดงอภิธรรมนี้ให้พระสารีบุตรได้รับรู้เอาไว้เท่านั้น พระองค์ไม่ได้เอาอภิธรรมไปอบรมสั่งสอนในหมู่พุทธบริษัทให้ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าแต่อย่างใด ในสมัยที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนานถึง ๖ ปี ในช่วงนี้พระอภิธรรมยังไม่เกิดขึ้น พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมหมวดอื่นๆ มีผู้ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าจำนวนมาก ทำไมจึงไม่ศึกษาดูให้รู้ไว้บ้าง เราจะได้เข้าใจในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้อง จะได้ไม่พูดในเชิงผูกขาดในธรรมหมวดหนึ่งหมวดใดว่ามีความสำคัญกว่าหมวดธรรมทั้งหลาย และอ่านดูประวัติของพระอริยเจ้าทั้งหลายดูบ้าง ผู้ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าในสมันครั้งนั้นได้ฟังธรรมหมวดไหนบ้าง และอุบายวิธีปฏิบัติมีความแตกต่างกันอย่างไร จะได้ไม่ถกเถียงกันว่าเรามีความเห็นถูก คนอื่นมีความเห็นผิด


๓. ภาวนามยปัญญา ในบางสำนวน เรียกว่าวิปัสสนาญาณ เป็นปัญญาระดับสูง และเป็นปัญญาขั้นละเอียด เป็นปัญญาต่อเนื่องกับสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา เมื่อปัญญาทั้งสองได้รู้เห็นตามหลักความเป็นจริงเป็นฐานรองรับไว้แล้ว จะมีความรู้เห็นแจ่มแจ้งมากขึ้น เรียกว่า วิปัสสนา เป็นปัญญาที่ทำให้เกิดความรู้เห็นในสัจธรรมได้อย่างชัดเจน ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ พิจารณาในสัจธรรมที่มีความจริงอย่างไรก็มีความแยบคาย ใจจึงเกิดความหายสงสัยในสัจธรรมนั้นๆ ใจที่เคยหลงใหลในสิ่งใดใจก็ปล่อยวางจากความยึดถือในสิ่งนั้น ถ้าเป็นไปในลักษณะนี้จึงเรียกว่า ภาวนามยปัญญา ที่รู้แจ้งเห็นจริง

....เปรียบได้กับ คนที่ไปหาปลาในหนองน้ำ ใช้มือคว้าหาเรื่อยๆ เพื่อจะได้ปลามาทำเป็นอาหาร ในขณะนั้นมือได้คว้าไปจับคองูเห่า กำไว้ให้แน่น เกิดความรู้สึกในขณะนั้นว่าเป็นปลาจริงๆ ยังคิดต่อไปว่าจะเอาปลาไปทำอาหารอย่างไรจึงจะอร่อย การสัมผัสด้วยมือเพียงเท่านี้การตัดสินใจย่อมผิดได้ เมื่อกำคองูขึ้นมาให้พ้นจากน้ำ แล้วเห็นว่าเป็นงู ความรู้สึกว่าเป็นปลาก็หายไปขณะนั้น นี้ฉันใด ความรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นของของเรา สิ่งนี้เป็นตัวตนเรา ความเข้าใจผิดอย่างนี้ ถ้าได้ยกขึ้นมาพิจารณาด้วยปัญญาให้รู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว ใจจะเกิดความรู้เห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริงได้อย่างชัดเจน ว่าธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่รวมกันเป็นรูป เรียกว่าตนนี้ เพียงเป็นก้อนธาตุที่รวมกันอยู่เท่านั้น อีกไม่นานก้อนธาตุก้อนนี้ก็จะแตกสลายลงไปสู่ธาตุเดิม เพราะก้อนธาตุนี้สังขารจิตที่มีความลุ่มหลงอยู่ ได้สร้างขึ้นมาเพื่ออาศัยอยู่ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น อีกไม่กี่สันก็ต้องแยกทางกัน


๑๔. การฝึกใจให้มีญาณทัศนะ

การฝึกใจให้มีญาณทัศนะ รู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ มีอุบายวิธีการฝึกได้ ๒ วิธีด้วยกัน ข้อสำคัญให้รู้นิสัยของตัวเองว่าเป็นนิสัยอะไร ถ้าผู้มีนิสัยเจโตวิมุติ ก็ให้ฝึกวิที่ได้อธิบายมาแล้ว ถ้าผู้มีนิสัยเป็นปัญญาวิมุติก็ให้ฝึกสติสัมปชัญญะ ความระลึกรู้ให้ทันต่อเหตุการณ์ ฝึกสมาธิความตั้งใจมั่นให้แน่วแน่ภานในใจให้มั่นคงอยู่ทุกเมื่อ ฝึกปัญญาพิจารณาให้มีความรอบรู้ตามความเป็นจริงอยู่เสมอ ความเป็นจริงมีอยู่ทั่วไปในโลกนี้ ทั้งภายในคือธาตุขันธ์ของตัวเรา ทั้งภายนอกคือสิ่งที่มีอยู่ทั่วไป สิ่งที่ได้เกิดขึ้นจากตัวเราทำขึ้นเอง สิ่งที่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเอง ทุกสิ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะตั้งอยู่ได้ชั่วขณะ แล้วก็แตกสลายไปในตัวมันเอง ไม่มีสิ่งใดอยู่คงที่ตลอดไปได้ ทุกอย่างจะตกอยู่ใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยกัน

คำว่า อนิจจัง ความไม่เที่ยง เป็นผลที่เราได้รับในปัจจุบัน ทุกคนไม่ชอบใจในสิ่งที่เปลี่ยนแปลง อยากให้สิ่งที่เรามี ได้อยู่กับเราตลอดไป เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ก็อยากให้เป็นไปตามที่เราต้องการ ฉะนั้นการใช้ปัญญาพิจารณาในอนิจจัง จำเป็นต้องเข้าใจในตัวนิจจังที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ให้ได้ ว่าสิ่งนั้นจะตั้งอยู่ได้นานเพียงใด มีเหตุเป็นอย่างไรที่ทำให้สิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป ต้องรู้เห็นในเหตุปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงนั้นๆด้วยปัญญา จะได้รู้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เราจะไปบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่เราต้องการไม่ได้ ต้องทำใจให้ยอมรับต่อความเป็นจริงในสิ่งนั้นๆเอาไว้ ใจจะไม่เกิดความทุกข์เดือดร้อนต่อไป

ภาวนามยปัญญา ปัญญาในระดับนี้เป็นปัญญาที่มีความรอบรู้ฉลาดพอตัว เป็นปัญญาที่ต่อเนื่องกันกับสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา เมื่อปัญญาทั้งสองได้ปรับทิศทางในความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรมแล้ว จึงเรียกว่า ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้วในขั้นเริ่มต้น จึงใช้ปัญญาพิจารณาในธรรมหมวดอื่นๆ มีความเข้าใจชัดเจนมากขึ้น จึงเรียกว่า ปัญญาอยู่ในขั้นวิปัสสนา เมื่อเจริญวิปัสสนามีปัญญารู้แจ้งเห็นจริงชัดเจนมากขึ้น จึงเป็นโยนิโสมนสิการ พิจารณาในสัจธรรมใด ใจก็มีความแยบคายหายสงสังและปล่อยวางในความยึดถือ ถ้าเป็นไปในลักษณะนี้จึงเรียกว่า ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เชื่อมโยงให้เกิดปฏิเวธ คือ มรรคผล นี้เป็นเส้นทางที่จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้ เป็นแนวทางที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ ข้าพเจ้าได้ศึกษามาอย่างนี้ก็ต้องอธิบายไว้อย่างนี้ หากท่านผู้อื่นจะตีความในคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างอื่นก็เป็นสิทธิ์ของท่านผู้นั้น ท่านผู้อ่านต้องวินิจฉัยตัดสินใจด้วยเหตุผลของตัวเองว่า หนังสือใดมีเหตุผลพอเชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้

ในเหตุการณ์ยุคปัจจุบัน มีชาวพุทธแยกเป็นหลายนิกายทั่วโลก แต่ละนิกายตีความหมายในธรรมคำสอนอของพระพุทธเจ้าที่แตกต่างกันไป อุบายในการปฏิบัติก็มีความแตกต่างกันไปด้วย ใครจะปฏิบัติให้ถึงซึ่งมรรค ผล นิพพาน นั้น ให้เป็นตัวใครตัวมัน เพราะทุกคนเป็นชาวพุทธด้วยกัน อะไรก็เกิดขึ้นได้ในบั้นปลายพระพุทธศาสนา ทุกท่านมีความเห็นที่ตรงกันอยู่ว่า จะปฏิบัติเพื่อเข้าสู่พระนิพพานด้วยกันทั้งนั้น ใครมีความเข้าใจในอุบายธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างไรก็ให้ปฏิบัติกันไป ในยุคนี้จะไม่มีใครมาเปลี่ยนความเชื่อความเห็นให้เป็นเหมือนกัน จึงยากที่จะเป็นได้ เพราะทุกคนทุกกลุ่มมีความเชื่อความเห็นเป็นของตัวเองที่มั่นคงอยู่แล้ว

ฉะนั้น การปฏิบัติต้องมี ญาณรู้ ทัศนะความเห็น เป็นตัวตัดสินชี้ขาด ถ้ามีความรู้เห็นเป็นไปพร้อมกัน การปฏิบัติธรรมจะสำเร็จได้ตามความต้องการ ญาณ หมายถึงความรู้ ทัศนะ หมายถึงปัญญา คือความเห็น ทั้งสองนี้ต้องฝึกให้เกิดให้มีที่ใจ ถ้ามีญาณรู้เพียงอย่างเดียว ไม่มีทัศนะปัญญาให้เห็น เพียงญาณรู้อย่างเดียวย่อมเกิดความรู้ผิดได้ ถ้ามีทัศนะปัญญาเห็นเพียงอย่างเดียวแต่ไม่รู้ ก็ย่อมเกิดความเห็นผิดได้เช่นกัน

เปรียบเหมือนการศึกษาเรื่องเสือไปตามรูปภาพ ว่าเสือมีลักษณะเป็นอย่างนั้น ชอบกินคนและสัตว์อย่างนี้ ลายเป็นอย่างนั้น ก็รู้ตามรูปภาพว่าเสือเป็นตัวอย่างนั้น หรือเห็นเสือตัวจริงแต่ไม่เคยเห็นเสือมาก่อน ก็ไม่รู้ว่านี้เป็นตัวอะไร ถ้าได้รู้เรื่องของเสือมาก่อนและได้เห็นเสือตัวจริงในขณะนั้น ความกลัวย่อมเกิดขึ้น ถ้ากลัวตัวเสือแล้ว การหาช่องทางให้พ้นไปจากปากเสือเป็นสิ่งไม่ยาก ไม่ต้องไปหาถามใครๆว่าควรจะหนีไปทางไหน เราจะตัดสินใจด้วยตัวเองในขณะนั้น ป่าก็ป่า หนามก็หนาม ขาจะพาไปเอง เพื่อให้พ้นไปจากปากเสือ นี้ฉันใด การภาวนาปฏิบัติก็ฉันนั้น ข้อสำคัญต้องฝึกญาณทัศนะให้เกิดขึ้นภายในใจให้ได้ เพื่อจะได้เกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริงในสัจธรรมก็ฉันนั้น ในอดีตชาติที่เราได้เกิดมา ถูกพญามัจจุราชคือความตายทำลายชีวิตไปแล้วหลายภพหลายชาติ ในชาตินี้ขอให้เป็นชาติสุดท้ายในการเกิดตาย ในโลกนี้ล้วนมีแต่ทุกข์ โทษ ภัย ด้วยกันทั้งนั้น ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดเป็นสาระพอที่จะอาศัยให้เกิดความอบอุ่นและปลอดภัยได้

..........................................................................

๑๕. กาลามสูตร ความเชื่อ ๑๐ ประการ

อีกเรื่องหนึ่งที่จะอธิบายให้ท่านผู้อ่านได้รู้เอาไว้ คือเรื่อง กาลามสูตร สมัยครั้งพุทธกาลเมื่อพระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ พระพุทธองค์มีญาณหยั่งรู้ในบั้นปลายของพระพุทธศาสนา ได้รู้ว่าในยุคต่อไปจะมีผู้เปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จะทำให้ชาวพุทธทั้งหลายเกิดความเข้าใจผิด คิดว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ เรื่องกาลามสูตร นี้ มีเหตุผลพอเชื่อถือได้ เป็นพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ในเรื่อง ความเชื่อ ๑๐ ประการ

ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงหนังสือกาลามสูตรขึ้น ซึ่งได้อธิบายความเชื่อทั้ง ๑๐ ข้อไว้แล้วทั้งหมด จะอธิบายไว้ในที่นี้เพียง ๑ ข้อ เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาไห้รู้เอาไว้ ในข้อนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนแก่ชาวพุทธไว้ว่า อย่าเพิ่งเชื่อไปตามตำราหรือคัมภีร์ ในคำนี้อาจมีผู้ขัดแย้งขึ้นว่า ถ้าไม่ให้เชื่อตามตำรา คัมภีร์ จะให้เชื่ออะไร ในเรื่องความเชื่อนี้ ให้เป็นวิจารณญาณในเหตุผลแต่ละบุคคลที่จะตัดสินใจด้วยตัวเอง พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อย่างนี้มีความถูกต้องอยู่แล้ว พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ในยุคต่อไป ก็หมายถึงยุคของพวกเรานี้เอง ทุกท่านได้อ่านหนังสือธรรมจากครูอาจารย์ได้เขียนขึ้นมา หนังสือธรรมแต่ละเล่มได้เขียนอ้างอิงไปว่า เป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่แล้วมิใช่หรือ เมื่ออ่านแล้วก็รู้ว่า ในความหมายไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในธรรมหมวดเดียวกันก็ตีความหมายที่แตกต่างกัน เช่น คำว่า วิปัสสนา การตีความของแต่ละครูอาจารย์ก็มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดทีเดียว และมีหัวข้อธรรมอื่นๆอีกมากที่มีการตีความหมายที่แตกต่างกันไป
เช่น หมวดไตรสิกขาที่ข้าพเจ้าได้อธิบายมาแล้ว ถ้าเรียบเรียงไปตามขั้นตอนของมรรค ๘ จะออกมาในรูปแบบเดิมว่า ปัญญา ศีล สมาธิ มีปัญญา ๓ คือ สุตมยปัญญา เป็นปัญญาภาคการศึกษา จินตามยปัญญา เป็นปัญญาที่วินิจฉัยเลือกเฟ้นในหมวดธรรมที่เหมาะสมกับนิสัยของตัวเองมาปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติมีความรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงมากขึ้น เป็นโยนิโสมนสิการ มีความรู้เห็นตามความเป็นจริงที่แยบคายหายสงสัย จึงเรียก ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่จะเชื่อมโยงเข้าสู่ปฏิเวธ คือ มรรค ผล นิพพาน ปัญญาทั้งสามนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นในสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเป็นสัมมาสังกัปโป การดำริพิจารณาในหมวดธรรมนั้นๆได้อย่างถูกต้อง แล้วนำมใปฏิบัติให้เป็นในสัจธรรม เช่น ปฏิบัติในหมวดศีล ปฏิบัติในหมวดสมาธิ และปฏิบัติในหมวดธรรมต่างๆ ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ถ้าเข้าใจในลักษณะนี้จะง่ายต่อการปฏิบัติธรรม ไม่มีความสับสนวกวน
พระธรรมที่อ่านรู้ไปตามตำราเป็นเพียงชื่อของพระธรรมเท่านั้น ต้องโอปนยิโกน้อมเข้ามาหาตัวเราอันเป็นตัวธรรมที่เป็นจริง เรื่องความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ ตัณหา หรือกิเลสน้อยใหญ่ ล้วนแล้วมีอยู่ในใจของตัวเราอยู่แล้ว การปฏิบัติจะมุ่งเข้ามาหาใจโดยตรงที่เรียกว่า
มโนปุพพังคะมา ธัมมา มโนเชฏฐา มโนมะยา
ธรรมทั้งหลายรวมอยู่ที่ใจนี้ทั้งนั้น
การปฏิบัติธรรมทางกายเป็นเพียงสกัดกั้นไม่ให้กิริยาทางกายทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไปสู่สังคมภายนอก คำพูดที่ไม่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ต้องการ จึงต้องอดกลั้นมิให้แสดงออก เพราะสิ่งไม่ดีทุกคนไม่ต้องการ

................................................................

๑๖. การใช้ปัญญาพิจารณาในความทุกข์

การใช้ปัญญาพิจารณาในความทุกข์ จะเป็นความทุกข์ทางใจเป็นหลัก เพราะใจเป็นที่รับทุกข์ เป็นศูนย์รวมแห่งทุกข์ทั้งหลาย ร่างกายเป็นทุกข์ด้วยความเจ็บปวดในทุกส่วน หรือเกิดเป็นโรคนานาชนิดขึ้นในร่างกาย ความทุกข์นั้นก็มารวมอยู่ที่ใจ เพราะกายและใจมีสัมปยุตเนื่องถึงกัน ย่อมมีผลกระทบต่อกันได้
เปรียบได้กับการปรบมือทั้งสองเข้าหากันย่อมมีเสียงเกิดขึ้นฉันใด กายและใจเมื่ออาศัยกันอยู่ ย่อมเกิดผลเป็นทุกข์ก็ฉันนั้น เมื่อใจได้แยกทางออกจากร่างกายไป ที่เรียกว่า ตาย ใจจะไม่ได้รับทุกข์จากร่างกายแต่อย่างใด ร่างกายที่ไม่มีจิตวิญญาณหล่อเลี้ยง ก็จะเกิดเปื่อยเน่าแตกสลาย กลายเป็นธาตุเดิมหมดสภาพจากความเป็นคน จึงได้เรียกว่า "อนัตตา"
ฉะนั้นการใช้ปัญญาพิจารณาในอนัตตา ต้องมาเข้าใจในตัวอัตตานี้เอาไว้ให้ดี ตีความหมายในคำว่าตัวตนให้เข้าใจ ร่างกายส่วนไหนที่เราเข้าใจว่าเป็นตัวตนของเรา ใช้ปัญญาพิจารณาแยกส่วน แบ่งส่วน ของร่างกายออกมาแต่ละชิ้นให้รู้เห็นในสภาวะแต่ละอย่างล้วนแล้วแต่เป็นธาตุด้วยกัน คนจะหลงกันรักกันก็หลงในก้อนธาตุนี้มิใช่หรือ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ จะรักกันชอบกันไปตามความหลงของตัวเอง เมื่อคนที่เรารักยังมีชีวิตอยู่ ก็กอดหอมกันได้ แต่เมื่อตายไปแล้ว จะเอาแป้งน้ำมันทาชโลมฉาบทาเอาไว้ก็จะไปกอดหอมกันไม่ได้เลย เพราะความหอมในร่างกายของคนไม่มีอยู่แล้ว โดยธรรมชาติแล้วจะต้องอาบน้ำชำระล้างความสกปรกโสโครกอยู่เสมอ ถ้าทุกคนไม่ได้อาบน้ำเป็นเวลาหลายวัน จะมีกลิ่นเหม็นเกิดขึ้น ผู้ที่มีความเคยชินกับความหอมจะเกิดความขยะแขยงต่อความเหม็นทันที ถ้ามีคนเหม็นอยู่ด้วยกันจนมีความเคยชินก็อยู่ด้วยกันได้
ถ้าผู้ภาวนาปฏิบัติที่เน้นหนักในการพิจารณาอศุภของร่างกาย ทุกส่วนล้วนแล้วมีความสกปรกด้วยกัน เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็มีความสกปรกถึงเพียงนี้ เมื่อตายไปยิ่งมีความสกปรกเน่าเหม็นมากขึ้น ความเน่าเหม็นของคนที่ตายไป ยิ่งเน่าเหม็นกว่าสัตว์อื่นหลายเท่า นี้เป็นอุบายในวิธีการฝึกใจสอนใจไม่ให้เกิดความลุ่มหลงซึ่งกันและกัน ดังคำว่า
แมลงผึ้งแสวงหาเกสร แมลงวันแสวงหาของเน่า
นักปราชญ์แสวงหาความดี
นี้เราเป็นอะไรกันแน่ ถ้าเป็นกลุ่มแมลงวันจะเป็นนักปฏิบัติที่แย่มาก จะหลงระเริงในสิ่งที่ตัวเองชอบจนลืมตัว จะหลงในอัตตาของตัวเองไปยาวนานทีเดียว ฉะนั้น การจะรู้เห็นในอนัตตา ก็ต้องมารู้เห็นในอัตตาดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ให้ใจได้เปลี่ยนความเห็นเสียใหม่ จงทำใจไว้ว่า สิ่งใดเคยเห็นผิดเข้าใจผิดมาก่อน ให้ถือว่าเป็นความฝันที่ผ่านไปแล้ว ให้รู้จริงเห็นจริงด้วยปัญญาของตัวเราเอง จะทำให้หายความสงสัยในความเห็นผิดได้ จึงเรียกว่า ผู้นั้นเห็นชอบ เปรียบดังคำว่า
โย ธัมมัง ปัสสติ โส มัง ปัสสติ
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า
ฉะนั้นเราจงใช้ปัญญาของตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุดในขณะที่มีชีวิตอยู่ อย่าใช้ปัญญาในวิธีขุดหลุมฝังตัวเองให้ตายทั้งเป็น และอย่าใช้ปัญญาผูกมัดตัวเองให้ติดอยู่กับโลก เมื่อเราผูกตัวเองได้ เราก็แก้ตัวเองได้เช่นกัน จึงเรียกว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน คนอื่นเป็นเพียงผู้บอกวิธีให้เราปฏิบัติตามเท่านั้น เราต้องพึ่งสติ สมาธิ ปัญญา และความสามารถของตัวเอง
พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเพียงแผนที่บอกเส้นทางให้เท่านั้น เราผู้เดินทางต้องดูแผนที่ให้เข้าใจ เพราะเส้นทางที่เรายังไม่เคยไป เหมือนเดินทางในที่มืด เราต้องเตรียมไฟฉายที่สว่างที่จะส่องทางในการเดิน ในเส้นทางที่เรายังไม่เคยไป ในเส้นทางมีหลายแยกและมีป้ายบอกเส้นทางอยู่แล้ว แยกนี้ไปสู่อบายภูมิ แยกนี้ไปสู่สวรรค์ แยกนี้ไปสู่มรรคผลนิพพาน ถ้าเข้าใจตามนี้จะไม่มีปัญหาในการเดินทาง นี้ฉันใด การปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้น เพราะแนวทางปฏิบัติพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วอย่างชัดเจน เราต้องใช้ปัญญาศึกษาให้รู้ พิจารณาในเหตุผลให้เข้าใจ จะไม่มีการวกวนในการปฏิบัติธรรมให้เสียเวลา ชีวิตที่เกิดมาเหลืออยู่น้อยนิด ไม่รู้ว่าชีวิตจะหมดไปในวันไหน อย่าทำใจอยู่ในความประมาทจะเสียโอกาสในตัวเอง มีหลายคนที่ตายไปก่อนเราทั้งรุ่นน้อง รุ่นเรา ร่นพี่ รุ่นพ่อ รุ่นแม่ ก็ได้ตายต่อๆกัน ดังได้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เราจะตายในวันไหนก็ไม่รู้ จะขึ้นกับมัจจุราชจะเป็นผู้ตัดสินให้เอง เมื่อถึงวันเวลา เราก็จะตายเหมือนผู้ที่ได้ตายไปแล้ว
คำว่าตาย มี ๒ อย่าง คือ
๑. ตาย หมายถึง ไม่มีคุณธรรมประจำใจและมีความประมาท
๒. ตาย เพราะไม่มีลมหายใจ เป็นความตายที่หมดสิทธิ์ที่จะทำความดีอะไรได้

ก่อนชีวิตจะหมดไป เราต้องทำความดีเอาไว้อย่างเต็มที่ นี้เป็นผลกำไรของชีวิตที่เกิดมาต้องฝึกฝนให้มีคุณค่า อย่าทำตัวให้เหมือนกับสัตว์ดิรัจฉาน เราเป็นมนุษย์ที่เป็นสัตว์อันประเสริฐ เลิศในทางสติปัญญา ต้องใช้สติปัญญาไปในทางที่ดี และฝึกใจให้มีคุณธรรมประจำตัวตลอดไป
ในยุคปัจจุบันนี้ ครูอาจารย์หลายท่านมีความเข้าใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า เอาอุบายวิธีในหลักปฏิบัติมาสั่งสอนอบรมให้เราได้เข้าใจ ครูอาจารย์บางท่านอาจสอนไม่ตรงกับทางมรรค ผล นิพพาน ก็อาจเป็นได้ หากมีคำถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าครูอาจารย์นั้นสอนผิดสอนถูก จึงเป็นคำตอบที่ตอบได้ยากในปัจจุบัน เพราะไม่มีครูอาจารย์ใดรับสารภาพว่าตัวเองสอนผิด ทุกท่านก็ประกาศว่าเป็นผู้สอนถูกด้วยกัน ถ้าเรามีสติปัญญาที่ดีก็จะรู้ได้ทันที
ผู้ปฏิบัติในยุคนี้เปรียบเหมือนกับฝูงโคที่กำลังแสวงหาหัวหน้าโค ที่จะนำพาฝูงโคทั้งหลายข้ามน้ำไปให้ถึงฝั่งที่ปลอดภัย หัวหน้าโคนั้นมีมาก ดูรูปร่างก็มีลักษณะเหมือนกัน ในนั้นอาจจะมีหัวหน้าโคที่เคยข้ามกระแสมาแล้ว ฝูงโคทั้งหลายคงไม่รู้ว่าเป็นโคตัวไหน ต้องตัดสินใจเลือกเอง ถ้าเลือกได้หัวหน้าโคตัวที่เคยข้ามกระแสมาก่อนก็ถือว่ามีความโชคดีไป หัวหน้าโคก็จะไดพาฝูงโคทั้งหลายข้ามเส้นทางที่ปลอดภัยไม่มีอุปสรรคใดๆให้เสียเวลา จะพาฝูงโคมุ่งหน้าขึ้นสู่ฝั่งๆด้อย่างปลอดภัย ถ้าฝูงโคใดเลือกได้หัวหน้าโคตัวที่ไม่รู้เส้นทางที่จะไป จะทำให้มีอุปสรรคมากมายในการข้ามกระแส อาจจะหลงทางไปชนโขดหินบ้าง หลงทางเข้าไปหมู่จรเข้บ้าง หลงทางเข้าสู่วังวนไปตามกระแส ในที่สุดหัวหน้าโคและฝูงโคทั้งหลายก็อับปางลงสู่วังวนด้วยกัน หรือพากันลอยไปตามกระแสน้ำลงสู่มหาสมุทรวนเวียนไปมาอันหาที่สุดไม่ได้ นี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมในยุคนี้อาจเป็นอย่างนี้ก็ฉันนั้น
นี้คือบั้นปลายในพระพุทธศาสนา อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น ในยุคปัจจุบันนี้มีผู้เข้าใจในสัมมาทิฏ,ฐิ ความเห็นชอบในปริยัติมีอยู่มาก แต่ความเห็นชอบในทางปฏิบัติมีไม่มากนัก ให้ท่านสังเกตในหมู่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายเอาเอง
ข้าพเจ้าได้สอนอุบายธรรมในหลักปฏิบัติ และเขียนหนังสือที่เป็นแนวทางปฏิบัติมาหลายเล่ม แต่ละเล่มจะเน้นหนักในเรื่องสติปัญญามาเป็นอันดับหนึ่ง สอนวิธีทำสติสมาธิมาเป็นอันดับสอง คำว่า สมาธิ จะเน้นหนักในสมาธิความตั้งใจมั่นเป็นจุดสำคัญ เพราะคนส่วนใหญ่มีนิสัยเป็นปัญญาวิมุติ ผู้มีนิสัยอย่างนี้จะไปทำสมาธิความสงบไม่ได้ เมื่อนึกคำบริกรรมไม่กี่นาที จะมีนิสัยชอบคิดในเรื่องนั้นเรื่องนี้ จะดึงจิตเข้ามานึกคำบริกรรมก็นึกได้ชั่วขณะแล้วก็คิดอีก ส่วนมากจะคิดไปตามกระแสโลกที่ตัวเองมีความถนัดในการคิดมาแล้ว จึงเกิดความฟุ้งซ่านรำคาญใจ มีความหงุดหงิดในความคิดของตัวเอง คิดเลื่อนลอยไปตามกระแสโลกนานาประการ คิดในทางธรรมก็มีอยู่ในบางขณะ แต่ไม่พอที่จะทำให้จิตเปลี่ยนจากความเห็นผิดได้
ธรรมะที่นำมาคิดก็ไม่รู้ว่าอยู่ในระดับไหน ในบางทีเอาธรรมในหมวดภูมิธรรมของพระอรหันต์มาพิจารณา เพื่อให้ใจได้ละกิเลสตัณหาเหมือนท่าน เป็นความคิดที่เกินความสามารถที่ตัวเองทำได้ เรียกว่า คิดเกินฐานะในความพอดีของตัวเองมากเกินไป เมื่อคิดไปๆ ใจก็มีกิเลสตัณหาเท่าเดิม ไม่ลดละออกจากใจได้ ในความรู้สึกก็มีความคิดถอดใจไปว่า เราไม่มีบุญบารมีพอที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ เมื่อมีความคิดถอดใจอ่อนใจอย่างนี้ ความเพียรพยายามก็หมดไปด้วย
นี้เป็นจุดหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาวิธีปฏิบัติของผู้จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าในสมัยครั้งพุทธกาล เพื่อให้มีความเข้าใจในเหตุผลของผู้ที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าในสมัยครั้งนั้น ข้าพเจ้าจึงได้เรียบเรียงประวัติของพระอริยเจ้าที่มีนิสัยปัญญาวิมุติ และพระอริยเจ้าที่มีนิสัยเจโตวิมุติ เจโตวิมุติมาให้ท่านได้อ่าน เพื่อจะได้เปลี่ยนความเห็นให้ถูกกับนิสัยของตัวเอง จะง่ายต่อการปฏิบัติธรรม ไม่ต้องบังคับใจให้บรรลุธรรมขั้นนั้นขั้นนี้ การตั้งเป้าหมายว่าต้องได้ญาณนั้นญาณนี้เป็นพระอริยเจ้าขั้นนั้นขั้นนี้ เรียกว่า ภาวนาเอาความอยากนำหน้า จะเกิดปัญหา นั้นคือจะถูกกิเลสมารมาหลอกใจได้ง่าย เมื่อทำสมาธิความสงบมากขึ้น กิเลสมารก็จะหลอกใจโดยไม่รู้ตัว
ดังที่ได้อธิบายเอาไว้ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ข้อที่ผ่านมาแล้ว มิใช่ว่าจะปฏิบัติธรรมในหมวดไหน ก็สามารถบรรลุธรรมได้เหมือนกัน มิใช่เป็นอย่างนั้น ให้อ่านประวัติของพระอริยเจ้าในสมัยครั้งพุทธกาลดูบ้าง พระอริยเจ้าฝ่ายพระ พระอริยเจ้าฝ่ายฆราวาส ในสมัยครั้งนั้นมีจำนวนมาก จงศึกษาให้ดี ปรับวิธีการปฏิบัติให้เหมือนท่านเหล่านั้นดูบ้าง อาจจะได้รับผลในชาตินี้ ควรเปลี่ยนอุบายวิธีในการปฏิบัติใหม่จนกว่าอุบายธรรมนั้นถูกกับนิสัยของตัวเอง ในยุคนี้สมัยนี้ไม่มีใครช่วยเราได้ เราต้องช่วยตัวเอง จงทำความเข้าใจว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
หลักธรรมมีอยู่ทั่วไปหาอ่านได้ง่าย ส่วนอุบายธรรมที่จะนำมาปฏิบัติให้ถูกกับจริตนิสัยของตัวเองเป็นสิ่งที่ไม่เหลือวิสัย เปรียบเหมือนกับคนที่รู้เส้นทางและไม่หลงทาง จึงง่ายที่จะไปให้ถึงจุดหมายตามที่เราต้องการ นี้ฉันใด อุบายธรรมที่จะนำมาประกอบการปฏิบัติให้เป็นไปในมรรคผลนิพพาน จึงไม่ยากที่จะรู้เห็นด้วยตัวเอง ในบางครั้งก็ได้อุบายธรรมมาปฏิบัติถูกกับนิสัยตัวเองอยู่บ้างแต่ไม่ต่อเนื่องกัน ผลของการปฏิบัติจึงยังไม่เกิดขึ้นในขณะนั้น
การปฏิบัติธรรม ถ้าเป็นไปตามมรรค ๘ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้ว จะง่ายต่อการปฏิบัติ เพราะเป็นวิธีที่ต่อเนื่องกัน ในมรรค ๘ นั้น นำมาปฏิบัติได้ในทางโลกียธรรม และนำมาปฏิบัติได้ในทางโลกุตรธรรม ส่วนมากผู้ปฏิบัติจะมุ่งไปในทางโลกุตรธรรม เพื่อให้ใจได้ละกิเลสตัณหาอาสวะ บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าเอาธรรมในหมวดมรรค ๘ มาประกอบในการปฏิบัติในทางโลกีย์ ก็จะเป็นผลดีในหมู่สังคมส่วนรวม
ในโลกนี้ เราอยู่ในสังคมทั่วไป แต่ละสังคมมีความเห็นเหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง เราต้องทำตัวเป็นกลาง รับฟังความเห็นของคนแต่ละกลุ่ม ในเมื่อเขามีความเห็นเป็นอย่างนี้มีเจตนาเป็นอย่างไร ความเห็นเป็นอย่างไรเขาก็คิดไปอย่างนั้น เมื่อเขาคิดได้เป็นอย่างไรก็จะทำไปอย่างนั้นและพูดไปอย่างนั้น เขาทำเขาพูดเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตัวเองหรือเอื้อประโยชน์แก่คนอื่น เราก็จะต้องศึกษาเหตุในความประพฤติของเขาให้รู้ ถ้าเป็นทางที่ดีเราจะได้เอามาเป็นเนติต้นแบบในความประพฤติอย่างนั้น ถ้าไม่ดีเราจะไม่รับเอาความประพฤติของเขาคนนั้น แล้วน้อมเข้ามาดูตัวเองว่า เรามีความประพฤติการแสดงออกเหมือนคนกลุ่มใด ให้รู้จักความเห็นผิดความเห็นถูกของตัวเองให้ได้ เราจะได้เปลี่ยนความเห็นของตัวเองไปในทางที่ดี
นี้คือการศึกษาธรรมจากบุคคล จะรู้และเข้าใจได้ง่าย นิสัยของคนจะรู้กันได้จากความประพฤติอันเป็นปกติธรรมชาติ นิสัยของคนขี้โลภเป็นอย่างนั้น นิสัยของคนขี้โกรนธเป็นอย่างนี้ ถ้าดูเขาแล้วต้องมาดูตัวเราว่าเป็นเหมือนเขาหรือไม่ ถ้าเป็นเหมือนเขาเราต้องเปลี่ยนความเห็นของตัวเอง
ทุกคนที่เกิดมาต้องการให้คนอื่นมายกย่องตัวเอง เป็นนิสัยชอบให้คนอื่นมาเข้าใจในตัวเราเพียงฝ่ายเดียว ตัวเองไม่ยอมที่จะไปเข้าใจต่อคนอื่น ถึงตัวเองพูดผิดทำผิดอยู่ก็ตาม พยายามพูดกลบเกลื่อนในความผิดของตัวเองเอาไว้ ไม่อยากให้คนอื่นรู้ในความผิดของตัวเอง นี้เป็นนิสัยคนส่วนใหญ่ชฃอบนินทาว่าร้ายคนอื่นอยู่เสมอ เรามาดูตัวเองว่ามีนิสัยเป็นอย่างนี้หรือไม่ ถ้ามีต้องปรับปรุงแก้ไขตัวเองเสียใหม่ ฝึกตัวเองให้มีความเข้าใจแก่คนอื่นเอาไว้ เพื่อจะได้ลดทิฏฐิมานะของตัวเองไปในทางที่ดี
เราเป็นคนหนึ่งที่มีความบกพร่อง เป็นจุดอ่อนให้คนอื่นมองดูอยู่แล้ว ทุกคนเป็นกระจกบานใหญ่ให้เป็นภาพสะท้อนซึ่งกันและกัน จะดูในจุดแรกคือกิริยามารยาท ดูการแสดงออกมาทางกายและวาจา เพราะกาย วาจา เป็นประตูของสังคมต้องดูกันทุกวัน ถึงเราจะมีใจคิดไปในทางที่ไม่ดีอยู่บ้าง ต้องเก็บไว้ภายในใจ ไม่ควรแสดงออกมาทางกายและวาจาให้คนอื่นได้เห็น ถึงใจจะมีความโกรธเกลียดอยู่ ก็ต้องอดทน เพราะคนอันธพาลมีนิสียอย่างนั้น ชอบหาเรื่องมาพูดให้คนอื่นอยู่เสมอ เรื่องเล็กทำให้เป็นเรื่องใหญ่ พูดเสริมออกไปเหมือนเป็นจริงในเรื่องนั้นๆ ไม่มีสติยับยั้งความคิดและคำพูดของตัวเอง จึงกลายเป็นความพยาบาทอาฆาตจองเวรต่อกัน ฉะนั้นเราเป็นผู้ปฏิบัติไม่ควรให้มีเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้น ให้มีความสำนึกดูตัวเองอยู่เสมอ ดังคำว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ให้ทบทวนดูคำพูดของตัวเองเอาไว้
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบในฝ่ายโลกียธรรม ความเป็นธรรมที่คนเราต้องฝึกให้มีภายในใจเอาไว้ เรียกว่า ฝึกความยุติธรรมให้เกิดให้มีแก่ตัวเอง ถ้าใจมีความยุติธรรมแล้ว การคิด การทำ การพูด ก็จะมีความเป็นธรรมแก่ตัวเองและคนอื่น ในครอบครัวเดียวกันก็จะมีความสุข ตลอดจนญาติมิตรหรือสังคมอื่นก็จะมีความสุขไปด้วย ผู้มีความยุติธรรม ใครๆก็ให้ความเคารพเชื่อถือ ผู้มีความยุติธรรมต้องการไปมาหาสู่กับผู้มีความยุติธรรม คนมีความยุติธรรมจะสังเกตดูได้ง่าย การแสดงออกมาทางกาย วาจา จะเป็นสื่อบ่งบอกได้ชัดเจน ที่เรียกกันว่า คนดี หมายถึง ผู้มีความยุติธรรมนั่นเอง ฉะนั้นเราต้องฝึกความยุติธรรมให้เกิดขึ้นกับตัวเองให้ได้เพราะเครื่องหมายของคนดี
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็อยู่ที่นั่น ความดีเป็นสิ่งที่ไม่เหลือวิสัย ผู้ต้องการความดีทำดีได้ง่าย ทำชั่วได้ยาก คนพาลต้องการทำความชั่ว ทำชั่วได้ง่าย ทำดีได้ยาก สังคมของมนุษย์ในโลกนี้มีทั้งคนดีและคนไม่ดีอยู่ร่วมกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสไว้ว่า
"ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"
พระราชดำรัสนี้มีความชัดเจน ถ้าคนดีทำงาน การปกครองบ้านเมืองจะทำให้เกิดความเจริญ ถ้าคนไม่ดีปกครองบ้านเมือง ก็จะเกิดความหายนะตามมา ในทุกสังคมทุกสาขาอาชีพ ถ้าตนดีได้เป็นหัวหน้าบริหาร งานนั้นจะมีความสำเร็จลุล่วงไปในทางที่ดี

๑๗. นิมิต ๔

ในตำรากล่าวถึงนิมิตไว้เพียง ๓ คือ

๑. สุบินนิมิต (ความฝัน) ผู้นอนหลับไป จะมีความฝันเกิดขึ้น ในบางครั้งก็ฝันร้ายเป็นสิ่งที่น่ากลัว ในบางครั้งฝันดีเป็นสิ่งที่น่ารัก ในบางครั้งเป็นฝันที่เกี่ยวกับธาตุขันธ์ไม่ปกติ เป็นความฝันเกี่ยวกับเรื่องอดีตที่ผ่านมา เป็นความฝันที่เกี่ยวกับเรื่องอนาคต เป็นความฝันที่เกี่ยวกับสัญญาความจำ เป็นความฝันที่เกี่ยวกับอุปาทานความยึดมั่นในอายตนะ บางคนนอนหลับไปชอบฝัน ในบางคนก็ไม่ฝัน เรื่องราวในความฝัน บางครั้งไม่จริงตามที่ฝัน ในบางครั้งเป็นจริงตามที่ฝัน
ตัวอย่างในความฝันของพระเจ้าปเสนทิโกศล นอนหลับไปแล้วเกิดความฝัน ๑๖ อย่าง เอาความฝันไปเล่าให้พระพุทธเจ้าฟัง พระพุทธเจ้าได้ทำนายในเหตุการณ์ของความฝันนั้นให้รับรู้ ที่เรียกว่า พุทธทำนาย ข้าพเจ้าได้อธิบายขยายความเพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจน ให้ชื่อหนังสือนั้นว่า พุทธทำนาย ๑๖ ข้อ จะได้ยกมาอธิบายไว้ในที่นี้เป็นบางข้อ ดังนี้
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นต้นไม้นานาชนิด ยังไม่โตพอที่จะมีดอกมีผล แต่ต้นไม้นั้นเต็มไปด้วยดอกและผล จนกิ่งก้านสาขารองรับดอกผลไม่ไหว
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้า กุมารีที่มีวัยยังไม่ควรจะมีสามี แต่กุมารีนั้นมีความกระสันในราคะตัณหา มีความอยากในกามารมณ์ความรักความใคร่ ได้แต่งงานเมื่ออายุยังวัยเด็ก ไม่ถูกต้องตามประเพณีนิยม มั่วสุมกันไม่ละอาย เมื่อตั้งครรภ์ขึ้นมาก็หาวิธีฆ่าลูกในท้อง หรือเมื่อคลอดแล้ว เด็กบางคนก็ไม่มีพ่อแม่เลี้ยงดู ไม่มีบ้านเรือน เรร่อนจรจัด น่าเวทนายิ่งนัก เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนความฝันข้ออื่นๆ ท่านสามารถหาอ่านดูได้จากหนังสือพุทธทำนายที่ข้าพเจ้าได้อธิบายไว้แล้ว
สุบินนิมิต คือความฝัน ถ้าผู้มีปัญญานำมาตีความในทางธรรม ก็จะเป็นอุบายให้แก่ปัญญาได้เป็นอย่างดี ถ้าไม่มีปัญญานำมาตีความหมาย ความฝันนั้นก็เปล่าประโยชน์ ข้าพเจ้าเห็นด้วยที่จำนำเอาความฝันนั้นมาตีความ เพื่อเป็นอุบายเสริมให้แก่ปัญญา น้อมเอาความฝันเข้ามาหาตัวเอง อุปมาอุปมัยให้เข้ากันได้ในธาตุสี่ขันธ์ห้า ให้เป็นไปใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อเป็นอุบายในการฝึกปัญญาให้แก่ตัวเอง จึงเรียกว่า ปฏิภาคนิมิต หมายถึง ใช้ปัญญาพิจารณาแจกแจงขยายความ นิมิตแปลว่าความหมาย นิมิตอย่างนี้มีความหมายเกี่ยวกับอะไรให้ตีความไปอย่างนั้น
๒. อุคคหนิมิต เป็นนิมิตที่เกิดขึ้นจากการนั่งสมาธิ เมื่อจิตรวมเป็นสมาธิได้แล้ว จะเกิดนิมิตขึ้นรูปแบบต่างๆ บางนิมิตเป็นสิ่งที่น่ากลัว บางนิมิตเป็นสิ่งที่น่ารักชอบใจ บางนิมิตเป็นสิ่งที่ขยะแขยงสะอิดสะเอียน ถ้ามีนิมิตเกิดขึ้นในลักษณะใด ให้ใช้ปฏิภาคนิมิต คือปัญญาพิจารณาทุกครั้งไป เพื่อนำมาเป็นอุบายตีความหมายให้เป็นไปตามนิมิตนั้นๆ ถ้าไม่มีปัญญาพิจารณา อุคคหนิมิตก็ไม่มีประโยชน์อะไร ฉะนั้น ต้องเอาประโยชน์จากอุคคหนิมิตนี้ให้ได้ อุคคหนิมิตจะเป็นอุบายเสริมปัญญาได้เป็นอย่างดี
๓. ผัสสะนิมิต เป็นนิมิตที่เกิดขึ้นขณะตื่นอยู่ไม่ได้นอนหลับแต่อย่างใด และไม่ได้ทำสมาธิในจิตมีความสงบดังที่ได้อธิบายมาแล้ว นิมิตนี้เกิดจากการสัมผัสของอายตนะ ๕ คือ
๓.๑ จักษุนิมิต ตาสัมผัสรูป ก็เกิดความหมายในทางใจว่ารูปเป็นสิ่งที่น่ารักน่าชอบใจในรูปนั้นๆ แล้วเกิดเป็นอารมณ์ในความรักความชอบใจความสุขใจ จึงเรียกว่า สุขเวทนา ใจได้เสวยอารมณ์แห่งความสุข ถ้าตาสัมผัสในรูปที่ไม่ชอบใจ จึงเกิดเป็นทุกขเวทนา ใจได้เสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ ถ้าอายตนะภายในสัมผัสกับอายตนะภายนอกแล้วเฉยๆ ไม่รักไม่ชัง จึงเป็นอุเบกขาเวทนา ผัสสะนิมิต คือ ตาสัมผัสรูป ใจมีความรักใคร่เกิดขึ้น ก็เอารูปมาเป็นอารมณ์ สังขารการปรุงแต่งในรูปย่อมเกิดขึ้น เมื่อสังขารการปรุงแต่งในรูปไปในทางรักใคร่ สังขารจึงปรุงแต่งในรูปโดยสมมุติ สังขารสมมุติได้เกี่ยวพันกันอย่างแนบแน่น
เปรียบเหมือนปากกาและกระดาษมีพร้อมแล้ว จะเขียนไปในเรื่องใดก็ได้ตามที่ใจชอบ นี้ฉันใด ถ้าใจชอบในทางความรักใคร่ สังขารก็ปรุงแต่งในรูปให้เกิดความรักใคร่ฉันนั้น ใจปรุงแต่งไปในทางราคะตัณหาจินตนาการวาดภาพขึ้นมาโดยสมมุติ เอารูปเป็นนิมิตหมายให้แก่สังขารการปรุงแต่งอยู่เรื่อยไป ผัสสะนิมิต หมายในรูป จึงได้เกิดเป็นอารมณ์ไปตามกระแสโลก คนและสัตว์ที่หลงโลกก็มาหลงในจุดนี้ด้วยกัน จึงพากันเกิดตายอยู่ในโลกนี้ตลอดมา และจะมีความหลงโลกตลอดไป ใจที่หลงอยู่ในกามคุณนับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ที่ไม่มีปัญญาจึงหาทางออกไม่ได้ นี้คือ ใจมีอวิชชาอย่างมืดมิดทีเดียว
ผู้ปฏิบัติต้องศึกษาให้ดี มีความเข้าใจในต้นเหตุ ใจยังไม่รู้ผิดถูกอะไรควรหรือไม่ควร เมื่อตาสัมผัสรูปกิเลสตัณหาเข้ามาแทรก เอาสมมติในรูปมาเป็นนิมิตหมาย จึงได้เกิดความคิดปรุงแต่ง ความคิดในเรื่องความสวยความงาม คิดในเรื่องความรักความชอบ คิดในเรื่องความหอมหวนชวนชม ทำให้คิดเป็นเรื่องเป็นราวได้ การคิดให้ตรงกันข้ามว่ารูปมีแต่ความสกปรกโสโครก ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่มีความหอมหวนชวนชม คิดในเรื่องอย่างนี้ทำไมคิดไม่ได้ คิดเรื่องความรักคิดได้ทั้งวันทั้งคืน ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน คิดได้อย่างเป็นตุเป็นตะ รูปนั้นได้จากกันไปหรือตายไปแล้วหลายปี อารมณ์ที่ฝังใจในเรื่องของความรักก็ขุดคุ้ยขึ้นมาคิดเหมือนชีวิตอยู่ร่วมกัน สมมุติว่าได้พูดต่อกันเรื่องกระจุ๋มกระจิ๋มยิ้มแย้มต่อกันเป็นน้ำอ้อยน้ำตาล หรือได้สัมผัสกันในวิธีใดก็สมมติไปในวิธีนั้น ดังคำว่า สร้างวิมานบนอากาศ วาดภาพไปตามความฝัน คิดว่า ได้สัญญาต่อกันเอาไว้ในชีวิตนี้จะรักกันตลอดไปจนชั่วฟ้าดินสลาย ในความคิดอย่างนี้ทำไมคิดได้เหมือนการเล่นละครหลอกใจให้เกิดความลุ่มหลง จงใจคิด ไม่มีความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแทบไม่มีเวลาพักผ่อนหลับนอน เหมือนกับหนอนที่กินอยู่ในก้อนอึ ถือว่าเป็นอาหารจานโปรด จะเอาอาหารที่มีความอร่อยและเลิศเลอไปให้กินก็ไม่สนใจ นี้ฉันใด ใจที่มีความลุ่มหลงในรูปก็ฉันนั้น เราเป็นผู้ปฏิบัติต้องเปลี่ยนความเห็นเสียใหม่ ให้ฝึกความคิดตรงกันข้าม ตามแนวทางที่พีพุทธเจ้าได้สอนเอาไว้ ในความคิดที่เป็นสุภะ ความสวยงามได้ฝังใจมานานแล้วทำให้ใจมีความลุ่มหลง จงฝึกปัญญาพยายามคิดในเรื่องอสุภะ ความสกปรกตามที่ได้อธิบายมา ให้ใจได้พ้นจากหล่มลึกนี้ไปบ้าง
๓.๒ โสตนิมิต หูได้รับฟังเสียง นี้ก็เป็นนิมิตหมาย เป็นอารมณ์ที่ฝังอยู่ภายในใจ ทำให้เกิดอารมณ์แห่งความรัก ขึ้นได้ เป็นเสียงที่เป็นเสน่ห์มนต์ขลังที่ฝังใจจึงยากที่จะหลงลืมลงได้ มีความใฝ่ใจอยากจะฟังเสียงนั้นๆอยู่ตลอดเวลา แสวงหาในเสียงที่ชอบใจ ให้เพลิดเพลินอยู่กับเสียงนั้นๆอย่างฝังใจ มีความรำพันรำพึงคิดถึงอยากจะฟังในเสียงนั้นทั้งวันทั้งคืน เฉพาะเสียงที่เป็นสื่อความรักต่อกันจึงเป็นมนต์ขลังที่ฝังใจ ในวัยหนุ่มสาวหรือเฒ่าแก่จวนจะเข้าโลงศพอยู่แล้ว ก็ยังใช้เพลงที่เป็นสื่อออดอ้อนไปในทางแห่งความรักต่อกัน ใจมีความผูกพันในความรักอย่างไร ก็ใช้อารมณ์เข้าไป ให้เป็นสื่อในเสียงเพลงเป็นอย่างนั้น เป็นอันว่าหญิงชายทั้งสองฝ่ายใช้เสียงเป็นสื่อผูกมัดใจกันเอง
เปรียบดัง คนทั้งสองนั่งอยู่ในเรือท่ามกลางมหาสมุทร เมื่อเรือได้อับปางลง คนทั้งสองก็จะกอดกันตายในมหาสมุทรนั้น นี้ฉันใด ใจที่มีความหลงเพลิดเพลินก็ใช้เสียงผูกมัดใจกันเองก็ฉันนั้น เป็นอันว่า ผู้ที่เกิดตายในโลกนี้อยู่บ่อยๆก็เพราะหลงอยู่ในเสียงนี้มิใช่หรือ ผู้ปฏิบัติต้องพิจารณาสังเกตดูใจตัวเองอยู่เสมอ ถ้าใจมีความชอบในเสียง ก็รีบแก้ไข ฝึกไม่ให้ใจติดอยู่ในเสียงนั้นๆ ใช้ปัญญาอบรมใจตัวเองอยู่เสมอว่า เสียงที่เป็นสายโซ่ ผูกมัดใจตัวเองด้วยวิธีใด ให้เราฝึกปัญญามาสอนใจในวิธีนั้นๆ เพื่อให้ใจได้รู้เห็นทุกข์โทษภัยอันเป็นไปในทางกิเลสตัณหา อย่าเอาเสียงมาหลอกใจให้เกิดความเห็นผิดคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาของโลก ไม่เช่นนั้นเราจะตกอยู่ในกระแสโลกชั่วกาลนาน
๓.๓ ฆานะนิมิต กลิ่นหอมนี้ก็เช่นกัน กลิ่นหอมในดอกไม้นานาชนิด กลิ่นหอมในแก่นดู่แก่นจันทน์ยังไม่สำคัญเท่าไรนัก กลิ่นหอมที่สำคัญคือคนหอมกันเอง ในช่วงมีชีวิตอยู่ก็สูดดมกันได้ไปตามความหลงของตัวเอง เพราะต่างฝ่ายมีกลอุบายเอาแป้งน้ำหอมอื่นๆมาปะหน้าทาตัวเองเอาไว้ เพื่อกลบเกล่อนความเหม็นของตัวเอง ไม่ให้ฟุ้งไปภายนอก เพื่อหลอกคนอื่นให้เข้าใจว่าตัวเองมีกลิ่นหอม คนที่ชอบกลอ่นหอมก็หลงไปตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ในคำว่า
"แมลงผึ้งแสวงหาเกสร แมลงวันแสวงหาของเน่า
นักปราชญ์แสวงหาความดี"

นี้เราเป็นแมลงอะไรกันแน่ ให้สังเกตดูใจตัวเองบ้าง ถ้าเป็นแมลงวัน จะเปลี่ยนความเห็นเป็นแมลงผึ้งได้อย่างไร คิดว่าท่านผู้อ่านเป็นแมลงผึ้งแสวงหาเกสรอยู่แล้ว หรือเป็นนักปราชญ์แสวงหาความดีก็มีอยู่ในตัวท่านแล้วเช่นกัน เพราะคนดีจึงมีกลิ่นหอมกระจายไปทั่วทิศทางไม่จืดจาง มีความแตกต่างจากกลิ่นของคนชั่วเมามัวในทางบาปอกุศล ฉะนั้นผู้ปฏิบัติอย่าไปหลงในกลิ่นหอมเพียงอย่างเดียว ให้พากันรู้จักในกลิ่นเหม็นเอาไว้บ้าง เพราะกลิ่นหอมกลิ่นเหม็นเป็นของคู่กัน เราคนหนึ่งมีกลิ่นหอมกลิ่นเหม็นอยู่ในตัว ทำอย่างไรในทางที่ดีให้มีกลิ่นหอมอยู่ในตัวตลอดไปได้ ดังคำว่า
สีละคันโธ อนุตตะโร
ผู้มีศีลประจำตัวจะมีกลิ่นหอมทวนกระแสไปในทุกพื้นที่
ผู้ไม่มีสติปัญญาจึงได้หลงผิด คิดว่ากลิ่นของคนหรือกลิ่นดอกไม้นานาชนิดเป็นสิ่งที่น่าชอบใจ จึงได้เวียนวนเกิดตายในโลกนี้ตลอดมา
๓.๔ รสะนิมิต คำว่า รสะ คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเป็นรสชาติของอาหาร การตีความหมายอย่างนี้ก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง เพราะธาตุของแต่ละคนฝึกมาไม่เหมือนกัน เช่น คนหนึ่งธาตุเคยชินต่อข้าเจ้าอาหารไทย คนหนึ่งฝึกธาตุให้เคยชินต่อข้าวกับส้มตำน้ำพริก ผู้ปฏิบัติต้องฝึกธาตุขันธ์ให้รับได้ในอาหารทั้งสองนี้เอาไว้ จะไม่ติดในรสของอาหาร ฝึกตัวให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย เว้นเฉพาะบุคคลที่มีโรคประจำตัว รับประทานอาหารไม่แสลงกับโรคนั้นๆ เรียกว่า อาหารสัปปายะ เป็นอาหารที่ถูกธาตุขันธ์ ทำให้มีความสบาย การปฏิบัติจะไม่มีปัญหาอ้างตัวว่าเป็นเพราะอาหาร เฉพาะผู้เป็นพระในสมัยครั้งพุทธกาลหรือในยุคปัจจุบัน การติดรสชาติของอาหารที่ตัวเองเคยฉันอยู่ ไม่กล้าที่จะออกธุดงค์ไปในที่ต่างๆได้ เพราะกลัวว่าอาหารจะไม่ถูกกับธาตุขันธ์ของตัวเอง กลัวจะฉันไม่ได้ กลัวร่างกายจะซูฐผอมไม่สบาย ในเหตุการณ์อย่างนี้เกิดมีในสมัยครั้งพุทธกาลอยู่แล้ว
คำว่า รส ตีความหมายได้หลายอย่าง เช่น การทำการพูดไม่มีรสชาติอะไรเลยอย่างนี้ เป็นต้น หรือได้รับฟังในความยกย่องสรรเสริญ ก็มีคำพูดว่า แหม เป็นคำพูดที่มีรสชาติดี หรือคำว่า รสแห่งพระธรรมยิ่งเลิศกว่ารสทั้งหลาย คำว่า รส จึงตีความหมายได้หลายอย่าง ผู้ปฏิบัติธรรมควรละในรสฝ่ายต่ำของทางโลก ควรรับเอารสพระธรรมที่เป็นฝ่ายสูงจึงจะเป็นผลดี
๓.๕ โผฏฐัพพะนิมิต หมายถึง ผิวหนังได้สัมผัสต่ออากาศร้อน หนาวเย็น ถ้าเป็นอากาศร้อนหนาวเย็นที่เป็นไปตามฤดูกาลตามปกติ ไม่ร้อนหนาวเย็นเกินความพอดี ร่างกายก็รับได้ เรียกว่า อากาศให้ความสบาย ถ้าร้อน หนาว เย็น เกินความพอดีจะเป็นผลกระทบทางกายและใจ ถ้าผู้มีที่อยู่ในอากาศร้อนกันมาจาเคยชินก็อยู่กันได้ ถ้าผู้มีที่อยู่ในอากาศหนาวเย็น อยู่กันมาจนเคยชินก็อยู่กันได้เช่นกัน ฉะนั้นจงหาในสถานที่มีอากาศที่สบายต่อธาตุขันธ์ ที่เรียกว่า อุตุสัปปายะ ถ้าเลือกได้ในอากาศที่เหมาะสมต่อธาตุขันธ์ การปฏิบัติก็จะเป็นไปด้วยดีจะไม่มีอุปสรรคใดๆ
ในอีกประเด็นหนึ่ง เรื่องของผู้ชายกับผู้หญิง ถ้าได้สัมผัสกันเพียงผิวหนัง หากไม่มีปัญญารอบรู้ ย่อมเกิดอารมณ์ภายในใจขึ้นได้ อารมณ์ภายในใจอยากถลำลึกเข้าไปอีก ความฝักใฝ่ในกามจะเกิดขึ้นที่ใจได้ หรือได้สัมผัสที่นอนอันอ่อนนิ่ม ผู้มีใจฝักใฝ่ในทางกามราคะก็จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน จะมีอารมณ์ที่เป็นสังขารการปรุงแต่งในเพศตรงข้ามเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรม เฉพาะพระเณร ต้องศึกษาอายตนะภายในและภายนอกให้เข้าใจ สำหรับฝ่ายฆราวาสจะปฏิบัติได้ยาก เพราะมีความคลุกคลีอยู่ด้วยกันอยู่แล้ว เช่นนางวิสาขาอุบาสิกา เป็นผู้ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบันตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อมีอายุในวัยสาวก็แต่งงาน เพราะมีความยินดีพอใจอยู่ในกามคุณนั่นเอง
กามคุณ ๕ ดังที่ได้อธิบายมานี้ ผู้จะปฏิบัติให้มีความสมบูรณ์ได้จะต้องมีนิสัยที่จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าในขั้นพระอนาคามี หรือผู้มีนิสัยที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เท่านั้น จึงจะสำรวมในอายตนะดังที่ได้อธิบายมานี้ได้ ในภูมิขั้นพระโสดาบันยังสำรวมไม่ได้ แม้แต่ผู้ได้บรรลุธรรมเป็นพระสกิทาคามี ในส่วนลึกของใจยังมีกามราคะ ปฏิฆะ อันเป็นส่วนละเอียดนอนเนื่องอยู่ภายในใจ ในหมู่ปุถุชนคนธรรมดาจะมาอวดตัวว่าใจได้ละจากอายตนะได้อย่างไร ใจจะต้องมีอารมณ์ฝักใฝ่แสวงหาต้องการความสัมผัสอยู่แล้ว จึงเกิดอารมณ์ที่ฝังใจ เมื่อมีอารมณ์อย่างนี้เกิดขึ้นจึงเรียกว่า อารมณ์ได้เกิดจากการสัมผัสของอายตนะ และจะโยงต่อไปในนามขันธ์ที่เรียกว่า เวทนา
คำว่า เวทนา ก็หมายถึง อารมณ์ภายในใจที่ได้เกิดขึ้นจากรูปขันธ์ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ในธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ที่รวมกันให้เป็นรูปขันธ์ มีอายตนะภายในสัมผัสกับอายตนพภายนอก ให้เกิดอารมณ์ขึ้นที่ใจ ในส่วนละเอียดจะไม่อธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้ เพราะมีในตำราอยู่แล้ว ข้าพเจ้าจึงได้อธิบายในอายตนะภายในและภายนอก อันเป็นอุบายในทางปฏิบัติให้เราได้ศึกษารู้เอาไว้ หรือจะนำไปฝึกปฏิบัติก็ให้เป็นไปในความสามารถเฉพาะตัว เพราะการสำรวมในอายตนะได้ ผู้นั้นต้องมีสติ มีสมาธิ มีปัญญาที่ดีเท่านั้น จึงจะสำรวมในอายตนะให้มีความสมบูรณ์ได้ ให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจตามนี้
นิมิต ๓ ประเภทที่กล่าวมา คือ สุบินนิมิต หมายถึงนอนหลับไปแล้วฝัน อุคคหนิมิต หมายถึง ทำสมาธิจิตมีความสงบแล้วเกิดเป็นภาพนิมิตในรูปแบบต่างๆ เป็นเรื่องที่น่ารัก เป็นเรื่องที่น่ากลัว เป็นเรื่องที่น่าขยะแขยงสกปรกโสโครก ผัสสะนิมิต หมายถึง การได้สัมผัสทางอายตนะดังที่ได้อธิบายมาแล้ว
๔. ปฏิภาคนิมิต มีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจในความหมาย ดังจะได้แปลให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้
ปฏิ แปลว่า ปฏิบัติ
ภาคะ แปลว่า จำแนกแจกแจง ตริตรอง วิเคราะห์ วินิจฉัย วิจัย วิจารณ์

นิมิต
แปลว่า ความหมาย ถ้าตาเห็นรูป ก็หมายเอารูปขันธ์เป็นอารมณ์ หูฟังเสียงก็หมายเอาเสียงมาเป็นอารมณ์ นี้เป็นเพียวตัวอย่าง ถ้าแปลรวมกันจะออกมาเป็นปฏิภาคนิมิต แปลว่า การปฏิบัติต้องใช้ปัญญาพิจารณาในความหมายดังที่อธิบายมาแล้ว จากนี้ไปให้ฝึกใจทวนกระแสเอาไว้บ้าง ตาได้สัมผัสกับรูปคนแก่ สมมุติว่า อายุ ๘๐ ปี นี้คือนิมิตหมาย ใช้ปัญญาพิจารณาได้เลย คนแก่ไม่มีความสะดวกสบายอย่างไรบ้าง โอปนยิโก น้อมเข้ามาหาตัวเองว่า ถ้าเรามีอายุ ๘๐ ปี เหมือนเขาคนนั้น ความไม่สะดวกไม่สบายก็ต้องเกิดขึ้นในตัวเราเช่นกัน หรือไปเห็นคนเจ็บป่วยไข้ก็ต้อง
ใช้ปัญญาพิจารณา แล้วน้อมเข้ามาหาตัวเองเช่นกัน
เรื่องของความตาย ตัวเราก็ได้ไปร่วมงานศพหลายครั้ง เมื่อตามองเห็นโลงศพเราต้องใช้ปัญญาพิจารณาเอาโลงศพมาเป็นนิมิตหมาย บัดนี้เขาได้นอนตายอยู่ในโลงศพนี้แล้ว ก็ให้โอปนยิโก น้อมเข้ามาหาตัวเองบ้าง ในวันหนึ่งข้างหน้า เราก็จะได้มานอนอยู่ในโลงศพนี้เช่นกัน ทุกคนตจ้องเป็นอย่างนี้หนีไม่พ้น นี้เป็นเรื่องจริงทุกคนต้องเป็นอย่างนี้ด้วยกัน ฉะนั้นเมื่อเราได้ไปงานศพ ต้องเอาประโยชน์ให้ได้ เหมือนเราไปปลงธรรมสังเวช ดูชีวิตเขา ดูชีวิตเรา ว่าต้องเป็นอย่างนี้เช่นกัน นี้เป็นคิวของเขาที่ได้จากเราไปแล้ว วันข้างหน้าต่อจากนี้ไปก็จะเป็นคิวของเราที่จะต้องจากญาติพี่น้องเพื่อนฝูงไปและจะได้พลัดพรากจากสิ่งที่เรารักไป
การปฏิบัติต้องใช้ปัญญาพิจารณาจำแนกแจกแจงขยายความในเรื่องนั้นๆ แล้วน้อมเข้ามาหาตัวเอง ถ้านิมิตเกี่ยวกับธาตุ ก็น้อมเข้ามาหาธาตุสี่ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ให้เป็นไปในหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความเป็นทุกข์ และเหตุให้เกิดทุกข์ นิมิตเกี่ยวกับเรื่องที่หมดสภาพไป ก็ให้ใช้ปัญญาพิจารณาในเรื่อง อนัตตา ที่ไม่เป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ในบางเรื่องเกี่ยวกับกิเลสตัณหา ก็ใช้ปัญญาพิจารณาในเรื่องของกิเลสมาร ที่ทำให้ใจเกิดความรัก ความชอบใจ ใช้ปฏิภาคนิมิต คือปัญญาพิจารณาไปตามความหมายในนิมิตนั้นๆทุกครั้งไป
ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาในเรื่องความตายอยู่บ่อยๆจนเป็นนิสัย เรยกว่า เป็นผู้ฝึกในปัญญาวิมุติ การใช้ปัญญาพิจารณาในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณาในเรื่อง
อื่นใดก็ตาม ถือว่าเป็นผู้ฝึกในปัญญาวิมุติเช่นกัน ฉะนั้นท่านผู้อ่านในหนังสือนี้จงเข้าใจในนิมิตที่ข้าพเจ้าได้อธิบายมานี้ ในเหตุผลและความหมายได้อธิบายไว้แล้ว ขอให้ใช้ปฏิภาคนิมิต หมายถึง ใช้ปัญญา นำมาพิจารณาในทุกๆเรื่อง ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้สัมผัส ต้องใช้ปัญญาพิจาณาในทุกเหตุการณ์ เพราะอายตนะภายนอกเป็นอุบายประกอบในการใช้ปัญญาพิจารณาอยู่แล้ว ฉะนั้นเราต้องมีความขยันหมั่นเพียรในการใช้ปัญญาพิจารณาในสัจธรรมนี้ตลอดไป
..........................................................

๑๘. ขันธ์ ๕

ขันธ์ ๕ ท่านคงรู้อยู่แล้ว คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า อุปาทานขันธ์เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความทุกข์เพราะเราไปยึดว่าเป็นตัวตนของเรา อยากให้ขันธ์ ๕ อยู่ตามความต้องการของตัวเอง และยังเข้าใจผิดไปว่า ขันธ์ ๕ เป็นตัวตนของเรา จึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดความเข้าใจผิดตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ผู้ไม่เข้าใจก็จะยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตนของเราตลอดไป ความทุกข์เดิอดร้อนจึงได้เกิดขึ้นในความเห็นผิดของตัวเอง
ขันธ์ ๕ แบ่วออกเป็น ๒ หมวด คือ รูปขันธ์ และ นามขันธ์ รูปขันธ์ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ รวมกันอยู่จึงเรียกว่า รูปขันธ์ นามขันธ์ คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นามขันธ์จะทำงานได้ก็ต้องมีรูปขันธ์ รูปขันธ์ถ้าไม่มีนามขันธ์ รูปขันธ์ก็เกิดไม่ได้ ฉะนั้นรูปขันธ์และนามขันธ์เป็นสัมปยุตเกื้อกูลอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อรูปขันธ์สัมผัสในสิ่งใด นามขันธ์ก็ต้องเก็บข้อมูลตามกันไป ถ้านามขันธ์ทำงาน รูปขันธ์ก็เป็นตัวให้นามขันธ์ได้ทำงาน ในช่วงขณะมีชีวิตอยู่ รูปกับนามต้องทำงานร่วมกัน ถ้าทั้งสองแยกทางกันเมื่อไรก็หมายถึงความตาย เหมือนกับผู้สร้างบ้านที่ไม่ถาวรมั่นคง สร้างขึ้นมาเพื่อได้อยู่อาศัยในชั่วขณะหนึ่ง บ้านก็ต้องผุพังไป นี้ฉันใด เมื่อถึงกาลเวลารูปกับนามก็ต้องแยกทางกันฉันนั้น
การปฏิบัติธรรมในขั้นของรูปธรรมและนามธรรมมีรูปแบบการปฏิบัติกันอยู่แล้ว มีครูอาจารย์สอนกันอยู่ในที่ทั่วไป ส่วนใหญ่จะสอนวิธีนั่งสมาธิกัน ในวิธีการเจริญวิปัสสนาไม่ได้นำมาสอนกัน การปฏิบัติถ้าไม่รู้จักขั้นตอนก็ยากที่จะได้รับผล ขั้นตอนการปฏิบัติในภูมิธรรมพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ แต่ละขั้นตอนของผู้ปฏิบัติจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้า จะมีความหยาบละเอียดต่างกัน การละกิเลสตัณหาก็ละในส่วนหยาบละเอียดตามขั้นตอนเช่นกัน เหมือนการเรียนหนังสือ นักธรรมชั้นตรี เมื่อถามในหมวดนักธรรมชั้นเอกก็ตอบไม่ได้ เรียนหนังสือนักธรรมชั้นเอกเพียงอย่างเดียว เมื่อถามในหมวดชั้นเปรียญก็ตอบไม่ได้เช่นกัน นี้ฉันใด อุบายในการปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้น ให้เป็นไปตามขั้นตอนจะง่ายต่อการปฏิบัติ ไม่มีความสับสน แต่ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่จะพากันปฏิบัติแบบมั่วๆ จับต้นชนปลายไม่เข้าใจในหมวดธรรม ส่วนมากอุบายที่นำมาปฏิบัติในขณะนี้ ไม่รู้ว่าตัวเราในชาตินี้จะมีบารมีพอที่จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์หรือไม่ ถ้าบารมีเรายังไม่พร้อมการปฏิบัติก็จะไม่ได้รับผลอะไร
ถ้าเรามีบารมีพอจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยโสดาบันในชาตินี้ อุบายธรรมที่นำมาปฏิบัติก็มีความเหมาะสมกัน ในชาตินี้โอกาสที่จะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันนั้นมีสูง ถ้าได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันได้แล้ว ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมที่จะให้ถึงภูมิธรรมของพระอริยเจ้าขั้นต่อไปนั้นไม่ยาก เพราะได้เปิดช่องทางในภูมิธรรมของพระโสดาบันได้แล้ว ถือว่าเป็นผู้เข้ากระแสแห่งพระนิพพาน
หากมีคำถามว่า การได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่ง จะรู้ตัวเองหรือไม่ว่าอยู่ในขั้นไหน
ตอบ ผู้ได้บรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่ง จะรู้ตัวเอง ไม่ต้องไปถามใคร แม้พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในที่นั้นก็ไม่ถาม เพราะรู้ตัวเองอยู่แล้ว จะไปถามทำไม ผู้ได้บรรลุธรรมในสมัยครั้งพุทธกาล หรือผู้ได้บรรลุธรรมในยุคปัจจุบันนี้ก็รู้ตัวเองเช่นกัน หายความสงสัยในตัวเอง ใครได้บรรลุธรรมในขั้นไหนก็หายสงสัยในขั้นนั้น ไม่ต้องไปเทียบกับตำราว่าผิดหรือถูก จึงเป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตัว ไม่ต้องการคำพยากรณ์จากใคร และไม่พูดให้ใครๆได้รู้ จะอยู่ตามปกติเหมือนคนทั่วไป มีนิสัยอย่างไรก็เป็นนิสัยเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

เมื่อท่านมีความสงสัยอะไรในหนังสือเล่มนี้ ถ้ามีเวลา ให้ถามข้าพเจ้าโดยตรง ข้าพเจ้าพร้อมที่จะให้ความกระจ่างในทุกเรื่อง ถ้าถามผู้อื่นอาจตอบไม่ตรงต่อความหมาย ท่านทั้งหลายที่อ่านหนังสือเล่มนี้อาจมีคำตอบในตัวท่านอยู่แล้ว ขอให้ท่านมีสติปัญญาที่ดี มีความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมตามบารมีของท่านด้วยเทอญ.  


...หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ...